"เพราะหนังสือไม่ได้มีไว้ให้หลบมุมอ่านคนเดียว" พื้นที่สำหรับคนชอบอ่านและชอบแชร์ ที่จะทำให้คุณไม่ต้องไปหลบมุมอ่านหนังสืออยู่คนเดียว ชวนมาฟังและสร้างแรงบันดาลใจในการอ่านไปด้วยกันกับ นงค์ลักษณ์ บัทเลอร์
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 125: Art Brut Minivan Museum & Wellness การเดินทางของหนังสือเล่มหนึ่ง
26:41
26:41
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
26:41
Art Brut เป็นศิลปะแขนงหนึ่ง เกิดขึ้นช่วงทศวรรษ 1940 โดย Jean Dubuffet ชาวฝรั่งเศส ศิลปะแนวนี้เป็นงานที่เผยให้เห็นศักยภาพของมนุษย์และความรู้สึกข้างใน ไม่ใช่ศิลปะที่สูงส่ง ผู้สร้างงานศิลปะเป็นกลุ่มผู้ป่วย คนพิการ คนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ จึงถูกเรียกว่า Outsider Art การเติบโตของ Art Brut ในฝั่งตะวันตกมีมานานเกือบ 9 ศตวรรษ และในฐานะที่ศิลปะเป็นของมนุษย์ท…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 124: ฉันรู้ว่าไยนกในกรงจึงขับขาน
27:25
27:25
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
27:25
ไอริสา ชั้นศิริ นักแปลชาวไทย ผู้มีผลงานตีพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่องและทำงานร่วมกับหลายสำนักพิมพ์ เด็กหญิงจากอำเภอชายขอบจะมาเล่าถึงประสบการณ์การอ่านในวัยเด็ก จนก้าวมาสู่การเป็นนักแปล โดยผลงานเล่มล่าสุดกับสำนักพิมพ์ Library House คือเรื่อง “ฉันรู้ว่าไยนกในกรงจึงขับขาน” (I Know Why The Caged Bird Sings) จากต้นฉบับภาษาอังกฤษของนักเขียนผิวสีชาวอเมริกันผู้…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 123: ห้องสมุดเสาจินดารัตน์: แหล่งเรียนรู้
28:53
28:53
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
28:53
ห้องสมุดเสาจินดารัตน์ จัดตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงต้นตระกูลเสาจินดารัตน์ และเปิดบ้านให้เป็นพื้นที่ทางสังคมในลักษณะแหล่งเรียนรู้ บ้านกึ่งพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ เพื่อให้บริการข้อมูล เอกสาร งานวิจัย งานค้นคว้า ซึ่งเป็นข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ท้องถิ่น หนังสือหายาก หนังสืองานศพ และอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับจังหวัด…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 122: จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท : เด็กผู้หญิงจากไทยแลนด์ที่มีหนังสือ 20 เล่ม
27:39
27:39
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
27:39
จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท – เด็กผู้หญิงจากไทยแลนด์ที่มีหนังสือ 20 เล่ม นักเขียนหญิงชาวไทยคนแรกที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ IOWA International Writing Program 2022 Resident ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นโครงการที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลกที่เปิดโอกาสและคัดสรรนักเขียนจากนานาประเทศเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยจิดานันท์จะมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 121: ชีวิตที่ฟื้นคืน
26:20
26:20
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
26:20
Resurrection นวนิยายขนาดยาวเล่มสุดท้ายของ เลียฟ ตอลสตอย ฉบับแปลไทยพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ ชีวิตที่ฟื้นคืน โดย สดใส ขันติวรพงศ์ นับเป็นงานแปลระดับโลกอีกเล่มที่ผู้แปลมีความตั้งใจจะส่งต่อผลงานสู่นักอ่านชาวไทย โดยถือว่าเป็นพันธะหน้าที่ของการเป็นนักแปล งานเขียนเล่มนี้ของตอลสตอยนับว่าเป็นอีกหนึ่งบทบันทึกประวัติศาสตร์สังคม การเมือง ศาสนา สถาบันตุลาการ ชนชั้น …
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 120: “ฆาตป์” ความวายป่วงของรักสามเส้า
23:27
23:27
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
23:27
ชาคริต แก้วทันคำ เป็นที่รู้จักในฐานะนักวิจารณ์และบรรณาธิการ นวนิยายขนาดสั้นเรื่อง “ฆาตป์” เป็นผลงานเขียนเล่มแรก มีต้นธารแห่งแรงบันดาลใจจาก ชลธิชา ชุ่มเย็น ผู้เป็นแม่ของเขา และ ริวโนะสุเกะ อะคุตะงะวะ นักเขียน/กวีชาวญี่ปุ่น ผู้เขียนเรื่อง “ราโชมอน” “ฆาตป์” เป็นเรื่องที่แฝงไปด้วยประเด็นเรื่องเพศและจิตวิเคราะห์ปมอีดิปัสผ่านความสัมพันธ์ของครอบครัว ๆ หนึ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 119: พรมแดนและวัฒนธรรมใน "ร้านกาแฟของเมียฝรั่ง"
26:29
26:29
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
26:29
"ร้านกาแฟของเมียฝรั่ง" รวมเรื่องสั้น 18 เรื่องของ บรรจง บุรินประโคน เป็นผลงานที่เกิดขึ้นต่างที่ ต่างเวลา ต่างผู้คน ต่างที่มา ต่างมีความหลากหลายที่เกิดขึ้นผ่านเรื่องราวของคนเล็ก ๆ ในสังคม ที่ผู้เขียนบอกว่าตัวละครเป็นคนเล่า เพื่อให้คนอ่านได้หันกลับมามองเรื่องเล็ก ๆ ของคนข้างทาง คนที่พบเจอในสังคม เพื่อสลายเส้นพรมแดนที่ขวางกั้นระหว่างกัน สัมพันธบทในการ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 118: ทางเดินบนก้อนหินของลูกชายภูเขา
27:13
27:13
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
27:13
"ทางเดินบนก้อนหิน" งานเขียนของ สุวิชานนท์ รัตนภิมล นักเขียนรางวัลลูกโลกสีเขียว ถ่ายทอดเรื่องราวของคนภูเขาในฐานะการเป็นลูกชายภูเขาซึ่งไปใช้ชีวิตอยู่กับชุมชนตั้งแต่สมัยยังเรียนในมหาวิทยาลัย เขาเปรียบเทียบงานเขียนของตัวเองว่าเทียบเคียงได้กับงานศิลปะแนวอิมเพรสชั่นนิสต์ ซึ่งพาผู้อ่านไปดื่มด่ำประทับใจกับคำและห้วงเวลาต่าง ๆ ของชุมชนภูเขา หนังสือเล่มนี้เป็…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 117: ก่อนบั้งไฟพญานาคจะสิ้นศูนย์
26:59
26:59
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
26:59
ก่อนบั้งไฟพญานาคจะสิ้นศูนย์ นิยายที่เขียนจากเค้าโครงชีวิตจริงของเด็กชายสาทิศ คุ้มประเสริฐ ผลงานของ นายสัตวแพทย์สาทิศ คุ้มประเสริฐ (นามปากกา "สาธิต พิกุลทอง") ระหว่างบรรทัดของงานเขียนเรื่องนี้ได้ให้ภาพสะท้อนโครงสร้างของสังคมไทยในด้านต่าง ๆ อาทิ การศึกษา ความเหลื่อมล้ำในหลายด้าน วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่ส่งผลกระทบต่อคนตัวเล็กตัวน้อย เด็ก ๆ และครอบครั…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 116: “หายสาบสูญ” กับการมีอยู่ในความทรงจำ
25:44
25:44
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:44
VERZEICHNIS EINIGER VERLUSTE จากภาษาเยอรมันเป็นภาษาไทยในชื่อ "หายสาบสูญ" งานเขียนของ Judith Schalansky และ โปรดปราณ อรัญญิก แปล "เช่นเดียวกับหนังสือทุกเล่ม หนังสือเล่มนี้ก็เกิดจากความปรารถนาที่จะให้บางสิ่งอยู่รอด นำอดีตมาสู่ปัจจุบัน ปลุกเรื่องที่ถูกลืมให้คืนสู่ความทรงจำ ในสิ่งที่เงียบงันได้ส่งเสียงและไว้อาลัยต่อสิ่งที่สูญหาย งานเขียนไม่สามารถนำสิ่ง…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 115: วรรณกรรมลาวพลัดถิ่น
28:39
28:39
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
28:39
อาจารย์สมพาวัน แก้วบุดตา ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก (สาขาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน ภาษาลาว) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวถึง วรรณกรรมลาวพลัดถิ่น ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ว่านำเสนอภาพชีวิต ประสบการณ์ของนักเขียนลาวพลัดถิ่นซึ่งเดินทางไปใช้ชีวิตอยู่ที่รัสเซีย จนนำไปสู่การสร้างสรรค์วรรณกรรมลาวในต่างแดนที่ยังคงแนวคิดรักชาติ …
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 114: สะกดรอยสินไซ ตามหาช่างญวนในสิมอีสาน
30:37
30:37
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
30:37
นัทธ์หทัย วนาเฉลิม สัตวแพทย์หญิงและนักเขียน ผู้สนใจการเขียน การจดบันทึก การอ่าน ประวัติศาสตร์ เรื่องพื้นบ้านพื้นถิ่น มีผลงานเขียนเผยแพร่ในสื่อออฟไลน์และออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ เคยมีผลงานสารคดีศิลปวัฒนธรมเรื่อง “สะกดรอยสินไซ” มีความสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับสิมในภาคอีสาน และศึกษาความเชื่อมโยงสถาปัตยกรรมสิมกับสกุลช่างต่าง ๆ โดยเฉพาะช่างสิมญวนพลัดถิ่นที่อพยพ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 113: เพียงภาษาหรือถ้อยคำเท่านั้นใช่ไหมที่เป็นบทกวี
27:11
27:11
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
27:11
“คนของซ่อนกลิ่น” กวีนิพนธ์ ผลงานล่าสุดของ สมพงษ์ ทวี นักเขียน กวี ศิลปิน เจ้าของนามปากกา “ดอกไม้ดำ” งานเขียนเล่มนี้นำเสนอความคิด ปรัชญา นามธรรม และภาพของชีวิต แบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ กลิ่นมนุษย์ ระเริงกลิ่น แสงแดดประวัติศาสตร์ และคนของซ่อนกลิ่น นอกจากเรื่องราวในกวีนิพนธ์และการทำงานของบรรณาธิการเล่ม คเณศณัฏฐ์ สิมลาโคตร สมพงษ์ ทวี เป็นศิลปินคนหนึ่ง…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 112: The Romance of Escape: หลีกชีวิตจริงแล้วอยู่ในโลกจินตนาการผ่านหนัง
24:35
24:35
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
24:35
หนังสือ Thailand’s Movie Theatres: Relics, Ruins and the Romance of Escape งานเขียนของ Philip Jablon ชาวอเมริกัน ผู้หลงรักโรงหนังเก่าแบบสแตนด์อโลน ออกเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยรวมทั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อถ่ายภาพโรงหนังเก่าในด้านพื้นที่และสถาปัตยกรรม ขณะเดียวกัน เชื่อมโยงความเป็นพื้นที่ของโรงภาพยนตร์ เพื่อสะท้อนถึงความสำคัญของโรงหนังเก่าใ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 111: ธัมมะอัพเกรด
28:05
28:05
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
28:05
พระมหาสันทรรศน์ ฐิตวิริโย เจ้าของนามปากกา “พันธุ์ สังข์หยด” ถ่ายทอดประสบการณ์การอ่านวรรณกรรมไทย-วรรณกรรมโลก การเขียน การแบ่งปันการอ่านผ่านการรีวิวหนังสือซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการอ่าน กระตุ้นระบบนิเวศด้านต่าง ๆ ของหนังสือ อาทิ สำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ นักเขียน นักอ่าน นักแปล ในบทบาทของการเป็นนักเขียน นามปากกา “พันธุ์ สังข์หยด” มีผลงานรวมเล่มประเ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 110: เกลือดินแดนไดโนเสาร์ : เค็มนัว เค็มแซ่บ เค็มเฉพาะถิ่น
29:09
29:09
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
29:09
ประวัติศาสตร์พื้นที่ของอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น เชื่อมโยงกับความเค็มของเกลือสินเธาว์หรือเกลือดินแดนไดโนเสาร์ อันเป็นสินทรัพย์ทางธรรมชาติ ธรณีวิทยา แห่งหุบเขาปลาแดก เกลือสัมพันธ์กับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อทางคติชนวิทยา เศรษฐกิจ การเมือง สงคราม ปากท้อง อาหาร การท่องเที่ยว ฯลฯ เทศกาลต้มเกลือ พิธีไหว้ปู่บ่อเกลือ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 256…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 109: KULTX สี่แยกศิลปะบันเทิงของความ เก่า-แก่น-เก๋า
28:15
28:15
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
28:15
“มนพร รอบรู้” ศิลปิน นักวิจัย และผู้ก่อตั้ง “KULTX” สี่แยกศิลปะบันเทิง พื้นที่กระจายการมีส่วนร่วมของศิลปะ สังคม จุดนัดพบกันของผู้ที่สนใจศิลปะ ได้มาพบเจอกัน เพื่อส่งเสริมศิลปะแบบมีส่วนร่วม เชื่อมโยงกับบริบทของสังคม ผู้คน ชุมชน การแสดงออกทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย ทั้งศิลปินและไม่ใช่ศิลปิน เทศกาลศิลปะ S.O.E. Our City Old Town 2021 เป็นการแสดงงานในรูปแบบ …
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 108: สุราปกรณัม
27:45
27:45
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
27:45
การศึกษา “สุราปกรณัม” โดย ดร.เจือง ถิ หั่ง (Truong Thi Hang) มีวัตถุประสงค์สามประการ คือ เพื่อศึกษาความเป็นมาของพฤติกรรมการดื่มสุราของมนุษยชาติ เพื่อศึกษาคุณและโทษของสุราในโลกียวิสัย เพื่อศึกษาความหมายศักดิ์สิทธิ์ของสุราในการประกอบพิธีกรรมซึ่งเป็นเสมือนยานพาหนะ ทำให้ผู้ประกอบพิธีมีสมาธิแน่วแน่มั่นคงจนสามารถเชื่อมโยงกับวิญญาณศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งเหนื…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 107: Being Young in The Red Zone
27:46
27:46
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
27:46
จามี่ เลาะวิถี อาสาสมัครโลก นักแบกเป้ นักเขียน ผู้ออกเดินทางไปยังหลายประเทศ ได้รับประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะชีวิต การประกอบตัวตนของความเป็นจามี่ ล้วนสั่งสมประกอบสร้างมาจากสิ่งที่ได้ประสบพบเจอในแต่ละแห่ง เธอเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการเป็นพลเมืองโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ในยุค Digital Nomad พื้นที่สีแดง หรือ Red Zone เป็นพื้นที่อีกแห่งที่ทำให้จามี่ได้เรียน…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 106: ภูเขาน้ำตา: การต่อสู้กับโลกภายในของมนุษย์
27:46
27:46
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
27:46
“ภูเขาน้ำตา: The Mountain of Tears” นวนิยายของ อนุสรณ์ มาราสา พาผู้อ่านไต่ภูเขาน้ำตาเพื่อตรวจสอบและค้นหาสภาวะภายในของตัวเอง ผ่านข้อตกลงร่วมกันในเรื่องราวชีวิตรักของหญิง-ชายคู่หนึ่ง และข้อตกลงร่วมกันระหว่างนักเขียนกับนักอ่าน ใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบกระแสสำนึก ผสมผสานกับการใช้อุปลักษณ์ และหลักคำสอน ตลอดจนวิธีคิดทางศาสนาอิสลามที่ผู้เขียนนำมาเชื่อมโยง…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 105: พี่หลวงชวนอ่าน : ความทรงจำระหว่างทางในร้านหนังสือเก่า
26:29
26:29
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
26:29
หนังสือเก่าอาจจะเป็นสิ่งที่ใครสักคนกำลังตามหา เป็นความทรงจำระหว่างทางที่รอการค้นพบอีกครั้ง เพื่อพลิกเปิดอ่านระลึกถึงเรื่องเล่าในหนังสือที่ตนเองประทับใจ แต่ละคนต้องการหนังสือเก่าด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ร้านหนังสือ “พี่หลวง ชวนอ่าน” เกิดขึ้นจากการเป็นหนังสือแบกะดินริมทางเท้า ก่อนจะขยับมาเป็นร้านหนังสือเก่าในปัจจุบัน และได้รับใช้สังคมกับนัก…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 104: วัฒนธรรมของอินเดียเป็นแบบบุฟเฟต์
29:52
29:52
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
29:52
“วัฒนธรรมของอินเดียเป็นแบบบุฟเฟต์” สะท้อนถึงความหลากหลายด้านต่าง ๆ ของอินเดีย ประเทศซึ่งเป็นห้องแล็บทางสังคมศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขณะเดียวกันในเมืองขนาดใหญ่ของอินเดียที่เป็นมหานคร มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี เป็นเมืองทันสมัย อินเดียมีระบบขนส่งทางรถไฟที่ใหญ่และครอบคลุมหลาย ๆ พื้นที่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ด้านวิทยาการและเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาคิดค้นอย…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 103: ซึมซับ สังเกต หยั่งราก อย่าง "สดใส"
27:28
27:28
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
27:28
ROOTED: Life at the Crossroads of Science, Nature, and Spirit ผลงานของ ลีอันดา ลินน์ โฮปต์ แปลภาษาไทยโดย สดใส ขันติวรพงศ์ ในชื่อ “หยั่งราก” งานเขียน / งานแปลที่ทำให้เรามีความสุขเป็นหนึ่งเดียวกับโลกได้ เป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งรอบตัวเราได้ เราไม่รู้สึกว่าแปลกแยก และเรามีความสุขกับทุกขณะที่เรามีชีวิตอยู่ “หนังสือเล่มใหม่ที่มีความเป็นส่วนตัวสูงของลีอันดา …
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 102: เห็นแล้วชอบ ช่างเขียนพยัญชนะ นักกีฬาสานฝัน
25:49
25:49
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:49
การเกิดขึ้นของรางวัล SEE LIKE หรือ รางวัลเห็นแล้วชอบ ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับนักเขียนไทย และ เพจช่างเขียนพยัญชนะ ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะออนไลน์ เปิดให้นักเขียนและกวีชาวไทย ได้ส่งผลงานสร้างสรรค์เพื่อรับการพิจารณาเผยแพร่ลงในเพจ และมีกลุ่มนักกีฬาสานฝันเข้าร่วมเป็นเฟืองเล็ก ๆ ให้แก่กันและกัน เพื่อสนับสนุนคุณค่างานวรรณกรรม งานเขียน กวีนิพนธ์ และนักเขีย…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 101: อีกเสี้ยวหนึ่งของโอบกอด
28:35
28:35
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
28:35
“อีกเสี้ยวหนึ่งของโอบกอด” (2021) นวนิยายเล่มล่าสุดของ ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์ ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าเป็นภาคแรกของนวนิยายก่อนหน้าคือเรื่อง “2020” นวนิยายสองเรื่องเชื่อมโยงกับความทรงจำ ปรากฏการณ์เดจาวู ทฤษฎีคู่ขนาน Butterfly Effect ฯลฯ “อีกเสี้ยวหนึ่งของโอบกอด” ผู้เขียนยังสอดแทรกบริบททางสังคม โดยเล่นกับความรู้สึกด้านลึกของตัวละครที่จิตตกกับสถานการณ์ในชีวิต เ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 100: การส่งต่อความทรงจำในนิทานพื้นบ้านอีสาน
25:28
25:28
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:28
นิทานพื้นบ้านอีสาน มีความพร่าเลือนของความจริง และความไม่จริงอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ สาคร วงษ์ราชสีห์ ได้เริ่มศึกษา ค้นคว้า อ่าน และแสวงหาผู้ให้ข้อมูลเรื่องเล่า เพื่อนำตัวบทนิทานมาผลิตซ้ำ คลี่คลาย ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยการเล่าใหม่ผ่านงานศิลปะสร้างสรรค์ในรูปแบบสื่อผสม เพื่อส่งต่อความทรงจำในนิทานพื้นบ้านอีสานที่สะท้อนชีวิตของผู้คนในอดีต…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 99: การปะทะของความทรงจำ ในประวัติศาสตร์เมืองแพร่
26:34
26:34
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
26:34
ประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่เป็น “ประวัติศาสตร์บาดแผล” ที่เกิดจากการสร้างรัฐสมัยใหม่ผ่านเรื่องราวของกบฏเงี้ยว การเข้าใจประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่จึงไม่เพียงแต่เข้าใจประวัติบ้านเมืองหนึ่ง หากยังเป็นการทำความเข้าใจ “ชีวประวัติ” การสร้างชาติไทยโดยนัยด้วย – จากหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ : รัฐจารีต สู่การสร้างอาณานิคมภายใน ภายใต้วาทกรรม รัฐชาติ” โดย ชั…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 98: ชีวิตการแสดงจะเป็นอย่างไร เมื่อฟารีดาตัดสินใจคลุมผม
21:18
21:18
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
21:18
“ชีวิตการแสดงจะเป็นอย่างไร เมื่อฟารีดาตัดสินใจคลุมผม” เรื่องราวของฟารีดา จิราพันธุ์ นักแสดง ที่สั่งสมประสบการณ์การแสดงละครเวทีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จะได้รับการถ่ายทอดในรูปแบบเรื่องเล่าผ่านชีวประวัติ และเชื่อมโยงอัตลักษณ์ ตัวตนของเธอเข้ากับศิลปะการแสดง เพื่อส่งสารแห่งความศรัทธาต่อพระเจ้า จุดเปลี่ยน ความท้าทาย บททดสอบต่าง ๆ การแสดงเดี่ยวครั้งแรกในชีว…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 97: แปลงร่างวรรณกรรมสู่รูปแบบละคร
25:03
25:03
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:03
นลธวัช มะชัย หนึ่งในสมาชิกกลุ่มลานยิ้มการละคร ได้พูดถึงการทำงานของกลุ่มว่า กระบวนการละครอย่างหนึ่งคือการทำงานร่วมกับตัวบทวรรณกรรม งานวิชาการต่าง ๆ งานค้นคว้าวิจัย สมาชิกในกลุ่มต่างมีความสนใจการอ่าน นำไปสู่การแลกเปลี่ยน และหัวใจของการอ่านคือการค้นหา การสร้าง storytelling หรือเรื่องเล่า narrative บางอย่าง การทำงานระหว่างศาสตร์และศิลป์ของละครกับวรรณกร…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 96: การศึกษา ประวัติศาสตร์สังคม วัฒนธรรม ในวรรณกรรมอัฟกานิสถาน
25:45
25:45
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:45
ดร.อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม นำเสนอมุมมองต่อสถานการณ์ ปรากฏการณ์ในอัฟกานิสถาน ผ่านวรรณกรรมของอัฟกานิสถานสองเล่ม ได้แก่ The Kite Runner และ The Library Bus หนังสือที่มีความเหมือนกันในด้านการศึกษาและเด็ก - The Kite Runner นำเสนอเรื่องเล่าและภาพประวัติศาสตร์อัฟกานิสถานผ่านเด็ก ชุมชน อาหาร วัฒนธรรม ความรุนแรงในสังคม การมองโลกของมุสลิมจากสองฝั่งคือมองโลกแบ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 95: 45 ปี ปิยสัมพันธ์ ไทย - เวียดนาม (ค.ศ. 1976 - 2021)
23:46
23:46
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
23:46
“45 ปี ปิยสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม (ค.ศ.1976-2021) : มรรคาแห่งประวัติศาสตร์” ผลงานของ รศ.ดร. Truong Thi Hang และ ผศ.ดร.นคร เสรีรักษ์ หนังสือประวัติศาสตร์ซึ่งให้ภาพสะท้อนความหลากสีในความสัมพันธ์ระหว่างไทย - เวียดนามทั้งก่อนและหลังความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ ในด้านการเมือง ความมั่นคง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แถลงการณ์สถาปนาสัมพันธไมตรี…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 94: เพราะความรักมิอาจเร่งร้อน
25:23
25:23
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:23
“เพราะความรักมิอาจเร่งร้อน” วรรณกรรมที่ใช้ภาษาเยอรมัน ผลงานของ Daniela Krien นักเขียนชาวเยอรมัน แปลเป็นภาษาไทยโดย ปิยะกัลย์ สินประเสริฐ นำเสนอเรื่องราวความรักของผู้หญิง 5 คนซึ่งมีความแตกต่างกันแต่เชื่อมโยงผ่านสถานะทางเพศกับความรัก งานเขียนเรื่องนี้ยังนำเสนอและให้ภาพสะท้อนสังคมร่วมสมัยของเยอรมันผ่านตัวละคร ทำให้ผู้อ่านซึมซับสังคม การเมือง วัฒนธรรม ท…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 93: "บ้านที่กลับไม่ได้" กับตัวตนของมนุษย์ และบ้านที่เป็นนามธรรม
25:14
25:14
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:14
“บ้านที่กลับไม่ได้” งานเขียนรวมเรื่องสั้นโดย ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา พาผู้อ่านเข้าไปยังบ้านที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมของคนไร้บ้านชาวฟิลิปปินส์จำนวน 8 ชีวิต ได้ให้ภาพสะท้อนเชิงสัญลักษณ์ของ “บ้าน” ของแต่ละคนไว้เช่นไรบ้าง หลังจากผู้อ่านได้อ่านงานเขียนเกี่ยวกับคนไร้บ้านของผู้เขียนไปก่อนหน้านั้น คือ “โลกของคนไร้บ้าน” และ “สายสตรีท” นำเสนอในรูปแบบงานวิชาก…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 92: ตามรอยหนังสือ "รามานุจัน อัจฉริยะไม่รู้จบ"
21:08
21:08
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
21:08
หนังสือหนึ่งเล่ม ทำหน้าที่แตกต่างหลากหลาย สำหรับหนังสือ “รามานุจัน อัจฉริยะไม่รู้จบ” (The Man Who Knew Infinity) โดย โรเบิร์ต คานิเกล แปลเป็นภาษาไทยโดย นรา สุภัคโรจน์ งานแปลแต่ละเล่มได้ส่งต่อภาษา วัฒนธรรม สังคม ชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คน ฯลฯ ไปยังคนในอีกภาษาในมิติที่หลากหลาย ศรีนิวาสะ รามานุจัน เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย ผู้ค้นพบทฤษฎีจำนวน อนุกรมอ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 91: โบยบินไปสู่โลก ซึ่งความรักสะพรั่งบาน
23:11
23:11
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
23:11
“โบยบินไปสู่โลก ซึ่งความรักสะพรั่งบาน” กวีนิพนธ์ของ “อติรุจ ดือเระ” นักเขียนรางวัลยุวศิลปินไทย (Young Thai Artist 2020) คือการร้อยเรียงแห่งมวลกวีนิพนธ์นานาที่ถูกสานสร้างขึ้นจากประสบการณ์ พื้นที่ เรื่องใกล้ตัว เรื่องที่ได้ฟังมา โดยมวลถ้อยกวี เปิดโอกาสให้คนอ่านได้โบยบินไปเผชิญสิ่งต่าง ๆ ร่วมกับเรื่องราวใน 4 ภาค ได้แก่ ภาคแรก ทลายกำแพง ก่อสร้างสะพาน, …
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 90: 6 เดือนในเขมร
24:15
24:15
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
24:15
“6 เดือนในเขมร” เป็นเรื่องที่เขียนจากบันทึกประจำวันของ ชัยพร ศิริพรไพบูลย์ ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 - มีนาคม พ.ศ. 2537 ณ เมืองโพธิสัตว์ เดิมทีแล้ว มันเริ่มต้นด้วยการเขียนเป็นจดหมายกลับมาประเทศไทยเพื่อให้พ่อแม่ พี่น้อง และผองเพื่อนผู้ร่วมงานได้อ่านกัน แต่มันเป็นจดหมายที่มีความยาวมากกว่าจดหมายปกติทั่วไป เพราะนาน ๆ ทีจึงจะได้มีโอกาสฝากคนรถผู้ป…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 89: อิสรภาพที่ไม่สูญสลาย ในงานเขียน ศิลปะ และการสอน
23:49
23:49
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
23:49
การเป็นนักเขียนของ “ครูข้าว : รติรัตน์ รถทอง” เริ่มต้นจากการเข้าอบรมงานเขียนซึ่งมีจัดอบรมทั่วไป จนก้าวเข้าสู่การเป็นนักเขียนสารคดีช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเขียนยังเป็นสิ่งที่เธอทำอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งงานเขียนประเภทเรื่องสั้น บทกวี นิยาย ประกวดตามเวทีประกวดต่าง ๆ ต่อมาเธอสนใจทำงานศิลปะจากความสนใจส่วนตัว จึงค้นพบการผสมผสานระหว่างชีวิตกับศิลปะ ว่าคือส…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 88: งานเขียนทางประวัติศาสตร์ประเภทชีวประวัติในลาว ค.ศ.1975-2010
25:39
25:39
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:39
“งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ประเภทชีวประวัติในลาว ค.ศ. 1975-2010 : สถานภาพความรู้” โดย รศ.ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ ได้เก็บรวบรวม จัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์งานเขียนประวัติศาสตร์ประเภทชีวประวัติที่ตีพิมพ์เผยแพร่ใน สปป.ลาว ช่วง ค.ศ. 1975-2010 เพื่อเปิดประเด็นให้มีการถกเถียงงานเขียนประเภทนี้ รวมทั้งเปิดแหล่งข้อมูลใหม่ในการศึกษาประวัติศาสตร์ลาวอีกประเภทหน…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 87: แนวคิดทางศาสนาเชนที่มีต่อตัวละครราวณะ
24:20
24:20
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
24:20
ปอุมจริยะของวิมลสูริเป็นวรรณคดีเรื่อง “รามายณะ” ที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาเชนและมีอิทธิพลต่อรามายณะฉบับของศาสนาเชนฉบับอื่นที่แต่งขึ้นภายหลัง วรรณคดีเรื่องรามายณะของศาสนาเชนจัดอยู่ในวรรณคดีเรื่องเล่าประเภทปุราณะหรือจริตะ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแนวคิดศลากาปุรุษะซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับวีรบุรุษในศาสนาเชน วิทยานิพนธ์ “ลักษณะเด่นของตัวละครราวณะใน ปอุมจริยะ …
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 86: อินโดนีเซียศึกษา
25:00
25:00
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:00
“อินโดนีเซีย: การวิเคราะห์แบบเรียน” เป็นผลงานจากการฝึกทำรายงานการวิจัย (นักศึกษา SEAS รุ่น 1 ในวิชาสัมมนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อทำความเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนผ่านการวิเคราะห์แบบเรียน ประวัติศาสตร์ และบริบทอื่น หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยงานวิจัย 3 เรื่องได้แก่ เรื่องที่ 1 “การวางรากฐานเยาวชนแห่งชาติในหนังสือแบบเรียน…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 85: บาลีไวยากรณ์
25:08
25:08
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:08
พระมหาเพิ่มพูน สุขเวสโก สะท้อนให้ฟังถึงความสำคัญของภาษาบาลีที่มีต่อประวัติศาสตร์ พุทธศาสนา การศึกษาของพระสงฆ์และฆราวาสผ่านตำราบาลีจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในหนังสือที่ใช้ศึกษาภาษาบาลีของพระสงฆ์คือ “บาลีไวยากรณ์” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมวชิรญาณวโรรส นอกจากนี้ภาษาบาลีมีความสำคัญในด้านเป็นรากหนึ่งทางภาษาเพื่อทำความเข้าใจภาษาไทยในปัจจุบัน…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 84: พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
25:52
25:52
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:52
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 ครบ 100 ปี วันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งในปี 2564 องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ องค์การยูเนสโก ยกย่องให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยคุณูปการของพระองค์ที่มีต่อบ้านเมืองในด้านพุทธศาสนา การศึกษา วัฒนธรรม มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์ดนัย พลอยพ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 83: รักเราเท่าเดิมในมหาสมุทรแห่งเธอ
25:12
25:12
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:12
งานเขียนของ พึงเนตร อติแพทย์ (ทราย) มีตัวตนของนักเขียนปรากฏในอณูมิติความรัก ความงาม ความดี ความหวัง พลังที่เข้าไปเติมเต็มให้กับหัวใจคนอ่าน สำหรับงานเขียนเล่มแรก “ห่างหนึ่งก้าว รักเราเท่าเดิม” ตีพิมพ์ครั้งแรกในวัย 20 ต้น ๆ ขายหมดภายในหนึ่งเดือนและพิมพ์ซ้ำอีก 8 ครั้ง ความรักที่ปรากฏในเรื่องช่วยให้คนอ่านหลายคนรอดตายจากอาการอกหักมาได้ “มหาสมุทรแห่งเธอ”…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 82: ติดปีกชีวิต “นกเจ้ายังโผบิน”
25:11
25:11
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:11
“นกเจ้ายังโผบิน” นวนิยายขนาดสั้นผลงานของ แพรพลอย วนัช จำนวน 18 ตอนจบ แม้จะเปิดเรื่องด้วยการพาคนอ่านแบกโลกอันหนักอึ้งเอาไว้ผ่านความสัมพันธ์ของสามีและภรรยาคือโจ้และสีดา แต่เรื่องราวของคนทั้งคู่กลับทำให้คนอ่านได้หันกลับมาพินิจพิเคราะห์ตัวตนในความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง ความรักที่ไม่มีเงื่อนไขและไม่ควรจะมี ความเปราะบาง แง่มุมละเอียดอ่อนของตัวละครที่เรา…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 81: ฮาลา-บาลา “มรดกอาเซียนข้ามแดน”
26:34
26:34
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
26:34
ผืนป่าฮาลา-บาลา หรือ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา” ได้รับการขนานนามว่า “แอมะซอนแห่งอาเซียน” เพราะเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่ง มีลักษณะเป็นป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) มีแนวเขตต่อเนื่องกับป่าเบอลม หรือป่าเบลุ่ม (Royal Belum State Park) รัฐเปรัค ตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย เมื่อรวมพื้นที่ป่าเข้าด้วยกัน จัดได้ว่าเป็น “ป่าฝ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 80: เรื่องเล่าคนด่านหน้า กับโรคอุบัติใหม่
26:31
26:31
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
26:31
บทความวิจัย “เรื่องเล่าคนด่านหน้า: อัตวิสัย การรับมือโรคอุบัติใหม่ (โควิด-19) ในจังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษาอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี” โดย วรเชษฐ เขียวจันทร์ และ นายแพทย์ มูหาหมัดอาลี กระโด เป็นงานวิจัยซึ่งมุ่งเน้นทำความเข้าใจเรื่องเล่าของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ความรู้ ความกลัว ที่เกิดขึ้นในระดับบุคลากรที่ปฏิบัติงา…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 79: ประวัติศาสตร์เวียดนามระหว่าง ค.ศ.1985 - 2010
26:16
26:16
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
26:16
“วิทยานิพนธ์สาขาประวัติศาสตร์เวียดนามระหว่าง ค.ศ.1985-2010: สำรวจสถานภาพองค์ความรู้” โดย ผศ.ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา เป็นการสำรวจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ งานวิจัยประเภทวิทยานิพนธ์สาขาประวัติศาสตร์เวียดนามของนักศึกษาหรือนักวิจัยเวียดนามที่ถูกจัดเก็บไว้ตามห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วทั้งสามภาคของเวียดนาม ส่วนการศึกษานั้น ผู้วิจัยจะใช้วิธีการสร้างกรอบการ…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 78: ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ
25:30
25:30
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
25:30
“ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ: ว่าด้วยการท่องเที่ยวในฐานะมรดกแห่งการสร้างชาติของรัฐไทย จากรัฐจารีต สงครามเวียดนามสู่ยุครัฐประหาร 2549” โดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ เป็นการสำรวจความรู้ทางประวัติศาสตร์ พลวัต ปรากฏการณ์ ว่ามีความสัมพันธ์กับภูมิศาสตร์ทางการเมืองและถูกประกอบสร้างขึ้นมาอย่างไรผ่านบริบทสังคม การเมือง เศรษฐกิจ …
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 77: ผัวเดียวเมียเดียว อาณานิคมครอบครัวในสยาม
24:48
24:48
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
24:48
“ผัวเดียวเมียเดียว” เดิมเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตที่เสนอต่อภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาคปลายปีการศึกษา 2556 ต่อมาจึงนำมาปรับเป็นหนังสือในปี 2561 การพูดถึงผัวเดียวเมียเดียวในหนังสือเล่มนี้คือคือความตั้งใจที่จะเล่าความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของสิ่งที่เราต่างก็ยอมรับเป็นกรอบกติกาชีวิตโดยไม่เคยเหลียวกลับมาตั้งคำถาม…
ห
หลบมุมอ่าน


1
หลบมุมอ่าน EP. 76: “กางใจ” ไปกับบทกวีของ “กุดจี่”
27:36
27:36
เล่นในภายหลัง
เล่นในภายหลัง
ลิสต์
ถูกใจ
ที่ถูกใจแล้ว
27:36
เส้นทางนักเขียน - กวีของ พรชัย แสนยะมูล เจ้าของนามปากกา “กุดจี่” และ “ขวัญข้าว ขวัญเรียมเอย” ได้ถูกสั่งสมต้นทุนผ่านความรักในการอ่านและความฝันที่อยากจะเป็นนักเขียน ประสบการณ์ชีวิตผ่านยุคสมัยแห่งตนของนักเขียน ได้ถูกนำเสนอผ่านบทกวีง่ายงาม อารมณ์ดี สร้างกำลังใจ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะให้กับคนที่ได้อ่าน ถึงแม้เนื้อหาของบทกวีผ่านสองนามปากกาจะถูกกำหนดให้แตกต…