Alternative Spirituality สาธารณะ
[super 930891]
พ็อดคาสท์ Alternative Spirituality ดีที่สุดที่เราพบ
พ็อดคาสท์ Alternative Spirituality ดีที่สุดที่เราพบ
ถ้าคุณสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับอาถรรพณ์ศาสนานอกรีตการทำสมาธิตำนานโหราศาสตร์สิ่งมีชีวิตทางวิญญาณและอื่น ๆ คุณจะต้องตื่นเต้นกับประเด็นสนทนาในพอดคาสต์ที่น่าสนใจเหล่านี้
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
ธรรมะโดยฆราวาส เพื่อการมีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นแลเป็นกลาง ตามแนวทางปฏิบัติของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา
  continue reading
 
Loading …
show series
 
"การปลีกตัวอยู่กับตัวเอง มันช่วยได้เยอะ อย่างน้อยเราไม่ต้องไปฟุ้งกับเรื่องที่มากระทบมาก ๆ ในชีวิตประจำวัน ก็จะมีความสงบอยู่ระดับนึง และอีกส่วนนึงที่ช่วย ก็คือ ที่จิตใจมันสงบ มันจะมีความสุขแบบเงียบ ๆ และความสุขตัวนี้มันทำให้จิตใจเราไม่แส่ส่ายมากนัก เวลามันสงบระงับได้ในระดับนึง เวลามันเคลื่อนไหว เวลามีผัสสะ เวลามีอะไรเข้ามากระทบ มันจะเห็นได้ชัด" --คุ…
  continue reading
 
"เราไม่ต้องกลัวอกุศล ให้เรามองอกุศลทั้งหลายเป็นเครื่องมือที่จะให้เราพัฒนา ให้เรามีสติที่เข้มแข็งมากขึ้น ถ้าไม่หลงก็จะไม่รู้ รักษาหรือเพ่งไว้ก็ไม่รู้เหมือนกัน ฉะนั้นไม่ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล เราก็เอาเป็นเครื่องมือ เป็นครูสอนให้เราพัฒนาสติ สมาธิ ปัญญา ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขณะที่เกิดอกุศลแล้วมีสติเกิดขึ้น ตรงนั้นเป็นกุศล แล้วถ้าเกิดสติบ่อย ๆ จนเป็นสติที่เป็…
  continue reading
 
"เอาใจที่เป็นปกติ แล้วเรียนรู้ความเป็นปกติของมัน แล้วเราจะเห็นความจริงที่มันเป็นปกติอยู่แล้ว ว่าทุกสภาวะ ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ทั้งสิ้น และทุกสภาวะ ก็ไม่ใช่เรา ค่อย ๆ ดูไปนะ" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566
  continue reading
 
"จิตใจมันสุดโต่งสองฝั่งอยู่แล้ว เราเรียนเป็นคู่ ๆ ไป กล้า ๆ เรียนทั้งดีและไม่ดี ทั้งดีและไม่ดีก็สอนธรรมะเราได้ และพบว่าทั้งดีและไม่ดี มันตกอยู่ใต้หลักสามัญลักษณะ คือมันเป็นไตรลักษณ์ ดีก็เกิดดับ ไม่ดีก็เกิดดับ" --คุณซอง ณพัทธ์พล คุณาธนะเศรษฐ์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566
  continue reading
 
"กิเลสอะไรที่เกิดบ่อย ทุกครั้งที่มันเกิดขึ้นมา คอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันบ่อย ๆ ถึงแม้ไม่ได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ เราก็ขัดเกลาตัวเองได้ ถ้าเราอยากขัดเกลาตัวเอง เช่น เราเห็นอะไรที่เราไม่อยากทำ ถ้าเป็นกิเลส เราขัดเกลาตัวเองโดยการลงไปทำ ทุกครั้งที่เราทำ เราจะได้กำลังขึ้นมา กำลังของใจที่พร้อมจะสู้กับกิเลส แล้วใจจะเข้มแข็ง นักภาวนาจะมาตายตรงนี้ส่วนหนึ่งคือ ภ…
  continue reading
 
"ปัญญาไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อน มันคือการเห็นสภาวะของจริง ปัญญาคือการเห็นสภาวะที่เกิดดับ มันไม่มีคำพูด ไม่มีการพากษ์ แต่คือความเข้าใจ ตัวอย่างเช่น กิเลสเกิดแล้วดับ สิ่งไหนที่เกิดที่ดับ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา แต่ไหนแต่ไร จะมีเราโกรธ เราโลภ เราหลง แต่พอมีจิตตั้งมั่นขึ้นมา เริ่มเห็นว่าจิตมันโกรธ ความโกรธมันแทรกเข้ามา ไม่ใช่เราโกรธ การเรียนรู้สภาวะต่า…
  continue reading
 
"คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเสมือนแผนที่ให้เราเดิน จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นแผนที่เพื่อความพ้นทุกข์ เป็นเส้นทางของมรรค เราฟังธรรมะแล้วเข้าใจ ก็ค่อย ๆ กลับไปฝึก เราค่อย ๆ เดินไป เดินไปทีละก้าว ๆ ไม่หยุด มันจะค่อย ๆ สะสมความรู้ความเข้าใจมากขึ้น แต่สักพักหนึ่ง บางทีมันก็ลืมนะ เพราะในสังสารวัฏเราสะสมมิจฉาทิฏฐิมาตลอด มันก็อดไม่ได้ที่จะกลับไปเข้าใจแบบ…
  continue reading
 
"กรรมฐานไหนทำแล้วเกิดสมาธิบ่อยให้ใช้อันนั้น เริ่มต้นก็ค่อย ๆ ฝึกให้เข้าใจ พอผ่านไปเมื่อเริ่มรู้ทันจิตเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานไหนถ้าทำถูก คือรู้ทันจิต ก็ใช้ได้หมด เพราะรูปแบบเป็นแค่เปลือก การสวดมนต์ เคลื่อนไหว ทำจังหวะ ร่างกายเคลื่อนไหว ก็ให้กลับมารู้ทันจิต ไม่ได้บอกว่าทำอันไหนดีกว่าอันไหน แต่มันอยู่ที่ว่าทำแล้วรู้ทันจิตไหม และกรรมฐานไม่ควรมีเกิ…
  continue reading
 
"บางคนใจร้อน รู้สึกว่าต้องรีบเจริญปัญญาถึงจะเข้าใจได้ธรรมะ ก็พยายามคิดนำ ขณะที่คิดขณะนั้นคือหลง ไม่ได้รู้หรอกว่าหลงไปคิด แล้วเวลาที่เจริญปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามกายใจ มันแค่รู้สึกขึ้นมา ไม่ได้เป็นคำพูดยาว มันแค่เห็นเหมือนเรามีสติแล้วเห็นสภาวะ ขณะที่มีสติเห็นสภาวะ ขณะนั้นมีสมาธิเกิดขึ้น และมีกำลังมากพอมีจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ขนาดนั้นจะเห็นค…
  continue reading
 
"อะไรที่มันผิดน่ะ เราไปแก้มันยาก ต่อให้แก้สำเร็จ ก็ไม่ใช่ว่า นี่คือแก้สำเร็จนะ อันนี้คือล้างใหม่ แล้วค่อยรู้ใหม่ รู้อารมณ์กรรมฐานด้วยใจที่สบาย รู้ใหม่เลยมันง่ายกว่า ล้างกระดานใหม่บ่อยๆ ไม่ต้องกลัว ที่มันตั้งแล้วล้ม ๆ เพราะว่าเราภาวนาเป็นขณะอยู่แล้ว" --คุณซอง ณพัทธ์พล คุณาธนะเศรษฐ์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566…
  continue reading
 
