Hospital สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
Samitivej Podcast ย่อ ย่อย ยั่วสุขภาพให้เติมเต็มชีวิต กับสองสาวพิธีกรและคุณหมอจากโรงพยาบาลสมิติเวช จัดเต็มเคล็ดลับ และทริคสุขภาพ ที่คุณไม่เคยฟังที่ไหน ฟังมันๆ มาฟังกันได้ที่ What the Health! ทุกพุธที่ 2 และ 4 ของเดือน
  continue reading
 
Loading …
show series
 
เราจะมาไขข้อข้องใจกับการตรวจยีนสำหรับการมีลูกว่าควรตรวจอะไรบ้าง ควรตรวจในช่วงไหนของการตั้งครรภ์ และเราจะมีการวางแผนรับมืออย่างไรโดย รศ.ดร.นพ.บุญศรี จันทร์รัชชกูล แพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารก โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
  continue reading
 
EP. นี้เราจะมาไขข้อข้องใจว่าทำไมผู้สูงอายุต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่สูตรเฉพาะ หรือที่เรียกว่า High Dose มันดีกว่าแบบปกติอย่างไร กับคุณหมอท๊อป พญ.ทิปภา ชุติกาญจน์โกศล อายุรแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ประจำศูนย์ชีวายั่งยืน คุณหมอกล่าวว่า แบบ High Dose มีการเพิ่มของสารประกอบของเชื้อมากกว่าวัคซีนแบบ 4 สายพันธุ์ทั่วไปถึง 4 เท่า มีประโยช…
  continue reading
 
EP นี้ คุณหมอ ท้อป พญ.ทิปภา ชุติกาญจน์โกศล อายุรศาสตร์ เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ประจำศูนย์ชีวายั่งยืน จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยซ่อนเร้น ของผู้สูงอายุที่ต้องระวัง มีสัญญานเตือนอะไรบ้างที่ควรรู้ เราจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของท่านได้อย่างไร โรคภัยใดที่ควรต้องระวังเป็นพิเศษ เพื่อสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้นของคนในครอบครัวที่เรารัก #เราไม่อยากให้ใครป่วย…
  continue reading
 
EP นี้ คุณหมอ มิกกี้ พญ.วิรัลพัชร อัครชลานนท์ กุมารแพทย์โรคสมองและระบบประสาท รพ.เด็กสมิติเวช จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก โรคลมชักคืออะไร? การชักมีกี่ประเภท และโรคลมชักสามารถรักษาให้หายขาดได้จริงหรือ? แล้วถ้าเกิดลูกหลานของเราเป็นโรคลมชัก เราจะต้องทำอย่างไรในสถานการณ์นั้น มีวิธีการสังเกตหรือป้องกันอย่างไร มาติดตามกันใน EP นี้ #เราไม่อยากให้ใครป่ว…
  continue reading
 
ใครอยากมี Six Pack แต่ไม่มาสักที ทั้ง sit up ควบคุมอาหาร กินโปรตีนเยอะก็แล้ว …. มาฟังกันเลย วันนี้มีทางลัดมาบอก …. เราสามารถสร้าง Six Pack ได้ด้วยมือแพทย์ ด้วยเทคนิคการผ่าตัดดูดไขมันนั่นเอง ได้ทั้งหญิงและชายเลย คุณหมอจะมีการพูดคุยในสิ่งที่เราอยากจะได้ตรงตามความต้องการ แนะนำการเตรียมตัวต่างๆ อาทิ ควรมีน้ำหนักคงที่อย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี แล้วมาตรวจร…
  continue reading
 
ขาว เด้ง ไม่ปวดข้อ.... อะไรคือข้อเท็จจริงจากการกินคอลลาเจนเสริม EP นี้ พญ. มล. ธัญญ์นภัส เทวกุล คอนเฟิร์มว่าคอลลาเจนดีกับผิวจริงในแง่เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นให้กับผิว แต่ไม่ได้ช่วยให้ผิวขาวดังเช่นที่เห็นในโฆษณาในหลายสื่อ คอลลาเจนในร่างกายมีอยู่หลายชนิด คอลลาเจน Type I พบได้ทั้งในผิวและกระดูก ส่วน Type II พบในกระดูกอ่อนและข้อต่อ ดังนั้นจะเลื…
  continue reading
 
