Webmaster Podcast สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
Artwork

1
2 จิตตวิเวก

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Unsubscribe
Unsubscribe
รายสัปดาห์
 
รูปแบบการปฏิบัติธรรมทางวิทยุ (Guided Meditation) ฟังไปด้วย, นั่งสมาธิไปด้วย เพื่อทำจิตที่ประภัสสรให้ผ่องใส ด้วยการเจริญสมถวิปัสสนา นำธรรมะเข้าสู่จิตใจให้ชุ่มเย็นอ่อนเหมาะควรแก่การงาน. New Episode ทุกวันอังคาร เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
  continue reading
 
Artwork

1
3 ใต้ร่มโพธิบท

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Unsubscribe
Unsubscribe
รายสัปดาห์
 
เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
  continue reading
 
Loading …
show series
 
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกคนล้วนส่งความสุขให้กันและกัน ในตอนนี้จะกล่าวถึงสุขที่ควรเสพและไม่ควรเสพ เราต้องมีปัญญาที่จะแยกแยะได้ว่าสุขแบบไหนที่ควรเสพและไม่ควรเสพ พระพุทธเจ้าแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ความสุขที่เกิดจากมิจฉาทิฏฐิ คือความสุขที่เสพแล้วกิเลสเพิ่มขึ้น จิตใจชุ่มไปด้วยกาม ความสุขประเภทที่ไม่ควรเสพนี้มี 4 อย่างคือ 1.ความสุขที่เกิดจากการฆ่า …
  continue reading
 
ส่งความสุขโดยตั้งจิตระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เพื่อรับกระแสความเมตตา กรุณา ปัญญา ให้เข้าไปถึงจิต ให้จิตชุ่ม อิ่มเอิบ ยินดี กับพุทธคุณเก้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ถึงพร้อมด้วยความรู้และข้อปฏิบัติในการไปถึงความรู้นั้น เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลกทุกอย่างแจ่มแจ้ง ฝึกทุกท่าน ไม่มียกเว้น ให้บรรลุธรรม ไกลกิเลส เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป…
  continue reading
 
ในพุทธศาสนานี้มีผู้สอนเพียงผู้เดียว คือพระพุทธเจ้า พระองค์เป็นผู้ที่สามารถสอนได้อย่างดี อย่างงามและเมื่อนำคำสอนไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก็จะให้ผลที่ดีที่งามอย่างมาก ซึ่งความสามารถในการบอกสอนของพระพุทธเจ้าตรงนี้เรียกว่า ภควา คือเป็นผู้จำแนกแจกธรรม ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดยจะนำนัยยะต่างๆมากล่าวดังนี้ นัยยะที่1.คุณสมบัติของผู้แสดงธรรม…
  continue reading
 
พัฒนาจิตเพื่อให้เกิดปัญญาอันยิ่ง รอบรู้ กำหนดรู้ ขันธ์ทั้งห้า “รูป เวทนา สัญญา สังขารและ วิญญาณ” ว่า เป็นกองทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น แต่แท้จริงแล้วขันธ์ทั้งห้าไม่เที่ยง ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นทุกข์ หากแต่เมื่อเราพัฒนาจิตจนเกิดความรอบรู้ เกิดปริญญา กำหนดรู้ ว่าขันธ์ทั้งห้า ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ควรที่จะยึดมั่น ถือมั่น, เกิดปัญญ…
  continue reading
 
สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆ 5 ประการ 1.เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ คือต้องไตร่ตรองใคร่ครวญอยู่เป็นประจำ ตริตรึกด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ ด้วยศรัทธา จนเข้าไปสู่จิตใจ ถ้าพิจารณาสิ่งนี้อยู่เนืองๆ อานิสงส์ที่จะได้รับคือ จะทำให้ละความเพลินความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวได้ 2.เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ พ…
  continue reading
 
จิตมีความเป็นประภัสสร เศร้าหมองหรือผ่องใสได้ตามสิ่งต่างๆที่จรเข้ามา หากแต่การมีสติ จะช่วยแยกแยะ จิต ออกจาก สิ่งที่เข้ามา, มีสติอย่างต่อเนื่อง จะเกิด สมาธิ, สมาธิจะทำให้จิตมีพลัง, จิตมีพลังจะสามารถเลือกให้จิตเป็นกุศล ไม่เพลินไปกับอารมณ์ต่างๆ ไกลจากกิเลสมากขึ้นๆ, นั่นคือการทำจิตตภาวนา คือการพัฒนาของจิต พัฒนาต่อเนื่องๆ จิตจะอ่อนเหมาะ ควรแก่การไปใช้งาน…
  continue reading
 
การบูชา ที่มีสิ่งของประกอบในการบูชานั้น เรียกว่าอามิสบูชา และถ้าเจาะจงว่ามีผู้รับสิ่งของที่ให้นั้นจะเรียกว่า “ทาน” คือการให้ แต่ถ้าตั้งไว้เฉยๆโดยไม่มีผู้รับชัดเจน แต่หวังว่าจะมีผู้รับเรียกว่า “ยัญ” ในที่นี้จะกล่าวถึง การบูชายัญ โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ใน กูฏทันตสูตร เป็นการกล่าวถึงการบูชายัญที่ถูกต้องไว้กับกูฏทันตพราหมณ์ ลักษณะยัญที่มีองค์ประ…
  continue reading
 
บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นในภายใน เราต้องรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง ว่า ชีวิตเราจะเลือก ความสุขจากอะไรเป็นหลัก ความสุขมีสองแบบ อย่างแรกคือกามสุข สุขที่เกิดจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน เป็นความสุขทั่วๆไปที่เราได้รับผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสุขที่มีโทษมาก ประโยชน์น้อยเหมือน สุนัขแทะกระดูก ที่ไม่รู้จักอิ่มและไม่…
  continue reading
 
ในมุมมองของคนที่มักโกรธ พอโกรธหรือไม่พอใจใครแล้ว ก็จะมองคน ๆ นั้นด้วยความเป็นศัตรูทันที เขาจึงเห็นว่าความโกรธมีเพื่อที่จะทำให้ตนเองรู้สึกดี เพราะเขาจะมีความมุ่งหมาย 7 ประการนี้แก่ผู้เป็นศัตรู คือ 1) หวังให้เขามีผิวพรรณทราม 2) หวังให้เขาเป็นทุกข์ 3) หวังให้เขาไม่มีความเจริญ 4) หวังให้เขาปราศจากโภคทรัพย์ 5) หวังให้เขาปราศจากยศตำแหน่ง 6) หวังให้เขาปรา…
  continue reading
 
พรากกาย พรากจิต ดุจพระจันทน์บนฟ้า และ พระจันทน์บนผิวน้ำ เกี่ยวข้องกัน แต่ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน, แยกด้วยสติ โดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ สงบระงับ จนจิตเป็นสมาธิ หากแต่เมื่อมีสิ่งมากระทบ กายและจิตกลับรวมกันเป็นสิ่งเดียวกันได้อีก เพราะอวิชชา ความไม่รู้ ยึดโยงอยู่กับตัณหา, สิ่งเดียวที่จะแยกกาย แยกจิตได้ อย่างต่อเนื่อง คือ ปัญญา, ปัญญาที่เกิดจาก การเห็นควา…
  continue reading
 
ขันธ์ แปลว่า หมู่หรือกองของรูปกับนามที่แยกออกได้เป็น 5 กอง ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป, เวทนา ,สัญญา, สังขาร ,วิญญาณ จัดอยู่ใน “ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ และกิจที่ต้องทำคือ กำหนดรู้ทุกข์ การทำงานของขันธ์ 5 แต่ละขันธ์ เป็นการอาศัยกันและกันเกิดขึ้นของนามรูป และวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ -> ให้เกิดการปรุงแต่ง คือ สังขาร -> สัญญา -> เวท…
  continue reading
 