"พอเรียนรู้ตัวเองมากเข้า ๆ เราจะเห็นเลยว่า ทุกคนก็รักสุขเกลียดทุกข์ ทุกคนก็มีโลภ โกรธ หลงทั้งสิ้น ทุกคนก็อยากดี อยากเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น พอเราเห็นความจริงในกายในใจนี้ เราก็เห็นว่า เราไม่ได้แตกต่างจากคนอื่นเลย เมื่อก่อนเรารู้สึกว่าตัวเองดีมาก เป็นคนดี มีเมตตา แต่จริง ๆ ขี้อิจฉา เป็นต้น เราจะเห็นว่า ที่คนอื่นเขามีกิเลสเยอะแยะ เราก็กิเลสเยอะเหมือนก…
  continue reading
 
"เห็นจิตที่เคลื่อนไปเคลื่อนมา เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตรงนี้จะได้สมาธิอีกแบบนึง ที่ไม่ใช่สมาธิตั้งแช่ หรือจมแช่อยู่กับลมหายใจอย่างเดียว แต่มันจะรู้เนื้อ รู้ตัวอยู่ ได้สมาธิตรงนี้แล้ว ก็ดูร่างกาย ดูจิตใจ ที่มันทำงานไป" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566
  continue reading
 
"เราภาวนาไปเรื่อย ๆ เห็นสภาวะล้วนแต่เปลี่ยนแปลง เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ บังคับอะไรไม่ได้เลย บางสภาวะก็ชอบ บางสภาวะก็ไม่ชอบ ชอบก็อยากรักษาไว้ ไม่ชอบก็อยากผลักไสมัน บางทีก็อยากแก้ไขมัน ที่ว่ามาทั้งหมดคำที่ว่า 'อยาก' ก็เป็นสภาวธรรม ให้เรารู้ลงไป แล้วเราจะเห็นเลย ว่าไม่ว่าสภาวธรรมอะไรก็ตาม มันล้วนแต่ชั่วคราว เพราะมันไม่ใช่เรา มันไม่สามารถเป็นไปได้ตามใจสั่…
  continue reading
 
"ถ้าเราไม่มีสัมมาสติ ไม่มีสัมมาสมาธินะ อย่าเพิ่งไปดูเรื่องเดินปัญญา มันจะได้ปัญญาปลอม ไม่ได้ปัญญาของแท้ เราฝึกไปนะ ยืน เดิน นั่ง นอน คอยรู้สึกนะ กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เรารู้สึกไป เวทนาอะไรเกิดขึ้น ความสุข ความทุกข์ ความเฉย ๆ หรือว่ากิเลสอะไรเกิดขึ้น คอยรู้สึกไปเรื่อย ๆ ถ้าเรารู้สึกไปได้บ่อย ๆ นะ รู้สึกไป ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง รู้สึกไ…
  continue reading
 
"การทำในรูปแบบคือการฝึกหัดฝึกซ้อม เพราะสติและสัมมาสมาธิไม่ได้เกิดลอย ๆ ต้องเกิดจากการฝึกฝน ใจที่มีสัมมาสมาธิ เห็นร่างกายจิตใจที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง มันก็จะเก็บข้อมูลไปเรื่อย ๆ เป็นการเก็บข้อมูลด้วยใจ ความเข้าใจในทางศาสนาพุทธ ต้องเรียนรู้ด้วยใจ ใช้ใจรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงในกายในใจเรา ไม่ได้ใช้เหตุผลทางสมอง ไม่ได้ใช้ตรรกะคิดเอา ใจจะยอมรับได้ จะต้…
  continue reading
 
"นักปฏิบัติเวลาภาวนาอยากให้จิตพัฒนาดีขึ้นไปเรื่อย ๆ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด ธรรมชาติของจิต เวลาภาวนาเจริญช่วงหนึ่งแล้วก็จะเสื่อม ถ้าใจเราเป็นกลาง เห็นมันเสื่อมก็รู้ว่ามันเสื่อม หรือว่าจิตดีก็รู้ว่ามันดี บางช่วงก็สติดี บางช่วงสติก็ไม่ดี บางช่วงใจก็ฟุ้งซ่านเยอะ เราก็มีหน้าที่แค่รู้ทัน รู้ทันไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องแก้ จิตดีก็ภาวนา จิตไม่ดีก็ภาวนาไปเหมือนเด…
  continue reading
 