ใครมีปัญหานอนไม่หลับแล้วไปชงอะไรอุ่นๆ ดื่ม โดยหวังว่าจะช่วยกล่อมให้นอนหลับได้ดีขึ้นต้องเปลี่ยนวิธี! เพราะ นพ.ดร. วิทูร จุลรัตนาภรณ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เฉลยให้ฟังว่าจะนอนได้ดีอุณหภูมิร่างกายต้องไม่สูงเกินไป อุณหภูมิในห้องเย็นพอเหมาะ ระหว่างวันควรอยู่ในที่สว่าง ส่วนก่อนนอนควรอยู…
  continue reading
 
น้องสาวของเราแต่ละคนมีรูปร่างและผิวพรรณที่แตกต่างกัน ไม่ต่างจากหน้าตาที่เห็นภายนอก เพียงแต่น้องสาวถือเป็นบริเวณลับเฉพาะที่เซนซิทีฟเป็นพิเศษ ไม่ว่าคุณจะอยากให้น้องสาวคิวท์ขึ้นอีกนิดโดยไม่ได้มีปัญหาทางกายภาพ หรือน้องมีรูปร่างที่ทำให้นั่งก็เจ็บ ใส่เสื้อผ้าก็เสียดสี ปัสสาวะเล็ด หรือไม่เอื้อต่อกิจกรรมบนเตียง บอกเลยว่าคุณหมอช่วยได้ ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์แล…
  continue reading
 
ประจำเดือนเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับผู้หญิงทุกคนตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยสาว สาวน้อยแรกมีประจำเดือนใน 1-2 ปีแรกอาจจะยังมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ แต่เมื่อการตกไข่เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว ประจำเดือนที่มีลักษณะปกติคือ มีประจำเดือนครั้งละไม่เกิน 7 วัน อาจมีอาการปวดท้องประจำเดือนในวันแรก รอบเดือนสม่ำเสมอ รอบละ 28-35 วัน สีของประจำเดือนในวันแรกและก่อนหมดในแต่ละรอบอา…
  continue reading
 
EP นี้คุณหมอแม็กซ์ นพ. วิรัช ตวงจารุวินัย แพทย์ผิวหนัง รพ. สมิติเวช สุขุมวิท มายืนยันชัดๆ ว่าเป็นโควิดทำให้ผมร่วงได้จริง แต่โควิดไม่ใช่โรคเดียวที่มีผลทำให้ผมร่วง เพราะโรคและสภาวะอื่นๆ ที่กระทบต่อสุขภาพร่างกายและใจ เช่น ไทรอยด์ ไข้เลือดออก หลังคลอด เจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล ผ่าตัด หรือแม้กระทั่งความเครียดก็มีผลทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน ภาวะผมร่วงเป็นไม…
  continue reading
 
ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานนอกจากจะมีหลายยี่ห้อแล้ว ถ้าพิจารณาจากชนิดและปริมาณฮอร์โมนจะพบว่าแบ่งเป็นหลายแบบ ทำให้การใช้ยาคุมกำเนิดต้องเลือกให้ถูกต้องเหมาะกับวัยและร่างกายของผู้ใช้ รับประทานให้ตรงเวลา สม่ำเสมอทุกวัน ถ้าเป็นแผง 21 เม็ด รับประทานต่อเนื่องกันจนหมดแล้วเว้น 7 วันก่อนเริ่มแผงใหม่ ส่วนแบบ 28 เม็ด ประกอบไปด้วยตัวยา 21 เม็ด และเม็ดแป้ง 7 เม็ด ใ…
  continue reading
 
การหาวมักมีที่มาจากการอดนอน นอนน้อย นอนไม่ได้คุณภาพ เหนื่อย เครียด อ่อนเพลีย ซึ่งการหาวเป็นกลไกอัตโนมัติที่บังคับไม่ได้ เกิดจากการหายใจเอาอากาศเข้าปอดทั้งทางปากและจมูกพร้อมๆ กัน การหาวเป็นครั้งคราวไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่หากหาวบ่อย หาวไม่หยุด มากกว่า 1 ครั้งต่อ 1 นาที อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค เช่น โรคลมหลับ ซึ่งเป็นการหลับแบบฉับพลันที่ต้องพบแพทย์โด…
  continue reading
 
เส้นเลือดขอดเป็นปัญหาของหลอดเลือดที่มักพบที่ขา มีสาเหตุจากการอยู่ในท่าเดียวไม่ว่าจะนั่ง ยืน หรือใส่ส้นสูงนานๆ โดยมีปัจจัยด้ายพันธุกรรม อายุ น้ำหนักตัว ฮอร์โมนมาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นจะพบว่าผู้หญิงมักมีปัญหาเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย เส้นเลือดขอดเกิดจากประตูปิดเปิดในหลอดเลือดเสื่อม ทำให้เลือดในหลอดเลือดดำไม่สามารถไหลกลับไปที่หัวใจได้อย่างสมบูรณ์ เกิด…
  continue reading
 
อาการแพ้เหงื่อตัวเอง เหงื่อออกทีไรก็คันไปหมด ไม่ถือว่าเป็นโรค แต่แสดงว่าผิวอาจมีการอักเสบ เกราะป้องกันผิวไม่แข็งแรง เมื่อเหงื่อออกจึงทำให้เกิดเกิดการระคายเคืองขึ้นได้ ทั้งนี้ใครมีอาการดังกล่าวควรพบให้แพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่เกิดเป็นเพราะเหงื่อ หรือเป็นโรคที่มีมีอาการคล้ายกัน เช่น ผดร้อนในเด็กและโรคเกลื้อน การดูแลตัวเองในช่วงที่เหงื่อออกแล้วมีอ…
  continue reading
 
นอนยังไงก็ไม่อิ่มสักที เป็นปัญหาใหญ่ของบางคน การนอนที่ดีควรจะนอนตรงตามเวลานาฬิกาชีวิต นั่นคือเข้านอนประมาณ 4 ทุ่ม และนอนให้ครบ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพราะ growth hormone ที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย คงความอ่อนเยาว์และแข็งแรงจะหลั่งในช่วง 4 ทุ่มถึงตี 2 หากคุณพลาดไม่ได้หลับอยู่ในช่วงนั้น growth hormone ก็จะไม่หลั่ง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย สมองไม่แล่น ฮอร์…
  continue reading
 
หลายคนเข้าใจผิดว่าโควิดเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอด แต่ที่จริงภูมิที่ได้จากการติดเชื้อจะมีอยู่เพียง 1-3 เดือนเท่านั้น ดังนั้นการจะลดการ์ดแล้วปล่อยให้ติด เพราะเห็นว่าโอไมครอนเป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก ด้วยเหตุผลที่เริ่มเป็นที่รู้กันแล้วว่าหลังจากหายจากอาการติดเชื้อ ก็ยังเสี่ยงต่อการเป็น Long COVID ได้ด้วย อาการที่พบบ่อยของ Long …
  continue reading
 
SebDerm จัดเป็นโรคผิวหนังที่กวนใจคนวัยทำงาน มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เป็น ๆ หาย ๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีความเครียดหรือพักผ่อนน้อย SebDerm ไม่มีความสัมพันธ์กับอากาศเป็นได้ทุกฤดูกาล อาการแสดงถ้าเป็นที่หน้า บริเวณที่มักมีผื่นคือ ข้างจมูก เหนือคิ้ว คาง หรือบางคนลามลงมาจนถึงหน้าอก รอยผื่นมีสีแดงเป็นขุย คัน และลอกเป็นแผ่นสีเหลืองมัน ๆ ส่วนถ้าเป็นที่หนังศ…
  continue reading
 
ยุคนี้การทำศัลยกรรมไม่ใช่เรื่องแปลก อยากสวยหรืออยากหล่อ หมอช่วยได้ นพ. วีรวัฒน์ ติรนันท์มงคล ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ แนะนำว่าใครอยากทำศัลยกรรมต้องหาข้อมูลให้ดี หาต้นแบบของความสวยให้พร้อม เมื่อมั่นใจแล้วควรนัดไปปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์ประเมินความเป็นไปได้ที่จะทำให้เหมือนต้นแบบ ทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าผล…
  continue reading
 
พญ. พัฒศรี เชื้อพูล แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพร่วมไขข้อข้องใจกับปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดจากฮอร์โมน เพราะในวัยที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไม่เฉพาะร่างกายเท่านั้นที่เปลี่ยนไป แต่จิตใจก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน นอกจากอารมณ์เหวี่ยงวีน หงุดหงิด ขี้น้อยใจแล้วความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงส่งผลอย่างไรได้อีก อาการที่ว่าเริ่มต้นเมื่ออายุเท่าไหร่ ผู้ชายมีอ…
  continue reading
 