เกิดชัยชนะที่ไม่กลับแพ้ได้ ด้วยปัญญา พิจารณาว่า ทุกสิ่งใดๆในโลก ล้วนปรุงแต่ง มีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ให้เห็นว่าทุกสิ่งเป็นสมมุติ โดยเริ่มจาก มีสติ เกิดสมาธิ ทำจิตให้มีกำลัง เกิดปัญญา ใช้เป็นอาวุธ เพื่อตัด กิเลสตัณหา ที่เชื่อมยึดถือหรืออุปาทาน อยู่กับจิต โดยมี อวิชชาเป็นรากเหง้าอยู่ในจิต เมื่อเห็นตามความเป็นจริงในจิตว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นอนัตตา…
  continue reading
 
“ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐ คือ “ทุกข์” อุปาทาน (ความยึดถือ) ในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสุข หรือ ทุกข์ ต่างอาศัยเหตุเกิด ย่อมเป็นทุกข์ เพราะมีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ขันธ์ 5 คือ กองทุกข์ แบ่งออกได้เป็น 5 กอง ได้แก่ “รูป” คือ สิ่งที่แตกสลายได้ เปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้ “เวทนา” คือ ความรู้สึกท…
  continue reading
 
ทำไม ความคิดนึก จึงเป็นการภาวนาได้ เพราะมีสติ สัมปชัญญะ กำกับอยู่ในความคิดนั้น, ดังนั้นจิตจะถูกรักษา ให้คิดนึก ด้วยความระลึกรู้ คือมีสติ ด้วยความรู้ตัวรอบคอบคือมีสัมปชัญญะ นั่นคือมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วคือ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ สัมมาวายามะ พร้อมกันทั้งสามสิ่ง, เกิด สัมมาสังกัปปะ ปราศจากกาม พยาบาท เบียดเบียน, นำไปสู่ สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ดำรงอยู่…
  continue reading
 
การที่เราจะรู้จักใครสักคนอย่างดีพอนั้น… ไม่ใช่จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่น หรือ จากสิ่งที่เราได้ยินได้เห็นเพียงแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ นั้น แต่ต้องอาศัยเวลาในการอยู่ร่วมกันนานพอสมควร รวมถึงการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และปัญญา ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่พึงรู้ด้วยฐานะ เราจะรู้ได้ว่าบุคคลนั้น มีศีล สมาธิ และปัญญาจะพิจารณาได้จาก “ศีล” คือความปกติ พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วม…
  continue reading
 
เราจะศรัทธา ปฏิบัติตามสิ่งใด สิ่งนั้นต้องตรวจสอบได้ ต้องพ้นทุกข์ได้จริง โดยต้องประกอบด้วยมรรคมีองค์แปด ตลอดทางที่ดำเนินไป คือ มีศีล สมาธิ ปัญญา เริ่มจาก มีศรัทธา พร้อมปัญญา ว่าสิ่งนั้นตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เมื่อมั่นใจแล้ว ตั้งใจลงมือทำ ด้วยความเพียร มีสติ สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้น จะเห็นว่า ทุกๆสิ่ง ไม่เที่ยง มีเงื่อนไข ปัจจัยเกิดขึ้น มีทุกข์ ไม่ควรยึดถือ…
  continue reading
 
เหตุให้อายุยืน ได้แก่ 1. รู้จักทำความสบายแก่ตนเอง คือรู้จักสิ่งที่เป็นสัปปายะ รู้จักสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตน 2. รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย 3. บริโภคอาหารที่ย่อยง่าย รวมถึงการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดด้วย 4. ประพฤติเหมาะสมในเรื่องเวลา คือ ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลาอย่างสม่ำเสมอ เช่น นอนให้เป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ออกกำลังให้สม่ำเสมอเป็นเวลา 5. ประพ…
  continue reading
 
จิตที่ไหลไปตามกระแส สุขๆ ทุกข์ๆ ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่เกาะ ตามหาที่พึ่งไปเรื่อยๆ ขาดที่พึ่งที่แท้จริง หากแต่ เมื่อเรามี สติเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่ง จะไม่ยึดในเวทนาทั้งสุขและทุกข์, ระลึก รู้ตัว ในสิ่งต่างๆคือ มีสติปัฏฐานสี่เป็นที่พึ่งตลอด, อกุศลธรรมดับ กุศลธรรมเกิด ข้ามกระแสน้ำเชี่ยว ด้วยสติสัมปชัญญะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for mo…
  continue reading
 
“นิวรณ์ 5” กิเลสที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิประกอบด้วย 5 อย่างดังนี้ 1. กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ 2. พยาบาท คือ ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ 3. ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาความซบเซาเซื่องซึม, ความหดหู่ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟ…
  continue reading
 
“บางคนนั่งเฉย ๆ ไม่ได้ไปหาใครพูดกับใคร แต่เบียดเบียนคนอื่นได้ เบียดเบียนตัวเองได้ ตรงความคิดไง ตัวไม่ขยับแต่จิตมันขยับ” หยุดจิตให้ได้ อย่าให้จิตไหลไปตามผัสสะ ควบคุมจิตไม่ให้คิดเรื่องต่างๆ ด้วยสติ ด้วยลมหายใจ จิตสงบ ระงับ เกิดสัมมาสมาธิ, แล้วใช้ปัญญาพิจารณา จิต เดี๋ยวผ่องใส เดี๋ยวขุ่นมัว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามเหตุการปรุงแต่ง จะเห็น จิตก็ไม่เที่ยง เ…
  continue reading
 
ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่าให้พึ่งตน พึ่งธรรมนั้น หมายถึง พึ่งธรรมของพระองค์ ในตอนนี้จึงจะยกธรรมเป็นที่พึ่ง หรือคุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้ คือนาถกรณธรรม 10 ประการ มากล่าว ดังนี้ ศีล คือ ความประพฤติดีงามสุจริต รักษาระเบียบวินัย ผู้มีศีลถือว่าเป็นผู้มีที่พึ่งแล้ว พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งในธ…
  continue reading
 
เจริญสติโดยการพิจารณากาย ใช้กายเพื่อชำระจิต ให้เห็นกาย ตามความเป็นจริง ให้เห็นกายนี้ว่า เป็นทั้งสิ่งปฏิกูล และเป็นสิ่งไม่ปฏิกูล และให้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้น ทำอย่างต่อเนื่อง, จิตจะแยกออกจากกาย จิตไม่ไปยึดถือ ยึดมั่นในกายว่าเป็นตัวตนของเรา, กิเลสในจิต จะค่อยๆ หลุดออกไปๆ ด้วยความเพียร ในการพิจารณากายซ้ำๆ ปัญญาจะเกิดขึ้น Hosted on Acast. See acast.com/…
  continue reading
 
ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกในที่นี้จะกล่าวไว้ 2 กรณีคือ กรณีที่ 1 คือผู้ที่อยู่คนเดียวจะอยู่อย่างไรให้ผาสุกอยู่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็น 2 นัยยะ ได้แก่นัยยะที่ตรัสไว้กับภิกษุทั้งหลายว่า ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกคือ ฌาน 1/ ฌาน 2/ ฌาน3/ ฌาน4 / การทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ ส่วนนัยยะที่ 2 ได้ปรารภในคหบดีเจาะจงสำหรับผู้ครองเรือนไว้ คือโสตาปัต…
  continue reading
 
ระงับความคิด ด้วยการตั้งสติ ด้วยการระลึกสังเกตอยู่กับลมหายใจ สังเกตดูเฉยๆ ฝึกบ่อยๆจนเกิด สัมมาสติ จิตตั้งมั่นได้ ไม่ตามไปกับสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามา ไม่ตามความคิด อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ, จิตแยกออกจากความคิด ความรู้สึกได้มากขึ้น มากขึ้น, เกิดความสงบ ระงับ, จิตเริ่มเป็นสมาธิ เรียกว่าสัมมาสมาธิ, ใช้สัมมาสมาธิเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เชี่ยวชาญในความคิด แก้…
  continue reading
 
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมะไว้อย่างดีและรัดกุมรอบคอบไม่ละหลวม ในที่นี้จะนำธรรมมะที่กล่าวถึงวิธีคิดวิธีไตร่ตรองพิจารณาในแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อนำทางแห่งความสุขในปัจจุบัน โดยจะนำธรรมะหลายหัวข้อมากล่าวดังนี้ ประการแรก “โคตรมีสูตร” เป็นธรรมง่ายๆย่อๆที่พระพุทธเจ้าบอกแก่นางโคตรมี ที่ได้ขอข้อธรรมที่จะนำไปปฏิบัติเมื่ออยู่คนเดียว หลักเกณฑ์ที่พระพุทธเจ…
  continue reading
 
ตั้งสติให้มั่น ด้วยพุทโธ ธัมโม สังโฆ ประดิษฐานอยู่ในใจเราตลอดเวลา จิตตั้งมั่นขึ้นได้ ไม่ไหลไปตามผัสสะที่เข้ามา เราจะมีความสุขเย็น ที่เกิดจากความสงบ ระงับ จากภายใน เกิดสติสัมสัมปชัญญะ จิตมีกุศลธรรมเกิดขึ้น มีเมตตา กรุณา อกุศลธรรมลด เบาบางลง มีความเพียร กล้าในการเผชิญหน้า แผ่เมตตาใหญ่ออกไป ความกังวลใจหายไป จากการมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เ…
  continue reading
 
บางครั้ง..คนเรานั้น ก็มักจะสับสนในธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กัน คล้ายๆ กัน จนแยกไม่ออกว่า “ ผลผลิตของธรรมนั้นจะให้ผลออกมาอย่างไร ” จึงขอยกธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กันขึ้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในความหมาย และคุณลักษณะของธรรมนั้นๆ อย่างแยบคาย และเพื่อก่อให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิไปสู่พระนิพพานได้ โดยธรรมที่หยิบยกมานี้ เมื่อพิจารณา…
  continue reading
 
สังโฆคือผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้ง ให้เราระลึกถึงคุณของสังโฆ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลก เห็นทุกข์ คือเห็นธรรม เข้าใจอริยสัจสี่ เหมือนปัจจันตนครที่มีเครื่องป้องกัน โดยมีนายทวารที่ฉลาด คือ มีสติ เพื่อแยกแยะไม่ให้อกุศลจิตแทรกผ่านประตูเข้ามา อนุญาตให้เฉพาะคู่ราชฑูต คือ สมถและวิปัสสนา ถือสาสาส์นเรื่องการเห็นตามความเป็นจริงคือนิพพาน สู่เจ้าเมืองหรือวิญญ…
  continue reading
 
พระพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งภัยในโลกนี้ไว้ 2 อย่างคือ ภัยที่ช่วยเหลือกันได้ และภัยที่ช่วยกันไม่ได้ 1.ภัยที่พอช่วยเหลือกันได้ ได้แก่ 1.ภัยน้ำท่วม 2.ภัยเกิดจากไฟไหม้ 3.ภัยเกิดจากโจรขโมยและสงคราม ภัยเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังพอช่วยเหลือให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ตามสถานการณ์ 2.ภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ถึงแม้จะเป็น พ่อ แม่ ลูก ที่รักและห่วงใยกันแค…
  continue reading
 
รู้ลมแล้วจินตนาการไปในพุทธะ นึกถึงเหตุการณ์หลังการตรัสรู้ ครั้งที่สหัมบดีพรหมเกิดความร้อนใจ มานิมนต์ให้พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรม จินตนาการแล้วก็ไม่ลืมลม เป็นการเจริญทั้งพุทธานุสสติและอานาปานสติไปพร้อมกัน ทำให้เกิดความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เดินไปตามทางอันประเสริฐ เส้นทางเดียวกับพระพุทธเจ้า เราเดินตามท่านไป ตริตรึกใคร่ครวญตามไป เกิดสัม…
  continue reading
 
ธรรมะที่ช่วยประสานประโยชน์ให้เกิดความสามัคคี ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ให้เกิดความสงเคราะห์กัน เข้าใจกันลงกันได้ สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม หมวดธรรมที่ว่านี้นั่นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” อันประกอบไปด้วย 1. ทาน คือ การรู้จักให้ รู้จักเสียสละ การเผื่อแผ่ แบ…
  continue reading
 
ก่อนปฏิบัติธรรมถอดหัวโขนทั้งทางกาย วาจา ใจ และเมื่อมีผัสสะมากระทบอายตนะ 6 รับรู้ได้อยู่คือวิญญาณทั้ง 6 ทั้งส่วนกายและใจ มีเครื่องทดสอบว่าจะกำหนดความคิดให้หลีกออกจากวิตกทั้งสาม คือกามวิตก พยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตกได้หรือไม่ ถ้ามันจะเกิดขึ้นในช่องทางใจของเรา จงหยุด จงถอยกลับ ไม่เอาเข้าไป ต้องรู้จักใคร่ครวญแยกแยะให้เข้าได้เฉพาะกุศลธรรม จะแยกแยะได้ต้องม…
  continue reading
 
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง หลักคำสอนและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ สรุปเป็นใจความสำคัญว่าไว้ 3 ขั้น คือ ให้ละเว้นความชั่ว ให้ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ นี่คือเส้นทางที่จะนำไปสู่ทางหลุดพ้นได้ ซึ่งในครั้งนี้จะกล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นขั้นของการชี้แนวทางแห่งโลกุตระ นั่นคือเบญจศีลและเบญจธรรม เบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน คนที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล…
  continue reading
 
สังกัปปะ กับ วิตก เป็นความคิดเหมือนกัน แต่มีธรรมชาติที่ต่างกัน คือถ้าเราต้องน้อมจิตเรียกว่าความคิดตริตรึกหรือวิตก แต่ถ้าความคิดโผล่ขึ้นมาเรียกความคิดนี้ว่าสังกัปปะหรือความดำริ ทั้ง 2 ประเภท มีทั้งคิดในทางกุศลหรือสัมมา และอกุศลหรือมิจฉา เราต้องฝึกตริตรึกไปในทางที่ละกาม พยาบาท และเบียดเบียน เพื่อให้เกิดความดำริหรือสังกัปปะที่เป็นกุศล นี่เป็นการทำงานร…
  continue reading
 
คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงบัญญัติไว้ถึง ‘กถาวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ควรพูด นอกเหนือจาก คำพูดที่เว้นขาดจากการพูดโกหก ส่อเสียด หยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ และ ‘อักโกสวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีประโยชน์ และทำความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ผู้อื่น ได้แก่ ชาติกำเนิด ชื่อ โคตร อาชีพ ศิลปะ (ฝีมือ) โรค รูปพรรณสัณฐาน กิเลส อาบัติ และคำสบประมาทอื…
  continue reading
 
ความตายจะเป็นจุดสูงสุดของความทุกข์ที่เราต้องเจอ ต้องเข้าหาระลึกถึงความตายอย่างถูกต้อง เตรียมตัวตาย โดยเข้าใจว่าความตายเกิดขึ้นกับตัวเราแน่ และให้ได้ประโยชน์จากความตาย คือเจริญมรณานุสติ จะเกิดอานิสงส์ใหญ่เป็นธรรมที่ลงสู่อมตะ คือความไม่ต้องตายอีก ทำได้โดย ปล่อยวางในสิ่งของรักของหวง ละความยึดถือตัวตนซึ่งเป็นแค่ธาตุทั้งสี่ ละความอยากได้ หลังความตายเอาอ…
  continue reading
 
คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่ใช้สวดในงานศพ ได้แก่ 1.ธัมมสังคณี 2.วิภังคปกรณ์ 3.ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6.ยมกปกรณ์ และ 7.มหาปัฏฐาน โดยบทสวดมหาปัฏฐาน เป็นบทสวดที่กล่าวถึง ปัจจัย 24 ประการที่แสดงความเป็นไปของสภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน หรือเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไขให้สิ่งอื่น หรือสภ…
  continue reading
 
คิดเป็นระบบด้วยการพิจารณาโดยอาศัยปัจจัย 4 เป็นพื้นฐาน เริ่มจากเครื่องนุ่งห่มให้พิจารณาว่าจะใส่เพื่ออะไร ดังนี้ ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ หมายถึงการพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงนุ่งห่ม. ถัดไปเป็นอาหารพิจารณาเพื่อไม่ให้เกิดเวทนาใหม่หรือระงับเวทนาเก่า พินิจเพ่งจดจ่อ มีสติ ไม่เผลอเพลิน ไม่ยึดติดเกิดความหวง ปัจจัยที่ 3 คือ เสนาสนะ พิจารณาการเข้าสู่เ…
  continue reading
 
การจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ ต้องอาศัยความตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้า ในทีฆนิกาย กล่าวถึง ‘อธิษฐาน’ ซึ่งไม่ใช่การร้องขอ แต่หมายถึง ธรรม 4 ประการ ที่ควรตั้งมั่นไว้ในใจ ได้แก่ ปัญญา (ใช้พิจารณา) สัจจะ (ทำให้เกิดขึ้นจริง) จาคะ (สละความเคยชินที่ไม่ดีออก) และอุปสมะ (ความสงบ) ซึ่งสัมพันธ์กับหมวดธรรมในอังคุตรนิกาย ที่กล่าวถึง ‘พละ 4’ คือ กำลั…
  continue reading
 
คิดให้เป็นขณิกสมาธิด้วยการระลึกถึงพุทธประวัติ โดยจินตนาการเป็นภาพพระโพธิสัตว์ทำความเพียรไล่ตั้งแต่จากดงคสิริสู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา ความระลึกได้ถึงความสงบที่เคยพบครั้งเป็นเด็กที่เกิดจากการวิเวกกายวิเวกจิตจนเกิดปิติสุข จึงพบทางสายกลาง เพราะคิดจึงรู้ ตัวเราเองคิดนึกตามจนสามารถเกิดปิติสุขมีความสบายใจแบบนั้นได้หรือไม่ สามารถพยากรณ์วาระจิตตนได้หรือไม่ ถ้าไ…
  continue reading
 
ปาฏิปุคคลิกทาน 14 อย่าง คือทานที่ให้จำเพาะบุคคล เรียงตามอานิสงส์ที่ได้จากน้อยไปหามากได้ดังนี้ - ให้ทานแก่สัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐ เท่า - ให้ทานแก่ผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑,๐๐๐ เท่า - ให้ทานแก่บุคคลผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐ เท่า - ให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนาพุทธ ที่ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐โกฏิ เท่า…
  continue reading
 
ธรรมะบทแรก ‘ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร’ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นปฐมเทศนากับภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ท่านทรงสอนไว้อย่างไร ใคร่ครวญธรรมในธรรมในคำสอนของ ‘พุทธะ’ ว่าอะไรคือหลักคำสอนที่มีความสำคัญสูงสุด เป็นความจริงอันประเสริฐ อะไรคือสิ่งที่แล่นไปดิ่งไปสุดโต่ง 2 อย่างที่ไม่ควรข้องแวะ อะไรคือขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่เมื่อทำกิ…
  continue reading
 
บทสวดที่นิยมสวดในงานทำบุญบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับนั้น มักจะมีเนื้อหาที่กล่าวให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้เกิดการปล่อยวาง ให้เห็นถึงความสังเวช ปลงได้ ให้เห็นถึงความละเอียดลงไป ให้เห็นถึงอริยทรัพย์จะมีบทหลักๆที่สวดอยู่ประมาณ 3-4 บท ในที่นี้จะกล่าวถึงบทหลักๆ 4 บท โดยบทสวดทั้ง 4 นี้มีทั้งที่เป็นคาถาและพระสูตร คือ ปัพพโตปมคาถา เป็นคาถาที่กล่าวถึงภูเขาหิ…
  continue reading
 
พิจารณานามรูปตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดปัญญา มี 7ประการ ดังนี้ ประการที่ 1 นามคือความรู้สึกที่เรารับรู้ทางวิญญาณได้ รูปคือธาตุ4ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟและลม ประการที่ 2 นามรูป มีเหตุเกิดจากวิญญาณ ซึ่งมาจากการมีสฬายตนะ ประการที่ 3 ความดับของนามรูปคือ ต้องดับวิญญาณ ประการที่ 4 องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับของนามร…
  continue reading
 
เนกขัมมะ ธรรมข้อสุดท้ายในอนุปุพพิกถาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามลำดับเพื่อเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระได้ ‘เนกขัมมะ’ หมายถึง การหลีกออกจากกาม ได้แก่ ฌานสมาธิในขั้นต่างๆ การจะทำให้จิตน้อมไปในทางหลีกออกจากกามได้นั้น ต้องฝึกจิตให้พิจารณาเห็นบ่อยๆ ถึงคุณและโทษของกามว่า มีคุณน้อยแต่โทษมากขนาดไหนเมื่อเทียบกับเนกขัมมะที่มีคุณมากแต่โทษน้อยนิดเดียว อย่างไรก็ตาม…
  continue reading
 
บุคคลที่มีการสำรวมระวังนี้ได้ชื่อว่า ไม่ประมาท ตื่นอยู่ เริ่มต้นด้วยการตั้งสติตามทางสติปัฏฐาน4 โดยใช้พุทโธเป็นเครื่องมือให้เกิดสติ เรียกว่าเจริญพุทธานุสติ แต่ยังมีความคิดนึกผ่านทางช่องทางใจ ดังนั้นต้องมีการสำรวมระวังจากสติที่ตั้งขึ้น จิตสงบระงับลง ปรุงแต่งทางกายวาจาใจเบาบางลง ราคาโทสะโมหะระงับลง แม้คำว่าพุทโธก็หายไป เหลือแต่จิตที่อยู่กับธรรมารมณ์ใน…
  continue reading
 
กามโภคีบุคคล:บุคคลผู้บริโภคกาม เป็นผู้ที่ยังอยู่ในกระแสโลกจะเป็นผู้ที่ถูกบีบคั้นด้วยกามเสมอ ในการกล่าวถึงเรื่องของทางโลกนั้นก็ใช้คำว่ากามมาอธิบายเป็นหลักโดยในที่นี้จะกล่าวถึง กาม 2 อย่าง กาม 5 อย่าง และกามโภคีบุคคล 10 อย่าง กาม 2 อย่างได้แก่ 1.กิเลสกาม 2.วัตถุกาม กาม 5 อย่าง คือ กามคุณ 5 ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี 5 อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส และ…
  continue reading
 
สมถะวิปัสสนาเป็นธรรมที่คู่กัน เจริญโดยใช้อานาปานสติ สมถะที่เมื่ออบรม ทำให้มากแล้วจิตจะเจริญ ไม่คล้อยเคลื่อนไปตามอารมณ์ ละราคะโทสะโมหะได้ แต่ก็ยังกำเริบได้ จิตต้องมีความเพียรต้องด้วยองค์ประกอบ 7 ประการ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ จึงมีกำลังขึ้น จิตเป็นสมาธิ วิปัสสนาเกิดเริ่มจากการโยนิโสมนสิการคิด…
  continue reading
 
สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมีหรือความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ คือ กามโภคีสุข 4 ได้แก่ 1.อัตถิสุข : ความสุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม 2.โภคสุข : ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยง…
  continue reading
 
กำหนดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งจากทุกข์ นั่นคือขันธุ์ 5 ว่ามีสภาวะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเงื่อนไขปัจจัย ไม่เที่ยง ให้ละเสีย ไม่ควรยึดถือ เริ่มจากวิญญาณการรับรู้ ไม่เพลินไปตามอารมณ์ มีสติ สังเกตและวิริยะ ดำเนินตามระบบแห่งความเข้าใจที่ถูกหลัก หมายถึงระบบของความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ทุกข์ที่เราต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแท้คืออภิญญา สมุทัยคือเหตุเกิดทุกข์ต้อ…
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน

ฟังรายการนี้ในขณะที่คุณสำรวจ
เล่น