"ทำกรรมฐานของเราไปอย่างหนึ่ง แล้วคอยสังเกตใจเรา ถ้าทำแล้วใจแน่น รู้ทัน ทำแล้วใจหลงไป รู้ทัน ใจเป็นอย่างไรคอยรู้ทัน ยังไม่ต้องรีบเดินปัญญา เราฝึกให้เกิดสติเยอะ ๆ ก่อน ถ้าเรารีบเดินปัญญา ใจจะดิ้นรนมาก เพราะทำไปด้วยความอยาก เหมือนอย่างคนภาวนาถูกแล้ว แล้วอยากได้ของดีก็ไปเร่งภาวนา คราวนี้เสียนานเลย เพราะใจมีแต่ความโลภอยากจะได้ จริง ๆ ความอยากเป็นเหตุให้…
  continue reading
 
"ถ้าเราดูจิต ก่อนรู้ อย่าตั้งใจรู้ รู้แล้ว อย่าถลำ รู้แล้ว จิตนั้น ยินดียินร้าย ให้รู้ตาม ก็คือ ชอบ ไม่ชอบ ให้รู้ตาม ก่อนรู้ อย่าตั้งใจรู้ ถ้าไปดักรู้ พวกนี้ก็คือเพ่ง รู้แล้วอย่าถลำ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 30 กรกฎาคม 2566
  continue reading
 
"มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง" สติตรงนี้ หมายถึงสติปัฏฐาน4 ไม่ใช่สติที่พวกเราใช้อยู่กับโลก สิ่งที่แตกต่าง 2 อย่างนี้ คือ สติที่เราใช้อยู่กับโลก เป็นสติที่เรารู้ข้างนอกหมดเลย รู้เรื่องราวข้างนอก รู้สิ่งข้างนอก รู้คนข้างนอก ยกเว้นกายกับใจของเรา แต่ถ้าสติบัฏฐาน 4 เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวของเราทั่งสิ้น ตัวของเรา ป…
  continue reading
 
"ทุกวันนี้เราปฏิเสธมือถือไม่ได้ เพราะทุกอย่างอยู่ในนี้หมด แต่เอาให้พอดี พอดีของใครไม่เท่ากัน ต้องบริหารด้วยตัวเอง อยู่ที่เราเลือกที่จะเสพ เสพอันไหนแล้วเป็นประโยชน์ เสพอันไหนแล้วการภาวนาเราไม่ย่อหย่อน เสพอันไหนแล้วเรามีความสันโดดพอเพียง มักน้อย สันโดด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร บางคนบอกฉันไม่ได้คลุกคลี แต่ไถมือถือ แสดงความคิดความเห็น โพสได้ตลอด อันนี…
  continue reading
 
  continue reading
 
"พวกเรามักจะแพ้หรือรู้ไม่ทันกิเลสบางตัว กิเลสที่ไม่ค่อยแรงแต่ทำให้เราไม่มีความสุข ทำให้เราซึมกระทือ ใจทื่อ ๆ แล้วเราก็ภาวนาไปเรื่อย ๆ ไม่รู้ตัวว่าตอนนั้นจิตมีโทสะอยู่ ถ้าเรารู้ทัน เราจะเห็นเลยว่าใจที่ไม่มีความสุขนี้ ถูกเรารู้สึกได้ ร่างกายก็ส่วนหนึ่ง ใจที่ไม่มีความสุขก็ส่วนหนึ่ง ตัวที่รู้สึกอยู่ต่างหาก ถ้าแยกใจที่ไม่มีความสุขออกไป จะกลายเป็นใจที่ปก…
  continue reading
 
"จิตที่เคลื่อน คือจิตที่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นฟุ้งซ่านในธรรม พอเห็นว่า มันฟุ้งซ่านนะ ขณะนั้นมันจำได้ สภาวะของการเคลื่อนออกไป มันเกิดสติ พอฟุ้งซ่านดับ เกิดสมาธิทันที แล้วสิ่งนั้นที่แสดงไตรลักษณ์ ดับไปแล้ว ไม่มีอะไรคงอยู่เลย แต่มันอยู่ด้วยอะไร? ด้วยสัญญาที่มันผิด แล้วมันก็เอามาคิดนึกปรุงแต่ง ซ้ำๆๆๆๆ นั่นก็เป็นฟุ้งซ่านอีก" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สบ้าน…
  continue reading
 
"เราต้องทำเอง ไปเรียนรู้ตัวเองนะ การศึกษาเนี่ย เราเป็นผู้ศึกษาอยู่เนี่ย ศึกษาคืออะไร? ก็คือไปเรียนรู้นั่นแหละ ที่นี้การเรียนรู้โดยทางธรรมนี้ก็คือ พาจิตไปให้เห็นความจริง สิ่งที่มันเกิดขึ้นภายในใจตนเอง มันไม่เหมือนการเรียนทางโลก ที่รู้แต่เรื่องข้างนอก นึกออกไหม มันแตกต่างกันเยอะ" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สบ้านสติ 17 เมษายน 2566…
  continue reading
 
"เวลาที่เราฝึกมาเรื่อย ๆ เราจะเห็นสภาวะมากขึ้น แล้วก็มีสภาวะที่ชอบ กับสภาวะที่ไม่ชอบ นี่เพราะเราไม่เป็นกลาง เรารู้ต่อไปเลยว่ามันไม่เป็นกลาง แต่จะทำให้มันเห็นเป็นกลาง ให้ยอมรับความจริงเลย เป็นไปไม่ได้ เพราะจิตต้องค่อย ๆ เรียนรู้ไป เราบังคับมันไม่ได้ เพราะมันเป็นของมันเอง เห็นสภาวะที่ชอบ ก็รู้ว่าชอบ เห็นสภาวะที่ไม่ชอบ ก็รู้ว่าไม่ชอบ เห็นสภาวะแล้วยอมร…
  continue reading
 
"การเร่งรีบ(ปฏิบัติ)เพื่อที่จะเอา เป็นตัณหา ตัณหา ทิฏฐิ มานะทำให้เนินช้า แต่ถามว่าห้ามได้ไหม ห้ามไม่ได้ แต่ให้รู้ทัน รู้ทันแล้วก็ปฏิบัติไป เดี๋ยวมันก็ผ่านไป กิเลสก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน เดี๋ยวมันก็มีตัวใหม่มากอีก ตัวนี้มา ตัวนี้ไป แต่ทุกครั้งที่เราเห็นกิเลส กิเลสจะครอบงำเราได้น้อยลง แล้วก็จะค่อย ๆ สะอาดมากขึ้นในเส้นทางปฏิบัติ" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์…
  continue reading
 
"มันเห็นว่าแต่ละขันธ์ ต่างคนต่างทำงานจริง ๆ มันเป็นของมันแบบนี้ มันเป็นธรรมดา แบบนี้เอง เป็นคล้าย ๆ ว่า รู้สึกอย่างงั้น แล้วมันก็รู้สึก มันอิ่มน่ะ จะบอกว่ามันคล้าย ๆ คนเอ๋อ มันไม่ปรุงอะไร มันไม่ค่อยอะไร แต่มันมีความสงบร่มเย็นอยู่ภายใน" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สบ้านสติ 15 เมษายน 2566
  continue reading
 
"เราไปอยู่ตรงไหน สิ่งแวดล้อมไหน แล้วทำให้เราภาวนาได้ เห็นความจริง รูปนาม กายใจ ได้ หรือเราไปอยู่สิ่งแวดล้อมไหนแล้ว หลงตลอด กิเลสเต็มไปหมด ไม่ค่อยรู้เนื้อรู้ตัว โดนกิเลสลากไปง่าย ๆ หรือตลอดเวลา เราก็ต้องคอยสังเกต ปรับพฤติกรรมของการดำรงชีวิต แต่ก็ไม่ใช่เคร่งเครียด แทรกการปฏิบัติไปในการใช้ชีวิตทุกวัน" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สบ้านสติ 15 เมษายน 25…
  continue reading
 
"เห็นจิตที่มันเคลื่อนบ่อย ๆ หรือเห็นสภาวะ ตรงตามความเป็นจริง มันจะเห็นตัวนี้ได้นะ มันต้องจำได้ จำสภาวะนั้นได้ แล้วก็ต้องรู้ทันจิตด้วย" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สบ้านสติ 15 เมษายน 2566
  continue reading
 
"ทำสติ ฝึกให้มีสติ สมาธิเดี๋ยวมาเอง เมื่อไหร่ที่มีสติ ขณะนั้นมีสมาธิ ถ้าสตินั้นเป็นสติที่มันเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีเจตนา คือเป็นสัมมาสติ สัมมาสติเป็นสติที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ประกอบไปด้วยกิเลส" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สบ้านสติ 14 เมษายน 2566
  continue reading
 
"ส่วนใหญ่เวลาภาวนา ใจจะไม่ค่อยตั้งมั่น ต้องฝึกสติให้ดี ๆ ก่อน อยากจะเน้นให้เราฝึกสติ บางคนก็สงสัยว่าทำไมให้ไปฝึกเบสิก ก็ฝึกมาตั้งนานแล้ว เพราะส่วนใหญ่ที่เราทำจะเป็นสมถะ ไม่ค่อยเกิดจิตที่ตั้งมั่น ถ้าฝึกสติถูก เราจะได้สัมมาสติขึ้นมา ได้สัมมาสมาธิหรือจิตตั้งมั่นขึ้นมา เคล็ดลับก็มีแค่ว่าให้คอยรู้ทันจิตเอาไว้เท่านั้น หลังจากนั้นเรื่องเดินปัญญาไม่ยากหรอก…
  continue reading
 
"ถ้าเราภาวนาถูกจะมีฉันทะ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา สี่ตัวนี้จะเกิด พอทำถูกแล้วจะได้ผล จากภาวนาในรูปแบบ 5 นาที จะกลายเป็น 10 นาที เป็น 15 นาที มันจะค่อย ๆ เพิ่มไปเอง แต่ว่าใหม่ ๆ ต้องขยันทำ ไม่ต้องนาน แต่ทำบ่อย ๆ ทำถี่ ๆ สุดท้ายเวลาที่ทำสมาธิที่ถูกจะค่อย ๆ ขยายตัวออกไปเอง จะเป็นไปอย่างธรรมชาติ ไม่ต้องบังคับตัวเองเกินไป ทำให้ถูก ทำให้บ่อย ๆ ทำเนือง …
  continue reading
 
"การทำในรูปแบบ มีประโยชน์ตรงที่ว่า ให้เราฝึกตั้งแต่การเรียนรู้สภาวะ การจำสภาวะได้ จำสภาวะได้ จิตจะมีสติ เป็นการฝึกให้สติเราไวขึ้น ขณะที่มีสติเกิดขึ้น เราก็มีใจที่ตั้งมั่น คือสัมมาสมาธิเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การทำรูปแบบ เป้าหมายหลักก็คือ ฝึกตัวเครื่องมือในการเจริญปัญญา 2 ตัว คือ ฝึกสติ กับฝึกใจให้ตั้งมั่น" --คุณแม่ชีอรนุช สันตยากร บ้านจิตสบาย 12 มีนาค…
  continue reading
 
"ถ้าเราเจริญสติปัฏฐานได้ทีละหนึ่งหรือสองขณะ แล้วใจก็ไหลหรือหนีไปนาน ๆ แสดงว่ากำลังสติอ่อน ต้องทำรูปแบบให้มากขึ้น ให้ต่อเนื่องมากขึ้น แล้วใจจะค่อย ๆ มีกำลัง ไม่ต้องกลัวว่าภาวนาแล้วจะผิด ให้คอยสังเกตใจ เวลาเราภาวนาแล้วบางทีใจนิ่ง รู้ว่าใจนิ่ง ใจมันก็จะค่อยรู้สึกตัวขึ้นมา บางทีใจสงบ รู้ว่าใจสงบ ใจไหลไปคิดแล้วเรารู้ทัน ใจไหลไปคิดดับ ก็เกิดความรู้สึกตัว…
  continue reading
 
"จะแก้การติดเพ่ง ให้เห็นการเพ่งบ่อย ๆ เห็นจนจำได้ว่าเพ่งเป็นแบบนี้ พอเพ่งก็เห็นมัน เห็นอะไรก็จะไม่ติดอันนั้น ก็มีหลักอยู่อย่างนี้ เห็นสิ่งที่ไม่เป็นกลาง ใจก็จะเป็นกลาง เผลอไปเพ่ง ให้รู้ว่าเพ่ง รู้บ่อย ๆ เวลามันโผล่ตัวมาก็เห็นมันแล้ว เห็นแล้วก็จะไม่เข้าไปติด" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน (กฟผ.) 8 เมษายน 2566…
  continue reading
 
  continue reading
 
"พอจิตมันสว่าง มันเคลื่อนออกไป มีนิมิต ก็เหมือนกับเราเห็นเนี่ยแหละ ให้ย้อนมาดูใจ สิ่งที่นิมิตเห็นเป็นภาพ เมื่อมีภาพแล้ว มีอารมณ์อย่างไร ให้ย้อนมาดูใจตัวเองว่า ชอบหรือไม่ชอบ อันนี้คือจิตของเรา อันนั้นไม่ใช่แล้ว พอย้อนบุ๊ป มันเข้าหาจิต มันไม่ออกนอก มีหน้าที่แค่นั้นแหละ" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน (กฟผ.) 8 เม…
  continue reading
 
"เราฝึกรูปแบบ เช่น เดินจงกรม ขยับมือ ฯลฯ รู้สึกรูปเคลื่อนไหว รูปหยุดนิ่ง จิตจะจำอาการไหวและหยุดของรูป เดินจงกรม เห็นการสะเทือนและการหยุดของกาย ทำจังหวะมือ เห็นการไหวและหยุดนิ่งของมือ เวลาเราไปทำข้างนอก (ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน) เห็นการเคลื่อนไหวโดยไม่เจตนา จิตก็จะตื่นขึ้นมา เพราะการไหวการหยุดนิ่งไม่ได้อยู่ที่รูปใดรูปหนึ่ง เวลาจิตไปเห็นไหวและหยุดนิ…
  continue reading
 
"มันตื่นแบบเพ่งอารมณ์ ไม่ตื่นแบบรู้ตัว ตื่นแบบเพ่งอารมณ์ เพ่งในความสว่าง มันสว่าง แล้วก็เพ่งอารมณ์ จิตมันเคลื่อนอยู่ข้างหน้า ไปเพ่งสว่างอยู่ข้างหน้า ไม่ถึงฐาน เลยฐาน ควบคุม บังคับ อันนี้คือเพียรแรงไป" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน (กฟผ.) 7 เมษายน 2566
  continue reading
 
"สวดมนต์ไปแล้วให้ดูจิตไปด้วย เพราะสวดมนต์มาก ๆ แล้วจะสงบ ถ้าสงบแล้ว ก็จะเข้าไปนิ่ง ถ้าไม่เห็นจิตก็จะติดนิ่ง เวลาเราสวดมนต์บทยาว ๆ อาจมีความกังวลว่าจะสวดผิดสวดถูก จิตก็จะไปจ้องการสวด จิตก็จะเข้าไปนิ่ง ๆ ถ้าสวดไปแล้วมีความสุข จิตก็จะเข้าไปเคลิบเคลิ้ม ถ้าไม่เห็น ก็จะกลายเป็นนิ่ง ถ้านิ่งแล้วรู้ไม่ทันจิต จิตก็จะติดนิ่ง สวดมนต์ก็ดี แต่ได้ของแถมคืออาจจะติ…
  continue reading
 
"การเดินจงกรมเมื่อขากระทบพื้นแล้วรู้การสะเทือน ขาที่กระทบหนึ่งครั้ง กระตุ้นจิตให้กลับบ้านเรียบร้อยแล้ว กลับมาหนึ่งขณะจิต หลังจากนั้นถ้ามันจะหลงก็ไม่ไปบังคับ เพราะจิตต่อไปมันก็สลับดวง เวลาทำวิธีนี้มาก ๆ จำนวนของจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวจะมากขึ้นเอง เป็นการสะสมพลังของจิตที่ถูกต้อง มันมารวมตัวกันเอง โดยเราไม่ต้องทำอะไรเลย" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร…
  continue reading
 
"ภาวนาไปจิตจะค่อยๆ เข้าใจ มันต้องใช้เวลาเรียนรู้ อย่าคิดว่านานเท่าไร ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติก็ได้นะ มันต้องสะสม แต่วันนี้มันเป็นก้าวแรกที่เราเริ่มต้น เมื่อมีก้าวแรก ก้าวที่ร้อยมันก็ถึง แต่เส้นทางนี้ เราไม่รู้ว่าก้าวที่เท่าไร มีแต่ว่าเราทำสะสมไปด้วยความอดทน 'อดทน' เป็นธรรมะที่ดีทั้งทางโลกและทางธรรม" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย 19 กุมภาพันธ์ 2566…
  continue reading
 
"จุดแรกของการนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมก็ตาม คุณต้องรู้ตัวก่อน รู้ตัวจริงๆ วันนี้ เราจะฝึกรู้ตัวนะ ฝึกรู้ตัวจริงๆ เอ้า! ตัวนี้นั่งอยู่ จะเดิน อยู่หัวจงกรม รู้ก่อนว่า ตอนนี้ยืนอยู่ เอาตั้งแต่จุด Start" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย 11 กุมภาพันธ์ 2566
  continue reading
 
"'อย่าลืมความสุข' พวกเราเวลาลงมือปฏิบัติจะลืมคำนี้ไป เราจะจริงจังกันมาก เพราะมีคำว่าต้องดี คำว่าต้องดีมันหลอกเรามากเลย เราไม่ต้องดี แต่ต้องไม่ชั่วเท่านั้นเอง จับหลักที่หลวงพ่อสอน มีสติรู้ตามความเป็นจริง ความเป็นจริงจะเป็นอะไรก็ได้ จะโมโห จะหงุดหงิด แต่ไม่ล้นออกไปเท่านั้นเอง" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย 28 มกราคม 2566…
  continue reading
 
"กรรมฐานเป็นเรื่องง่าย แต่พวกเราคิดเยอะ ทิฐิเยอะ เวลาเราจะภาวนา ก็ภาวนานิดๆ หน่อยๆ แล้วก็ไปคิดเอา ภาวนาอย่างไรจะถูก หาวิธีทำไปเรื่อยๆ มันไม่มีวันถูกหรอก แต่ถ้าเราจับหลักการภาวนาได้ เราค่อยๆ ทำไป พวกเราแต่ละคนมีอินทรีย์บารมีไม่เท่ากัน บางคนฝึกสติแป๊บเดียว มีสติมีสมาธิแล้ว ฝึกเดินปัญญาได้ บางคนฝึกสติตั้งนานหลายปี ถึงจะเกิด ตัวนี้อยู่ที่พื้นฐานของเราเ…
  continue reading
 
"สภาวะต่างๆ ทางกายหรือทางใจ ใช้ความรู้สึกไปรับรู้ การดูใจ ดูอาการทางกาย ดูอารมณ์ต่างๆ ดูสิ่งที่ถูกรู้ ใช้ความรู้สึกไปรับรู้ ไม่ต้องไปเพ่ง แค่รู้สึก ก็รู้เรียบร้อยแล้ว รู้ชัดหรือรู้ไม่ชัด ก็คือเห็นเท่ากัน ใจที่ไปรู้แทบไม่ต้องมีภาระ แค่รู้สึก แค่หัดรู้สึก ต้องหัดรู้สึก เราต้องการความรู้สึกที่ไร้เจตนา" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านจิตสบาย 4 กุมภา…
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน