ทำไมรักษาน้ำหนักที่ลดไปแล้วไว้ได้ยาก
Manage episode 362502110 series 3233261
😬 ทุกครั้งที่เราพยายามลดน้ำหนัก ร่างกายตอบโต้ทั้งฝั่ง Energy Intake และฝั่ง Energy Expenditure เพื่อดึงเรากลับไปที่น้ำหนักตั้งค่าใหม่ ซึ่งก็คือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากน้ำหนักตั้งค่าเดิม
📃 งานวิจัยที่ดีมากของ Pollidori et al. ที่พี่ปุ๋มเคยเขียนสรุปโพสต์ไปเมื่อ 2 ปีก่อน เราพบว่า ทุกครั้งที่ลดน้ำหนัก ร่างกายจะตอบโต้ฝั่ง Energy Intake ด้วยการเพิ่มความอยากอาหาร (Appetite) 95 แคลอรี่ ต่อ น้ำหนักตัว 1 กก.ที่ลดไป ต่อวัน และตอบโต้ฝั่ง Energy Expenditure ด้วยการลด Resting Metabolic Rate 25 แคลอรี่ ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ที่ลดไป ต่อวัน เราเรียกกระบวนการทางสรีรวิทยาที่เป็น negative feedback นี้ว่า Metabolic Adaptation ซึ่งมีผลให้ทุกความพยายามลดน้ำหนักของเรา จึงยากในการที่จะรักษาน้ำหนักที่ลดไปไว้ได้นาน
📃 งานวิจัยชื่อ Long-Term Persistence of Hormonal Adaptations to Weight Loss ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 27 ต.ค. พ.ศ. 2554 โดย Prof. Priya Sumithran และคณะ ถือว่าเป็น “The greatest study of all time” ในการทำความเข้าใจ Metabolic Adaptation และได้รับการอ้างอิงไปมากกว่า 1,500 ครั้ง
👩🏻💻 ดังนั้น พี่ปุ๋มจึงคิดว่าควรจะนำมาสรุปให้น้องๆได้ฟังกันว่า ร่างกายตอบโต้การลดน้ำหนักผ่านการปรับตัวของฮอร์โมนอะไรบ้าง ที่ทำให้ Biology always wins และพี่จะนำตัวอย่างคนที่สามารถรักษาน้ำหนักที่ลดไปไว้ได้เท่าเดิมนานเกินกว่า 5 ปี เขามีวิธีที่จะลดกระบวนการตอบโต้นี้ได้อย่างไรบ้าง มันน่าสนใจที่จะศึกษาคนกลุ่มนี้ค่ะ
131 ตอน