ย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ปัญหาสิวหมดไป แต่กระกับฝ้ากลับเริ่มมาเยือน ถึงจะเป็นเรื่องของสีผิวที่เข้มกว่าผิวโดยรอบเหมือนกัน แต่กระและฝ้ามีลักษณะแตกต่างกัน วิธีดูแลก็ไม่เหมือนกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดกระและฝ้ามีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกซึ่งหลีกเลี่ยงได้ จะเลี่ยงอย่างไร เป็นแล้วต้องทำยังไง ไปฟังคำตอบจากแพทย์ผิวหนัง พญ. พีรธิดา รัตตกุล #กระ #ฝ้า #จุดด่างดำ…
  continue reading
 
ทารกเกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรมเพราะแม่อายุมากจริงหรือไม่? เทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันช่วยให้ตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมบางชนิดได้ด้วยการตรวจพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนลูกจะปฏิสนธิและในขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ โดยมีข้อแม้ว่าต้องได้รับการตรวจในอายุครรภ์ที่เหมาะสม การฝากครรภ์ตั้งแต่แรกรู้ว่าตั้งท้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีวิธีไหนบ้าง ลูกต้องเสี่ยงไห…
  continue reading
 
กลิ่นตัวเป็นปัญหาสุขภาพกายที่ส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองและสุขภาพจิตได้ กลิ่นตัวไม่ได้เกิดจากเหงื่อ แต่เกิดจากแบคทีเรียที่ทำปฏิกิริยากับเหงื่อ หรือเกิดจาก “ต่อมเหม็น” บริเวณรักแร้ หน้าอก และอวัยวะเพศที่พัฒนาขึ้นในช่วงวัยรุ่น นอกจากนั้นกลิ่นตัวยังเกิดได้จากสาเหตุอื่น เช่น เสื้อผ้าที่ระบายอากาศไม่ดี แผลอักเสบของผิวหนัง โรคภายในที่ส่งผลให้ลมหายใจมีกลิ่…
  continue reading
 
เมื่อ LGBTQ ไม่ใช่โรคแต่เป็นความชอบและลักษณะส่วนบุคคลที่มีความหลากหลายไม่แตกต่างกับรูปร่างหรือสีผิว What the Health เม้าท์สุขภาพกับหมอชวน นต. พญ. ณัฐยา รัชตะวรรณ สูตินารีแพทย์ แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ มาคุยถึงนิยามของ LGBTQ ความสำคัญของความเข้าใจและกำลังใจจากคนรอบข้าง รวมถึงการเปิดโอกาสทางสังคมเพื่อความเท่าเทียมกันของทุกเพศในสถาบันซึ่งเป็น…
  continue reading
 
ในยุคที่เราขยัน “มโน” มีทริปทิพย์ สามีทิพย์ บ้านทิพย์ และอีกสารพัดตามใจปรารถนา จนไม่แน่ใจว่าการมโนเช่นนี้เป็นการหลอกตัวเองหรือไม่ หรือแบบไหนที่เกินพอดี EP นี้ หมอดิว นพ. ธนานันต์ นุ่มแสง จิตแพทย์แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ชวนคุยถึงดีกรีความแตกต่างระหว่างการมโน การโกหก และการหลอกตัวเอง แบบไหนทำได้ไม่ต้องกังวล แบบไหนเข้าข่ายกลุ่มอาการของโรคบุคลิก…
  continue reading
 
เมื่อลูกเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น วัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ การสื่อสารต้องเปลี่ยนรูปแบบให้โดนใจลูก ด้วยการพูดเฉพาะใจความสำคัญที่พ่อแม่ต้องการบอก ไม่เยิ่นเย้อยืดยาว ไม่ตำหนิติเตียน ตัดสิน ใช้อารมณ์ หรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูก เรื่องไหนควรถาม - เรื่องไหนไม่ควร - เรื่องเพศสอนยังไง พูดได้แค่ไหน EP นี้ พญ. ศิราดา จิตติวรรณ จิตแพทย์เด็กและ…
  continue reading
 
ใกล้สิ้นปีเต็มที คุณพร้อมหรือยังกับปาร์ตี้คริสต์มาส-ปีใหม่ จะ drink drank drunk ให้ปังแบบ healthy ต้องสนุกอย่างมีสติ เลิกเข้าใจผิดว่าควรอดอาหารก่อนร่วมงาน เพราะอาหารจะช่วยรองท้องให้ไม่เมาง่าย ไม่หิวโหยจนหลุดเผลอรับประทานเกินลิมิตยามแอลกอฮอล์เข้าปาก วิตามินและเกลือแร่บางชนิด เช่น วิตามินบีรวม วิตามินซี แมกนีเซียม สังกะสี มีรายงานว่าช่วยลดผลแย่ ๆ จาก…
  continue reading
 
ไฟรักจะยั่งยืนหรือพังครืนอยู่ที่ความเข้าใจ เรื่องบนเตียงเป็นเรื่องของคนสองคน ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใดก็สะกิดนำบอกความต้องการของคุณให้คู่ของคุณรับรู้ได้ ปรับลีลากันไป เปลี่ยนบรรยากาศกันบ้าง เพราะเมื่ออยู่เป็นคู่ยังไงเซ็กส์ก็เป็นเรื่องสำคัญ หมั่นเติมรสรักให้กันทั้งบนเตียงและดูแลกันในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าเมื่อใดใจพร้อมแต่กายไม่พร้อม อย่าลืมว่ายังมีแพทย์…
  continue reading
 
ใส่หน้ากากอนามัยกันทุกวันแบบนี้ ถอดออกมาลมหายใจยังหอมสดชื่นกันหรือเปล่า กลิ่นปากไม่ใช่เพียงต้นเหตุของบุคลิกภาพที่ไม่น่าปลื้ม แต่ยังบ่งถึงความเจ็บป่วยของร่างกายและปัญหาในช่องปากได้อีกด้วย การทดสอบกลิ่นปากทำได้อย่างแม่นยำด้วยตัวเองด้วยการป้องปากแล้วพ่นลมหายใจออกมาแรงๆ การใช้น้ำยาบ้วนปาก จริงอยู่ที่สเปรย์ หรือลูกอมดับกลิ่นสามารถช่วยลดกลิ่นปากได้บ้าง แ…
  continue reading
 
ไมเกรนเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น เสียงดังเกินไป แสงจ้าเกินไป หรืออาหารบางชนิดมากระตุ้นให้เกิดความปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง อาการปวดหัว ไม่จำเป็นต้องเป็นไมเกรนทุกครั้ง มีการปวดที่เรียกว่า tension headache เกิดได้ถึง 80%-90% ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่โดนแดดแรง เครียด นอนดึก เล่นโทรศัพท์เยอะ เป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดการหดตัวกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก ทำให้…
  continue reading
 
โรคกินไม่หยุดเกิดขึ้นได้ ลองสังเกตได้จะมีอาการ หยุดกินไม่ได้ กินตอนไม่หิว กินรู้สึกแย่หรือผิด กินแล้วไม่ Happy ทั้งหมดนี้จะเกิดในระยะเวลา 2 ชม. อาการจะต้องเกิดทุกอาทิตย์ ติดต่อเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้มาพบคุณหมอได้เลย ถ้าระหว่างกินแล้วสำราญ แล้วรู้สึกผิดที่หลัง ยังไม่ถือเป็นโรคนะคะ โรคนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง ? อาจจะยีน พันธุกรรม มีความยึดติด หรือสารบา…
  continue reading
 
คนที่เป็น Burn out ส่วนใหญ่เกิดกับคนที่มีความตั้งใจในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วไม่ได้ดั่งใจ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าได้ แต่ถ้าเราได้ทำอะไรที่แตกต่างจากเดิม เช่น ถ้าได้หยุดงาน หรืออยู่บ้านก็จะมีความสุข ถ้าเป็นระยะยาวจะนำพาไปสู่โรคซึมเศร้าได้ ภาวะโรคซึมเศร้าจะมีความรู้สึกหดหู่ (Depress) สิ่งที่สนใจลดลง (Loss of Interest) แต่จะเป็นติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ…
  continue reading
 
ความเชื่อที่ว่า กินเจ จะได้ไม่ติดโควิด นั้นแท้จริงแล้วไม่เป็นความจริงค่ะ ยังไม่มีงานวิจัย ขอให้กินครบหมู่ และกินอย่างสมดุล โปรตีน 1 อุ้งมือ แป้ง 1 อุ้งมือ ไขมัน 1 หัวแม่โป้ง ผัก 1 กำ ผลไม้ 3-5 Serving เช่น แอปเปิ้ลวันละ 3 ลูก คุณหมอยังแนะนำวิตามิน C วันละ 1000 มิลลิกรัม หรือทานจากอาหาร เช่น ผลไม่ตระกูลเบอรี่ ผักชี พริกหยวก ผักขม วิตามิน D เพื่อเพิ่…
  continue reading
 
หลังจากเราตรวจ ATK และไป confirm ด้วย RT-PCR แล้ว เราต้องกักตัว คุณหมอแนะนำก่อนอื่นต้องมีสติ พร้อม 7 สิ่งที่ต้องเตรียม คือ 1. สถานที่กักตัว แยกสัดส่วนชัดเจน 2. ยาประจำตัว ฟ้าทะลายโจร ยาแก้ไอ ลดน้ำมูก 3. อุปกรณ์ตรวจร่างกาย ปรอทวัดไข้ ที่วัดออกซิเจนปลายนิ้ว 4. อุปรณ์ในการดำรงชีวิตให้คลายเครียด 5. วิธีกำจัดขยะติดเชื้อ 6. เตรียมสุขภาพจิต 7. เตรียมร่างก…
  continue reading
 
ความเครียดไม่ใช่โรค มันเป็นปฏิกิริยาของทางจิตใจ เมื่อมีเรื่องมากระทบต่อจิตใจ เป็น Normal Reaction ที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเราไม่สามารถกำจัดมันได้จะกลายเป็นปัญหาด้านจิตใจในระยะยาว จนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ เราสามารถจัดการกับมันได้ โดยใช้ฟิวเตอร์ที่มีอยู่ในร่างกาย คือ สติ เป็นตัวที่ทำให้อารมณ์ต่างๆของเราลดลง ทำความเข้าใจ หรือเลือกที่จะเสพสื่อต่างๆ สำหรั…
  continue reading
 
EP นี้ ขอต้อนรับวันแม่ในช่วงโควิดแบบนี้ ในเรื่องการให้นมแม่ช่วงโควิด คุณแม่ไม่ต้องเครียดนะคะ คุณแม่ที่เป็นหรือไม่เป็นโควิด สามารถให้นมลูกได้ เพราะเชื้อโควิดไม่ผ่านทางน้ำนม แต่ให้เพิ่มความระมัดระวัง เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ใส่เฟสชิลด์ก่อนให้นม เช็ดทำความสะอาดเต้านม ล้างมือให้สะอาด ส่วนเรื่องการรับวัคซีนโควิด แม่ท้อง 12 สัปดาห์ขึ้นไปก็ฉีดได้ และแม่ที่ค…
  continue reading
 
อนุมูลอิสระไม่มีประโยชน์ !!!!!!! เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หัวใจ เบาหวาน สมองเสื่อม มะเร็ง และความแก่ เกิดจากปัจจัยภายใน คือ ความเครียด เชื้อโรค ความเจ็บป่วย ภายนอก เช่น อาหาร แสงแดด โดยเฉพาะช่วงโควิด เราต้องกำจัดมันออกไป ….. เพราะฉะนั้นเราต้องการสารต้านอนุมูลอิสระมายับยั้ง หาได้จากการกินอาหารที่เหมาะสม สลับกันไป ผักสีเขียว เหลือง ม่วง แด…
  continue reading
 
‘ผมร่วง ผมบาง’ เป็นปัญหาที่ไม่จำกัดเพศและวัย ไม่ใช่ปัญหาของคนสูงอายุเท่านั้นเพราะผมบางตามพันธุกรรมพบได้ตั้งแต่อายุยี่สิบต้นๆ ขณะที่การมีลูกแต่ละคนสามารถทำให้คุณแม่มีปริมาณผมบนศีรษะลดลงได้ถึง 5% ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ผมร่วงมีหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น โรคบางโรค ความเครียด ยาบางตัว การขาดสารอาหารต่างๆ หนังศีรษะอักเสบจากการสัมผัสกับสารเคมี หากคุณมีผมร…
  continue reading
 
คุณอาจจะเคยได้ยินว่าถ้าใครเป็นโรคโควิด-19 แล้วปอดจะไม่สามารถกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม หรือโรคนี้เป็นครั้งเดียวแล้วจะไม่เป็นอีกตลอดชีวิต แต่ที่ “เขาว่า” กันนั้นมันจริงหรือไม่ ใช่หรือเปล่า? นพ. พิศิษฐ์ ด่านไทยนำ อายุรแพทย์ด้านโรคระบบทางเดินหายใจละภาวะวิกฤติมีคำตอบมาให้ พร้อมเคล็ดลับบริหารปอดให้แข็งแรงที่คนสุขภาพดีก็ทำได้ คนเพิ่งหายป่วยจากโควิด-19 ก็คว…
  continue reading
 
การฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติเริ่มต้นขึ้นแล้ว ประชาชนไทยทุกคนควรได้รับวัคซีนเพื่อลดโอกาสในการติด-ป่วยหนัก-ลดจำนวนวันในการอยู่ โรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิต แต่มีใครบ้าง เป็นโรคอะไรที่ยังไม่สามารถฉีดได้ ก่อนฉีดจำเป็นต้องตรวจสุขภาพหรือไม่ ความแตกต่างของวัคซีนสองยี่ห้อ ที่มีในเมืองไทยในปัจจุบัน อาการไม่พึงประสงค์ที่ควรเฝ้าระวัง ข้อควร-ไม…
  continue reading
 
รักแร้-ขาหนีบดำเป็นปัญหาหนักอกน่ากลุ้มของหนุ่มสาวหลายคน แต่รอยดำที่เกิดขึ้น อาจมีได้หลายสาเหตุ เช่น รักแร้ดำจากการแพ้อลูมิเนียมคลอไรด์ ซึ่งสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อลดกลิ่นตัว สีผิวเข้มจากกรรมพันธุ์ การรับประทานยาบางชนิด หรือเป็นโรคบางโรค เช่น โรคอ้วนและเบาหวานที่มีการดื้ออินซูลินร่วมด้วย การรักษารักแร้-ขาหนีบดำมีหลายวิธี ตั้งแต่การกำจัดสาเหตุของร…
  continue reading
 
กระแสเรื่องวิตามินกับโควิดกำลังเป็นที่ถกเถียงกันในโลก Social วิตามินตัวนี้กันโควิดได้ กินแล้วรักษาโควิดได้ EP นี้คุณหมอหนุ่ม นพ. ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท ไขข้อข้องใจกันชัดๆ • วิตามินและสมุนไพรที่เขาว่ากันว่ากินเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ จริงหรือ • วิตามินบางชนิด เช่น วิตามินดี วิ…
  continue reading
 
อยากผิวสวย หน้าใส โดยไม่ต้องใช้ app เป็นจริงได้ด้วยการดูแลผิวอย่างถูกต้อง เริ่มจากการทาครีมกันแดดในปริมาณที่เพียงพอ ครีมกันแดดควรมีค่าทั้ง SPF ที่แสดงถึงการป้องกันได้ทั้งรังสียูวีบีที่เป็นสาเหตุของผิวคล้ำ/ผิวไหม้ และมีค่า PA ที่แสดงถึงการป้องกันรังสียูวีเอที่ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย ถึงแม้กระและฝ้าจะเกิดจากเม็ดสีผิวเหมือนกันแต่ฝ้ามีลักษณะเป็นปื้นสีค…
  continue reading
 
โควิดระลอกนี้มีความรุนแรงมากกว่าสองครั้งที่ผ่านมา กำลังโจมตีประเทศของเราอยู่ รัฐก็กำลังเดินหน้าฉีดวัคซีนโควิดให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง แต่ใครที่ลังเลว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิดดีหรือไม่ จะทำให้แพ้หรือเปล่า พญ.สมรรจน์ ลิ้มมหาคุณ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคติดเชื้อ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท แนะนำว่าหากถึงคิวที่จะได้ฉีด ทุกคนควรรับวัคซีนโดยไม่ต้องลังเล เนื่…
  continue reading
 
กระแสการออกกำลังกายด้วย surf skate กำลังมาแรง เราจึงชวนคุณหมอเฉพาะทางมาคุยกันว่าเล่น surf skate อย่างไรให้เก๋ เท่ และปลอดภัย เริ่มด้วยอุปกรณ์ต้องพร้อมทั้งตัว surf skate ที่เหมาะกับรูปร่างและน้ำหนักของผู้เล่น อุปกรณ์ด้านเซฟตี้ก็ต้องมี จัดไปทั้งหมวกกันน็อค สนับเข่า สนับศอก รวมทั้งรองเท้าที่ควรเป็นรองเท้าผ้าใบพื้นแบนที่ยึดเกาะได้ดี มีการวอร์มอัพก่อนแล…
  continue reading
 
การนอนที่ดีไม่ใช่นอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมง เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนบางกลุ่มนอนไม่กี่ชั่วโมงก็เพียงพอ ขณะที่บางคนต้องการชั่วโมงพักผ่อนบนเตียงถึงหนึ่งในสามของเวลาแต่ละวัน นอกจากนั้นมนุษย์เรายังแบ่งเป็น early bird กับ night owl ซึ่งคุณหมอคอนเฟิร์มว่าไม่ได้เกิดจากนิสัย แต่เป็นเรื่องของร่างกาย สาเหตุของการนอนกรน หยุดหายใจหรือสำลักขณะหลับคืออะไร จำ…
  continue reading
 
เมื่อร่างกายต้องการสารอาหาร แต่วิถีการบริโภคของคนเราในปัจจุบันนอกจากสารอาหารแล้วเรามักจะได้โปรตีน ไขมัน น้ำตาล และแป้งเกินจากความต้องการของร่างกาย จนไปสะสมเป็นไขมันทั้งในและนอกเส้นเลือด นอกจากจะเลือกรับประทานให้เหมาะสมแล้ว มาฟังกันว่าเคล็ดลับในการออกกำลังกายแบบไหนที่เวิร์คจริง ในการป้องกันร่างกายจากโรคไม่ติดต่อยอดฮิตอย่างเบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือ…
  continue reading
 
อย่าให้กางเกงยางยืดเป็นอุปสรรคของการคงหุ่นสวยในช่วงโควิด ช่วงที่อยู่บ้านเยอะ นั่งแยะ และขยับร่างน้อยกว่าปกติ คุณหมอฝน พญ. จิตแข เทพชาตรี แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและแพทย์ผิวหนัง เม้าท์มันๆ ว่าลดแบบไหนดี แบบไหนง่ายมาก แบบไหนลำบาก จะ IF (intermittent fasting), Ketogenic, LCHF (low carb high fat), Vegan, Plant-based diet หรือยาฉีดลดน้ำหนัก EP นี้ ฟังได้คร…
  continue reading
 
รักที่ซาบซ่าน รักที่ถึงฝั่งฝันย่อมเป็นเป้าหมายในกิจกรรมรักของทุกคู่ แต่หากวันหนึ่งลมเพลมพัด ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ความเครียดโหมกระหน่ำ สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป หรือแม้แต่โควิดสุดเฮี้ยว ทำให้อะไรๆ ที่เคยเสียวกลับเสื่อมลง มาฟังแพทย์เฉพาะทางแนะนำว่าอะไรที่จะทำให้กลับมาปั๋งกลับมาปังได้ อย่ารอให้ถึงวันเหี่ยว อย่าทนถ้าไม่เสียว แวะฟังตรงนี้เดี๋ยวเดียวแล้ว…
  continue reading
 
ในยุคที่ไวรัสตัวน้อยล้อมเราไว้ทุกทิศ การกินวิตามิน เกลือแร่ หรือสารสกัดจากธรรมชาติช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ได้จริงหรือ บรรดาอาหารเสริมที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะขายออนไลน์หรือขายตามร้าน ตัวไหนกินแล้วปัง ตัวไหนกินแล้วพัง อยากกินให้เป๊ะ กินให้เหมาะกับตัวเองที่สุด ส่วนอยากรู้กันให้จังๆ ต้องเจาะเลือดพิสูจน์ว่าสารในร่างกายตัวไหนขาด ตัวไหนเกิน เพราะร่างกายแต่…
  continue reading
 
เหมาะกับครอบครัวที่มีลูกวัย: 2-7 ปี คุณพ่อโอ๊ต วรวุฒิ นิยมทรัพย์ และคุณแม่จีน่า อันนา ชวนคุย ชวนถามเรื่องพฤติกรรมของลูกเล็กๆ วัยก่อนเข้าโรงเรียน ทำอย่างไรลูกจึงจะให้ความร่วมมือในการทำกิจวัตรประจำวัน การสอนให้เด็กรู้เท่าทันอารมณ์และหัดควบคุมอารมณ์ของตัวเอง พร้อมคำแนะนำจากกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม ในการใช้เทคนิคเลี้ยงลูกเชิงบวก…
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน