Fatoutkey สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม

ดาวน์โหลดแอปเลย!

show episodes
 
F
Fatoutkey

1
Fatoutkey

Fatoutkey

Unsubscribe
Unsubscribe
รายเดือน+
 
พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ
 
Loading …
show series
 
👩‍💼ภารกิจที่พี่ปุ๋มตั้งใจทำ แม้ว่ามันจะใช้พลังงานกาย ใจ เงิน ในการทำไลฟ์แต่ละครั้งก็ตามคือ นำข้อมูลสุขภาพจากงานวิจัยที่มีคุณภาพมาย่อยให้น้องๆได้ฟัง/ชมกัน มีข้อมูลสุขภาพหลายเรื่องที่แพร่กระจายอย่างผิดๆอยู่บนโซเชียลมีเดีย เรื่องที่พี่ปุ๋มให้ความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง นอกเหนือไปจากความเข้าใจผิดว่า “ฮอร์โมนอินซูลินทำให้เราอ้วน ดังนั้นการตัดคาร์โบไฮเดรตออก…
 
📃 มีงานวิจัยทำในประเทศเดนมาร์กชื่อ “Association between low density lipoprotein and all cause and cause specific mortality in Denmark: prospective cohort study” ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ British Medical Journal เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 ซึ่งเป็น prospective cohort study ศึกษาประชากรเดนมาร์กอายุ 20-100 ปี ที่ recruit ในช่วงปีพ.ศ. 2546-2558 จำนวน 108,…
 
👨‍⚕️ ในงานวิจัยสาขา Obesity พี่ว่าน้อยคนมากที่จะไม่รู้จัก Dr.Kevin D. Hall Ph.D. เขาดำรงตำแหน่ง Section Chief: Physiology Section, Laboratory of Biomedical Modeling ที่ National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Disesses (NIDDK) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ National Institutes of Health (NIH) 🧪 งานวิจัยจากห้องแล็ปของเขามุ่งสำรวจว่า ระบบเมตาบ…
 
Prof.Thomas Dayspring M.D., FACP, FNLA เป็น Clinical lipidologist คนสำคัญที่มีความรู้และความเข้าใจคอเลสเตอรอลที่ร่างกายผลิตกับผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ เขาทั้งทำงานวิจัยและเขียน textbook เกี่ยวกับคอเลสเตอรอลมานานกว่า 30 ปี ที่พี่ปุ๋มประทับใจมากคือ เขาอายุ 77 ปีแล้วแต่ยังกระฉับกระเฉง เต็มไปด้วยพลังงาน เลคเชอร์ฟังเข้าใจง่าย สนุก ตื่นเต้น เห็นภาพ เขาเพิ่ง…
 
Prof.Thomas Dayspring M.D., FACP, FNLA เป็น Clinical lipidologist คนสำคัญที่มีความรู้และความเข้าใจคอเลสเตอรอลที่ร่างกายผลิตกับผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ เขาทั้งทำงานวิจัยและเขียน textbook เกี่ยวกับคอเลสเตอรอลมานานกว่า 30 ปี เขาเพิ่งเลคเชอร์เรียกได้ว่าเป็น Cholesterol Masterclass 4 ตอน ในช่องยูทูป Foolproof Mastery เนื้อหาดีมาก ครอบคลุมความเข้าใจเรื่องกา…
 
พบกับไลฟ์ #56 Red Pen Reviews มีกระบวนการรีวิวหนังสือ Why We Get Sick: The Hidden Epidemic at the Root of Most Chronic Disease--and How to Fight It เขียนโดย Dr.Benjamin Bikman อย่างไร วันพุธ 11 ม.ค. 2566 เวลา 20.00 น. ✅ หลังจากที่พี่ปุ๋มได้แนะนำองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อ Red Pen Reviews ซึ่งทำหน้าที่ในการรีวิวความน่าเชื่อถือของข้อมูลในหนังสือสุขภาพที่…
 
👨‍💼 Prof. David Raubenheimer ดำรงตำแหน่ง Professor of Nutritional Ecology, Leonard P Ullmann Chair in Nutritional Ecology School of Life and Environmental Sciences เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในเรื่อง Nutritional Ecology ซึ่งศึกษาว่าสภาวะสิ่งแวดล้อมทางด้านโภชนาการที่สัตว์เผชิญ ทำให้ระบบชีววิทยาของสัตว์สร้างการตอบสนองอย่างไรเพื่อธำรงสุขภาพและสมรรถนะทาง…
 
🎥 ในงาน Causes of obesity: theories, conjectures and evidence จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-19 ต.ค.2565 ที่ The Royal Society, London UK เป็นการประชุมที่รวมนักวิจัยระดับท็อปด้านความอ้วน มาแลกเปลี่ยน/update ข้อมูลงานวิจัยล่าสุดใน area ของ Obesity research 👩🏻‍💻 พี่โชคดี ลงทะเบียนฟรีเข้าไปฟัง online ร่วมกับผู้คนทั่วโลก 1,300 คน ทั้ง 3 วัน และพี่ก็ตั้งใจไว้แล้…
 
vdo series สรุปงานวิจัยครังที่ 18: Optimal Diets for Prevention of Coronary Heart Disease ของ Frank B. Hu แพทย์และนักระบาดวิทยา นักโภชนาการระดับโลก งานวิจัยของ Hu ได้รับการอ้างอิงในงานวิจัยอื่น 433,043 ครั้ง h-idex 294, i-10 index 1,352 พี่ว่าในชีวิตพี่ก็ไม่เคยเจอนักวิจัยในสาขา diet and Nutrition ที่ Citation สูงขนาดนี้มาก่อน Prof.Hu ทำงานวิจัยในสา…
 
👩🏻‍💻 ห่างหายจากการทำไลฟ์ไปเดือนกว่าเลยค่ะ ตอนนี้จบภารกิจงานสำหรับปีนี้เป็นพี่เรียบร้อย พร้อมกับยังอยู่รอดปลอดโควิด ทั้งๆที่ในรอบ 1.5 เดือนที่ผ่านมา พี่ทำใจไว้ละ เพราะทำงานนอกบ้านเกือบทุกวัน พบเจอผู้คนมากมาย เปิดมาส์กทานข้าว ที่สำคัญแม่บ้านติดโควิดมาเสิรฟข้าวพี่บนห้องทุกวัน พี่ก็ยังอยู่รอดปลอดภัย (ไขว้นิ้ว) 🎧 กลับมากับไลฟ์ #53 ระบบควบคุมภาวะธำรงดุลข…
 
👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มได้ทำ vdo สรุปงานวิจัย เกี่ยวกับบทความเรื่อง Thirty Obesity Myths, Misunderstandings, and/or Oversimplifications: An Obesity Medicine Association (OMA) Clinical Practice Statement (CPS) 2022 ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity Pillars ของ Obesity Medicine Association เมื่อเดือน ส.ค. ทึ่ผ่านมา ซึ่งวัตถุประสงค์ของบทความ เพื่อให้ Clinical Practice Gui…
 
👩🏻‍💻 พี่ได้ทำ vdo สรุปงานวิจัยครั้งที่ 15 ไปแล้ว 1 ตอนเกี่ยวกับบทความเรื่อง Thirty Obesity Myths, Misunderstandings, and/or Oversimplifications: An Obesity Medicine Association (OMA) Clinical Practice Statement (CPS) 2022 ตีพิมพ์ในวารสาร Obesity Pillars ของสมาคมฯ เมื่อเดือน ส.ค. ทึ่ผ่านมา ซึ่งวัตถุประสงค์ของบทความ เพื่อให้ Clinical Practice Guideli…
 
พี่ได้บทความรีวิวเรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วน 30 ประการ ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่เฉพาะสำหรับความอ้วนของสหรัฐอเมริกาล่าสุดเดือน ส.ค. 2565 มา 1 ฉบับ ที่อธิบายความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง หรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความอ้วนทั้งหมด 30 ข้อ แต่ละข้อสอดแทรกงานวิจัยรองรับ เนื้อหาทั้งหมดเกือบ 30 หน้า จึงต้องแบ่งเป็น 3 ตอนค่ะ พี่เชื่อว่าข้อมูลจะเป็นรากฐ…
 
🏅 หลังจาก Jeffrey C. Hall, Michael Robash และ Michael W. Young ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2560 จากการค้นพบกลไกระดับโมเลกุลที่ควบคุมนาฬิกาชีวภาพประจำเซลล์ ศาสตร์ชีววิทยาตามนาฬิกาชีวภาพ (Chronobiology) เริ่มได้รับความสนใจในการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องการกิน นอน ออกกำลังกาย 📃 มีสุภาษิตที่กล่าวว่า กินมื้…
 
📃 มีข้อมูลจากงานวิจัยแบบ meta-analysis ที่แสดงว่าการออกกำลังกายร่วมกับการจำกัดแคลอรี่ ช่วยสนับสนุนการลดน้ำหนักระยะยาวได้ดีกว่าการจำกัดแคลอรี่หรือออกกำลังกายแต่เพียงอย่างเดียว ⏰ แต่การจำกัดแคลอรี่ ร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิกในขณะที่หยุดกินอาหารมาตลอดทั้งคืน จะช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน ลดน้ำหนักได้ดีกว่า การจำกัดแคลอรี่ ร่วมกับการออกกำลังกายหลังจาก…
 
👨‍🔬 หลังจาก Lopez-Otin และคณะได้นำเสนอ The Hallmarks of Aging 9 ประการ ตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ Cell เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2556 จนถึงปัจจุบันได้รับการอ้างอิงไปราว 10281 ครั้งนั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์สุขภาพที่สนใจในเรื่องกระบวนการแก่ชรา ได้มีกรอบความคิดในการวางสมมุติฐาน และสร้างความก้าวหน้าในงานวิจัยสาขาชีววิทยาแห่งความแก่ชราเป็นอย่างมาก 📌 หมายเหตุ…
 
👩🏻‍💻 จากวิดีโอซีรีส์สรุปงานวิจัยครั้งที่ 8 เรื่องแนวทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพหลอดเลือดหัวใจของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (AHA) ประจำปี 2564 (2021 Dietary Guidance to Improve Cardiovascular Health: A Scientific Statement From the American Heart Association) ที่พี่ปุ๋มได้ทำไปเมื่อวันที่ 11 ก.ค. ซึ่งระบุชัดเจนเรื่องลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว…
 
👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มติดตาม Prof. Gerald I Shulman มาได้ประมาณ 2 ปีหลังจากอ่านหนังสือ Life Without Diabetes: The Definitive Guide to Understanding And Reversing Type 2 Diabetes เขียนโดย Prof. Roy Taylor เล่มนี้พี่แนะนำเลยค่ะ สำหรับผู้ที่อยากทำความเข้าใจโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง อ่านไม่ยากค่ะ 🔬 สิ่งที่เป็นความ amazing ของงานวิจัยที่ Prof. Gerald I. Shulman ศึกษ…
 
พบกับ Series vdo สรุปงานวิจัยครั้งที่ 8 เรื่อง “2021 Dietary Guidance to Improve Cardiovascular Health: A Scientific Statement From the American Heart Association” 🖥 ในท่ามกลางกระแสข้อมูลในอินเตอร์เน็ตจากสารพัดแหล่ง คำแนะนำเรื่องโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีของระบบหลอดเลือดหัวใจเป็นหนึ่งในเรื่องสุขภาพที่สำคัญมากและเป็นเรื่องสร้างความสับสนให้กับผู้คนมากท…
 
สรุปหนังสือสุขภาพดีมาก “Eat, Drink and Be Healthy: The Harvard Medical School Guide to Healthy Eating” ฉบับ Updated and Expansion เขียนโดย Prof. Walter C. Willett MD., DrPH และ Patrick J. Skerrett 📖 ในแต่ละปีมีหนังสือในกลุ่ม Health, Fitness and Dieting ออกมาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ การเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และการลดน้ำห…
 
กลยุทธ์ในการรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นาน (จากงานวิจัยแบบ systematic review ล่าสุด) “Perspectives into the experience of successful, substantial long-term weight loss maintenance: a systematic review” 👫 การลดน้ำหนักสำหรับบางคนก็ถือเป็นเรื่องยากแล้ว แต่การรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นานกลับยากยิ่งกว่า ค่าเฉลี่ยของคนอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่เต็มวัยผ่านการลดน้ำห…
 
Burn New Research Blows the Lid Off How We Really Burn Calories, Stay Healthy and Lose Weight (ตอนจบ) 1. The real hunger games: Diet, Metabolism, and Human Evolution 2. Run for Life 3. The Past, Present and Uncertain Future of Homo Energeticus
 
สรุปหนังสือดีในปี 2564 “Burn: New Research Blows the Lid Off: How We Really BURN Calories, Stay Healthy, and Lose Weight” ถ้าจะให้พี่ปุ๋มจัดอันดับ Top 5 หนังสือดีที่เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ความอ้วนในรอบ 4 ปี ที่มีโอกาสได้อ่าน นอกจาก The Hungry Brain ของ Dr.Stephan Guyenet แล้ว Burn เล่มนี้โดย Dr.Herman Pontzer ติด Top 5 อีกเล่มหนึ่งเลยค…
 
สรุปงานวิจัยครั้งที่ 6/2 “Calorie Restriction With or Without Time-Restricted Eating in Weight Loss” ตอนจบค่ะ
 
📌 มีการศึกษาเรื่องการจำกัดแคลอรี่ (Caloric Restriction) ในสิ่งมีชีวิตหลายสปีชี่ส์ เช่น ยีสต์ หนอน แมลงวัน ลิง เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจำกัดแคลอรี่สามารถปรับปรุงสุขภาพและยืดอายุขัยได้ในสัตว์ทดลองเหล่านี้ แต่ประสิทธิผลนี้จะยังคงพบในมนุษย์หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกัน 📖 เราจะมาดูข้อมูลงานวิจัยสำคัญเรื่องการจำกัดแคลอรี่ในมนุษย์ 2 ฉบับ ซึ่งฉบั…
 
สรุปงานวิจัย “The energy balance model of obesity: beyond calories in, calories out” Kevin D Hall, I Sadaf Farooqi, Jeffery M Friedman, Samuel Klein, Ruth J F Loos, David J Mangelsdorf, Stephen O'Rahilly, Eric Ravussin, Leanne M Redman, Donna H Ryan, John R Speakman, Deirdre K Tobias ตีพิมพ์ใน : The American Journal of Clinical Nutrition วันที่ตีพิ…
 
เรามาคุยกันต่อว่า 1. ใน Energy metabolism นั้น คาร์โบไฮเดรตสำคัญระดับเซลล์อย่างไร อย่างที่ไขมันทำไม่ได้ 2. อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่ทำให้เราอ้วน #FatOutHealthspans
 
มาทำความเข้าใจ 3 เรื่องสำคัญ 1. Fat burn = Actual Fat loss?? 2. คาร์โบไฮเดรตสำคัญต่อร่างกายอย่างไร แบบที่ไขมันทำไม่ได้ 3. อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่ทำให้อ้วน?? 👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มบอกน้องๆตั้งแต่ปลายปี 2564 ว่า จะทำซีรีส์ชีวเคมี 101 เพราะความเข้าใจวิชาชีวเคมีจะทำให้เราพิจารณาเลือกรับข้อมูลที่ได้จากสื่อสารพัดรูปแบบในเรื่อง Energy Metabolism อย่างสอดคล้องกับป…
 
ไลฟ์ #44 สรุปหนังสือดี Intermittent Fasting Revolution (ตอนจบ) มาพบกับตอนจบของการสรุปหนังสือดีเล่มนี้กันค่ะ ยังเหลืออีก 2 บทหลักคือ บทที่ 6: Diet Composition and Brain Health - หลักการสำคัญ 3 ข้อ สำหรับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ - ไดเอ็ทประเภทใดที่มีการศึกษาผ่านงานวิจัยแบบ RCT กว้างขวางที่สุดว่าส่งผลต่อความมีสุขภาพดี - มีอะไรดีในผัก ผลไม้ ที่ส่งผ…
 
ไลฟ์ #43: สรุปหนังสือ ดีมาก Intermittent Fasting Revolution: The Science of Optimizing Health and Enhancing Performance เขียนโดย Prof.Mark P. Mattson ⏰ Intermittent Fasting เป็นหัวข้อสุขภาพที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมีบทความสุขภาพที่เขียนถึงประโยชน์ของเรื่องนี้นับไม่ถ้วน และถ้าพิมพ์คำค้น Intermittent Fasting, Autophagy, …
 
📢 พบกับ วิดีโอสัมภาษณ์พิเศษ “อาจารย์” ของพี่ปุ๋ม เรื่อง Bone Broth ของเหลวมหัศจรรย์สีทอง (มีของขวัญพิเศษสุด ช่วงท้ายบทสัมภาษณ์ด้วย รอฟังกันจนจบนะคะ) 👩🏻‍💻 ตลอดระยะเวลา 4 ปีในการเปิดเพจ Fat Out-Healthspans พี่ปุ๋มมีบุคคลสำคัญท่านนี้ ที่พี่ยกย่องให้เป็น “อาจารย์” ของพี่มาตลอด 10 ปีที่เรากลับมาเจอกัน (จริงๆเรารู้จักกันมา 30 กว่าปีแล้วค่ะ) อาจารย์ท่านนี…
 
ซีรีส์สรุปงานวิจัย #4 : ทำไมสมองที่ควบคุมการ “อยู่เพื่อกิน” (Hedonic Eating) จึงมีอิทธิพลต่อการกินเกินมากกว่าสมองที่ควบคุมการ “กินเพื่ออยู่” (Homeostatic Eating) และเราจะมีวิธีจัดการอย่างไร ผ่านงานวิจัยดีมาก 2 ฉบับค่ะ 00:00 Introduction 04:28 ทำไมสัตว์กินเพื่ออยู่ แต่มนุษย์อยู่เพื่อกิน 05:02 สาเหตุที่มนุษย์กินอาหาร 08:28 งานวิจัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างส…
 
👩🏻‍💻 พี่ปุ๋มอัด vdo หัวข้อนี้อีกครั้ง หลังจากไปพูดเรื่องนี้กับน้องเอม เจ้าของเพจ Wellness Club Thailand ในวันอังคารที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา เพราะในวันนั้นพูดไม่ครบถ้วนแสงBioactive light ทั้ง 5 ประเภท เนื่องจากเวลาจำกัด และเห็นว่าแสงแดดเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก และที่สำคัญ ฟรีค่ะ 📌 หัวข้อสำคัญใน vdo นี้คือ 1. ธรรมชาติของแสง และทำไมแสงจึงส่งผล…
 
ทำไมมนุษย์มีแนวโน้มที่จะอิ่มช้า กินเกิน เมื่อเป็นอาหารแบบบุฟเฟต์ รอพบ วิดีโอซีรีส์ สรุปงานวิจัย #3 🧠 สมองที่ควบคุมการกินทั้งแบบ กินเพราะหิว (homeostatic eating) และ ไม่หิวก็กิน (Hedonic eating) มีเรื่องให้สมองส่วนจิตสำนึกของเราแปลกใจเสมอค่ะ 🎂 น้องๆมีอาหารที่ถูกใจกันไหมคะ เห็นเมื่อไหร่ จะถูกดึงดูดให้เข้าไปหาอย่างทัดทานได้ยาก หรือให้ดั้นด้นไปไกลแค่ไห…
 
วิดีโอซีรีส์สรุปงานวิจัย #2 กินหลอกสมองอย่างไรให้อิ่มนาน ด้วยแคลอรี่น้อย 📌 มาทำความเข้าใจ 4 หัวข้อนี้กันค่ะ 1. ทำไมอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางอาหารที่ชวนให้อ้วน (Obesogenic Environment) อย่างปัจจุบันเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ทุกคนบนโลกนี้ที่อ้วน 2. กลไกความอิ่มของร่างกายแบบ homeostatic eating เป็นอย่างไร คนอ้วน มีกลไกความอิ่มแตกต่างจากคนผอมอย่างไร 3. แล้วเราจะมี…
 
โภชนาการและการใช้ชีวิต ช่วยยืดอายุขัยเซลล์ได้จริงหรือไม่ งานวิจัยที่เป็น Randomized Controlled Trial (RCT) ฉบับแรก อาจมีคำตอบ 📌 ซีรีส์การสรุปงานวิจัยสั้นๆฉบับแรกนี้ จะทำให้น้องๆทราบว่า โภชนาการและไลฟ์สไตล์แบบใดที่สามารถลดอายุขัยของเซลล์ ที่เรียกว่า Epigenetic age ลงได้ ที่สำคัญงานวิจัยนี้เป็น Pilot Randomized Controlled Trial ฉบับแรก (ตามที่ผู้วิจั…
 
มาฟังสรุปงานวิจัยฉบับเต็มเรื่อง Energy Compensation and adiposity in humans ซึ่งตีพิมพ์ใน Current Biology เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ให้ข้อมูลสำคัญว่า 1. Energy Management Models 3 โมเดล มีอะไรบ้าง และ Energy Compensation Model คืออะไร 2. ทำไมการเพิ่มระดับของกิจกรรมทางกายของคนแต่ละคน อาจไม่ได้เพิ่มระดับพลังงานตลอดทั้งวันที่ใช้ไป อย่างที่เราเคยเข้าใ…
 
การอบร่างกายด้วยความร้อนเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั้นมีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาลย้อนไปได้หลายพันปี และพบได้ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลกค่ะ ทศวรรษที่ผ่านมามีงานวิจัย Observational จำนวนมาก ที่เป็นการติดตามผู้ใช้ซาวน่าระยะยาว (หลายสิบปีค่ะ) และ Randomized Controlled Trials จำนวนหนึ่ง ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์และสุขภาพ ถึงประโยชน์ของซาวน่าต่อการยืดอายุขัย…
 
การอบร่างกายด้วยความร้อนเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั้นมีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาลย้อนไปได้หลายพันปี และพบได้ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลกค่ะ ทศวรรษที่ผ่านมามีงานวิจัยทั้ง Observational, Longitudinal, Cohort studies ที่เป็นการติดตามผู้ใช้ซาวน่าระยะยาว (หลายสิบปีค่ะ) ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์และสุขภาพจำนวนมาก รวมถึง Randomized Controlled Trial จำนวนหนึ่ง ถ…
 
พี่ปุ๋มอัดคลิปนี้เพื่อ อธิบายทีละขั้นตอน เพื่อให้น้องๆทุกคนเข้าใจชีวเคมีของกระบวนการเมตาบอลิสมภายในเซลล์อย่างแจ่มแจ้งที่สุดว่า เซลล์จัดการพลังงานที่ได้จากอาหารที่กินเข้าไป เพื่อเปลี่ยนเป็นไขมันอย่างไร กินคาร์บแล้วจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมจนทำให้อ้วนอย่างนั้นหรือ ? อินซูลินหรืออะไรกันแน่ที่สำคัญที่สุดในการสะสมไขมัน…
 
สรุปการสัมภาษณ์ Prof. Mark Mattson หนึ่งใน World Top Expert เรื่อง Fasting ต่ออีก 7 หัวข้อที่เหลือจากตอนที่ 1 ดังนี้ค่ะ (สัมภาษณ์โดย Dr. Rhonda Patrick ขวัญใจพี่) 1. การออกกำลังกาย ระหว่างหยุดกินอาหาร มีประโยชน์ต่อสุขภาพสมองเพิ่มขึ้นหรือไม่ 2. ผักและผลไม้ ให้ประโยชน์ต่อร่างกายผ่านกลไกใด (ว้าวมากค่ะ) 3. การจำกัดแคลอรี่ที่สุดโต่ง (Extreme caliric res…
 
🤵 Prof. Mark Mattson ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านประสาทวิทยา ที่โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ และเคยดำรงตำแหน่ง Chief of Neuroscience Research Laboratory at the National Institute on Aging Prof. Mattson เป็นหนึ่งในนักประสาทวิทยาที่งานวิจัยของเขาตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี ได้รับการอ้างอิงในงานวิจัยอื่นมากที่สุดในโลก คือมากกว่า 180,000 ครั้ง…
 
ไลฟ์ #36 : The 9 Hallmarks of Aging ไลฟ์นี้ พี่ปุ๋มจะสรุปงานวิจัยสำคัญที่ชื่อ “The Hallamarks of Aging” โดย Carlos Lopez-Otin และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Cell เดือน มิ.ย. 2556 ความยาว 47 หน้า 😭 มาทำความเข้าใจจากงานวิจัยฉบับนี้ว่า 1. เครื่องหมายหลักแห่งความแก่ชราทั้ง 9 ประการมีอะไรบ้าง แต่ละเครื่องหมายหลักมีกลไกอย่างไรที่ทำให้ร่างกายแก่ชรา 2. มีหนทาง…
 
พี่ปุ๋มเริ่มต้นรู้จัก Prof. Robert Sapolsky จากหนังสือดีชื่อ “Behave: The Biology of Humans at Our Best and Worst” เมื่อสามปีที่แล้ว จากนั้นก็สอยหนังสือของเขาทุกเล่ม รวมทั้งเล่มนี้ “Why Zebras Don’t Get Ulcers: The Updated Guide to Stress, Stressed Related Diseases, and Coping” หนังสือให้ความเข้าใจเรื่องความเครียดซึ่งเป็นเรื่องที่ Prof. Robert Sapo…
 
เราจะมาทำความเข้าใจการมีกิจกรรมทางกายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ผ่านความเข้าใจวิวัฒนาการ และสรุปงานวิจัย 3 ฉบับ ว่าเมื่อมีกิจกรรมทางกาย มี Exerkines อะไรบ้างที่สื่อสารเพื่อความมีสุขภาพดีของร่างกาย และ exercise มี dose ที่เหมาะสมหรือไม่
 
เราจะมาสำรวจงานวิจัยหลายฉบับที่ให้ความกระจ่างว่า 1. อะไรคือกลไกสำคัญระดับโมเลกุล ที่การออกกำลังกายมีผลไม่ใช่แค่ต่อกล้ามเนื้อลายเท่านั้น แต่กับอีก 4 ระบบ สำคัญของร่างกาย 2. การที่ร่างกายวิวัฒนาการมาเพื่อ Constrained Energy Expenditure มีประโยชน์ต่อความมีสุขภาพดีอย่างไร 3. ทำไมการไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย (Inactivity lifestyle) ของคนเมือง ทั้งๆที่มี Tot…
 
มหัศจรรย์ภูมิคุ้มกันร่างกาย ตอนที่ 3/4 หัวข้อตอนนี้ 1. One Health ในมุมมองของ Prof. Emeran Mayer หมายถึงอะไร เกี่ยวข้องกับสุขภาพมนุษย์อย่างไร จากงานวิจัยน่าทึ่งในปี พ.ศ.2563 2. ภาวะอักเสบต่ำๆ เรื้อรัง ส่งผลร้ายต่อระบบภูมิคุ้มกัน และสุขภาพอย่างไร 3. 7 วิธีรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
 
ความมหัศจรรย์ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ในตอนที่ 2 นี้ พี่ปุ๋มจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า 1. ทางเดินอาหาร ประชากรจุลินทรีย์ มีความเชื่อมโยงกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอย่างไร 2. ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคนตอบสนองต่อผู้บุกรุกแตกต่างกัน
 
พี่จะสรุปหนังสือสำคัญ 3 เล่มที่แสดงให้พวกเราเห็นถึงความมหัศจรรย์ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ในตอนที่ 1 : ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร (Immune System 101) 💉ในขณะที่การฉีดวัคซีนให้ประชาชน ยังไม่ครอบคลุมและรวดเร็วได้มากพอ ทุกคนจะต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการรักษาอาวุธต่อกรกับไวรัสที่สำคัญที่สุดของร่างกาย คือระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้เข้มแข็งเอาไว้ 🛡 ดังนั้นการทำ…
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน