Comedy News สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
Artwork

1
หลบมุมอ่าน

Thai PBS Podcast

Unsubscribe
Unsubscribe
รายสัปดาห์
 
"เพราะหนังสือไม่ได้มีไว้ให้หลบมุมอ่านคนเดียว" พื้นที่สำหรับคนชอบอ่านและชอบแชร์ ที่จะทำให้คุณไม่ต้องไปหลบมุมอ่านหนังสืออยู่คนเดียว ชวนมาฟังและสร้างแรงบันดาลใจในการอ่านไปด้วยกันกับ นงค์ลักษณ์ บัทเลอร์
  continue reading
 
Loading …
show series
 
หนังสือนิยายเรื่อง “Champagne Supernova และการฆ่าตัวตายครั้งสุดท้ายของชาลี” งานเขียนของ พิชา รัตนานคร ซึ่งเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปี 2567 ได้พาผู้อ่านมองชีวิตของคนธรรมดาคนหนึ่งซึ่งเป็นตัวประกอบของสังคม เรามองเห็นเรามองข้ามเขาไปบ้างไหม อะไรคือมูลเหตุของการฆ่าตัวตายเชิงสัญลักษณ์ การปฏิวัติอุตสาหกรรมสมคบคิดกับระบบทุนนิยมและส่งผลต่อผู้คนอย่างไร ฟังเร…
  continue reading
 
วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเรื่อง “แม่บ้าน on the Move: สังคมคนเมืองกับอาชีพคนทำงานบ้านอิสระ” ของ ญาดา ช่วยจำแนก มหาบัณฑิตคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอให้เห็นปรากฏการณ์และข้อค้นพบของอาชีพแม่บ้านผ่านชีวิตผู้หญิงในสังคมไทยที่เข้ามาทำงานในเมืองหลวงนับตั้งแต่ทศวรรษ 2500 ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ที่พักอาศัยจา…
  continue reading
 
คุณเกม สิทธิโชค ศรีโช ผู้ก่อตั้งและผู้สร้างสรรค์เนื้อหาในเพจ #กอดบ้านไผ่ สู่งานเทศกาล #บ้านไผ่พู้นเด้ จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน ถึงประสบการณ์ทำงานเป็นบรรณาธิการนิตยสาร, การขับเคลื่อนบ้านเกิดที่อำเภอบ้านไผ่เพื่อแบ่งปันปัญญาและมิตรจิตมิตรใจมอบให้กัน รวมถึงนำเสนอความเปลี่ยนผ่านของพื้นที่ในทุกมิติ, แรงบันดาลใจจากบุคคลต้นแบบในชีวิตและจากหนังสือชื่อ …
  continue reading
 
ผลงานนิยายสามเรื่องของ #ลาดิด หรือ #LADYS ได้แก่ #พัทยาและมาหยา #คุณเคนต์และข้าพเจ้า (Ms.Kent&Me) และ #อันกามการุณย์ ต่างนำเสนอน้ำเสียงของนักเขียนพร้อมกับประเด็นร่วมสมัยอย่างเรื่องอัตลักษณ์และมิติทางเพศของตัวละคร รวมถึงการต่อรองอำนาจว่ามีผลต่อความสัมพันธ์อย่างไร #หลบมุมอ่าน ชวน #ลาดิด #LADYS นักเขียนเจ้าของผลงานทั้งสามเรื่องมาร่วมพูดคุยถึง การตัดสิ…
  continue reading
 
#สิ้นแสงดาวแดง เป็นเรื่องราวของคนหนุ่มสาวหมวกซาลาเปาในพื้นที่เขตงานภาคใต้ตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานีในช่วงปี พ.ศ. 2508-2525 ผู้เขียนนำเสนอให้เห็นว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรในสังคมของพวกเขานอกเหนือไปจากอุดมการณ์ทางการเมือง อย่างเรื่องชีวิตของสหายมวลชน ภูมิประเทศอันอุดมสมบูรณ์ อาหารการกินของคนในค่าย การให้การ…
  continue reading
 
#ซีไรต์ - รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 ซึ่งก่อตั้งโดยประเทศไทย เพื่อมอบรางวัลให้แก่นักเขียนจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทำงานเขียนประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ โดยในแต่ละปีจะกำหนดการมอบรางวัลให้อย่างละประเภท ซึ่งปี พ.ศ. 2567 เป็นรอบของงานเขียนประเภทนวนิยาย และนิยายเรื่อง #กี่บาด ผ…
  continue reading
 
#กี่บาด นวนิยายวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน ( #ซีไรต์ ) ประจำปี 2567 ของ ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด เล่าเรื่องของ #แม่หญิง ช่างทอผ้าแม่แจ่มสามรุ่นที่ผูกพันกับการทอผ้า ที่ต้องต่อสู้ รักษา และส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมคือการทอผ้าไปยังคนอีกรุ่นของครอบครัว รวมถึงการต่อรองอำนาจกับเพศสภาพ จารีต และความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่องว่ามี #กี่บาดแผล #หลบมุม…
  continue reading
 
#ห้องสมุดผีเสื้อ จังหวัดศรีสะเกษ ก่อตั้งโดย หทัยรัตน์ สุดา (อ้อ) ผู้ซึ่งทำพื้นที่สาธารณะเล็ก ๆ ในบ้านให้เกิดประโยชน์ในด้านการศึกษาแก่เด็กและคนอื่น ๆ ผ่านหนังสือ การอ่าน การสนทนา การเรียนรู้รอบตัว การพัฒนาและการสร้างแรงบันดาลใจ มาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 9 ปี #หลบมุมอ่าน ชวน “อ้อ” หทัยรัตน์ มาร่วมพูดคุยถึงที่มาและแรงบันดาลใจในการทำห้องสมุดผีเสื้อ พื้นท…
  continue reading
 
#ลำนำจ้าวสังเวียน เป็นหนังสือวรรณกรรมเยาวชนที่นำเสนอภาพวัยเด็ก จินตนาการ ความแฟนตาซีของสัตว์อย่างวัวชนและนกเขาชวากับต้นไม้ รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการต่อสู้ของวัวชน หนังสือเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัลชมนาด ครั้งที่ 13 ปี 2567 #หลบมุมอ่าน ชวน “ดารัช” นามปากกาของ วิชุดา ราชพิทักษ์ เจ้าของผลงาน ลำนำจ้าวสังเว…
  continue reading
 
Learning Field Studio (LFS) สนามเรียนรู้ที่ก่อตั้งโดย อุ้ย-นวนันท์ ประทุม ผู้เป็นทั้งนักอ่าน นักเขียน กระบวนการที่ใช้หนังสือ การอ่าน ศิลปะ และการหยิบจับสิ่งที่มีในชีวิตประจำวันมาใช้ในการออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงการอ่านของตัวเองไปยังความเป็นชุมชน ความเป็นวัฒนธรรม ความเป็นสังคม และระบบนิเวศในธรรมชาติ #หลบมุมอ่าน ชวน อุ้ย นวนันท์ ประ…
  continue reading
 
นญีบ อาห์มัด ผู้เขียนชุดเรื่องเล่า #เกิดบนเรือนมลายู กล่าวไว้ตอนหนึ่งใน #หลบมุมอ่าน ว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอวัฒนธรรมท้องถิ่นของสามจังหวัด (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) กับประวัติศาสตร์ของยุคใกล้ก่อนปี 2547 เป็นประวัติศาสตร์สังคมและเป็นเรื่องที่ไม่มีใครพูดถึง #หลบมุมอ่าน อีพีนี้จึงอยากชวนผู้ฟังขึ้นเรือนมลายู โดยมี นญีบ อาห์มัด เป็นผู้มาเล่าประสบการณ์และ…
  continue reading
 
ในปี 2567 ร้านหนังสือ Little lovely bookshop ในจังหวัดลำปาง ได้เปิดดำเนินการมาเป็นปีที่ 11 #หลบมุมอ่าน จึงชวน คุณพงษ์ประสิทธิ์ พงษ์พิจิตร ผู้ก่อตั้งร้าน มาร่วมพูดคุยถึงการทำร้านหนังสือในคลินิกรักษาสัตว์ การปรับตัวและการบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของสื่อสิ่งพิมพ์ โลกออนไลน์ ซึ่งส่งผลต่อการมีอยู่ของร้านหนังสือ และการจัดกิจกรรมเพื่อให้ร้านเป็นพื้นท…
  continue reading
 
การผลักดันหนังสือไทยไปยังต่างแดนผ่านการขายลิขสิทธิ์ ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนต้นทางกับผู้คนปลายทางผ่านงานเขียนเพื่อสร้างการเรียนรู้ทางด้านสังคมวัฒนธรรม #หลบมุมอ่าน ชวน วสุรีย์ พิศุทธิ์สินธพ ผู้บริหารและรับผิดชอบการตลาดในการซื้อ-ขายลิขสิทธิ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ, อนุกรรมการ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) …
  continue reading
 
หนังสือ “ด่าน ถนน คนบนพรมแดน: โครงสร้างพื้นฐานชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน” ผลงานของ ผศ.ดร. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล นำเสนอให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ชุมชนกับความสัมพันธ์ข้ามพรมแดน, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบนสองฝั่งชายแดน, โครงสร้างพื้นฐานละมุน: ความมั่นคงของชาติกับการจัดการชายแดน #หลบมุมอ่าน ชวน ผศ.ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล มาพูดคุยถึง ด่าน ถนน คนบนพรมแดน …
  continue reading
 
“100 Acre Books & Café: ร้านหนังสือเล็ก ๆ ที่มีชื่อใหญ่ที่สุดในโลก” ซึ่ง “กี้” นราทิพย์ นาถาดทอง และ “เกม” สุทธิพงษ์ แก้วอามาตย์ สองผู้ก่อตั้งร้านตั้งใจให้เป็นมากกว่าร้านหนังสือ เพราะที่นี่ยังมีมิตรภาพ ผู้คน และร่องรอยการอ่านของทั้งคู่ #หลบมุมอ่าน จะพาผู้ฟังเดินเข้าไปทำความรู้จักกับพิพิธภัณฑ์การอ่านในห้องหนังสือสะสมของ “กี้&เกม” การบริหารจัดการร้าน…
  continue reading
 
เรื่องเล่าของแม่นับเป็นหนังสือเสียงเล่มแรกในชีวิตของ จรัญ มาลัยกุล หัวหน้าโครงการอ่านสร้างชาติ มูลนิธิกระจกเงาและหนังสือที่เขาอ่านในวัยหนุ่มสมัยเป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จุดประกายและสร้างตัวตนของเขามาจนทุกวันนี้ โครงการอ่านสร้างชาติ เป็นโครงการที่มีส่วนในการสร้างระบบนิเวศและวัฒนธรรมการอ่านผ่าน #มหกรรมหนังสือเล่มละบาท #สำนักพิมพ์กระจกเงา #ห้องสมุ…
  continue reading
 
ธนกร การิสุข นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน เพื่อพาผู้ฟังย้อนกลับไปสำรวจจังหวัดมหาสารคาม ช่วงต้นทศวรรษ 1960 ผ่านสายตาและมุมมองของ ฟรานซิส คริปส์ (Francis Cripps) ผู้เขียนหนังสือ The Far Province หรือ #สภาพอีสาน แปลเป็นภาษาไทยโดย ตุลจันทร์ (จันทร์แจ่ม บุนนาค) จากนั้น ธนกร…
  continue reading
 
#Patani Book Club พื้นที่ของคนรักการอ่านในจังหวัดปัตตานี ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจมีส่วนร่วมในการนำหนังสือมาพูดคุยแลกเปลี่ยนและการออกแบบกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการอ่าน #หลบมุมอ่าน ชวน อารีฟีน โสะ แห่ง Patani Book Club มาร่วมพูดคุยถึงที่มาและแรงบันดาลใจในการสร้างกลุ่ม ร้านหนังสือในจังหวัดปัตตานี เพื่อน ๆ ที่มารวมกลุ่มกันอ่านอะไรกันบ้าง ร…
  continue reading
 
#พระจันทร์เดือนกันยา นวนิยายเรื่องแรกของ กันย์นรา พิชาพร (นามปากกาของ สุพร นราพิชญ์) ที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของผู้หญิงชาวจีนในฐานะลูกสาว ลูกสะใภ้ และแม่เลี้ยงเดี่ยว ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ พ.ศ.2496 จนถึง พ.ศ. 2563 ระยะ 67 ปีของชีวิตและประสบการณ์ที่ดำเนินไปพร้อมกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของครอบครัวชาวจีน #หลบมุมอ่าน ชวนนักเขียนเจ้าของผลงานมาพูดถึงเส้นทางก…
  continue reading
 
อาจารย์วรเชษฐ เขียวจันทร์ นักวิชาการอิสระด้านมานุษยวิทยา นักเขียน เจ้าของสำนักพิมพ์ วิทยากร และผู้ก่อตั้ง “Book Towns หนังสือเปลี่ยนเมือง” จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน เกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการส่งต่อการอ่านในส่วนภูมิภาคที่จังหวัดพัทลุงและจังหวัดปัตตานี รวมถึงหนังสือเล่มที่เปลี่ยนชีวิตในช่วงวัยเด็กและช่วงศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อาจารย์วรเ…
  continue reading
 
ผศ.ดร.วราภรณ์ ฉัตราติชาต อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยแลกเปลี่ยนของ LABOUR Project มาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน และพาผู้ฟังไปทำความรู้จักมอลโดวาจากการเป็นนักวิจัยที่นั่น ผ่านพิพิธภัณฑ์วรรณกรรม นักเขียน/ผลงานของนักเขียน ห้องสมุด และร้านหนังสือ ซึ่งสะท้อนประวัติศาสตร์ของมอลโดวาจากมุมมองที่หลากหลาย สามารถอ่านบันทึกจากต่าง…
  continue reading
 
ธนกร การิสุข นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน เกี่ยวกับความสนใจในประเทศเวียดนาม การเดินทางครั้งล่าสุดของเขาในเมืองเดียนเบียนฟู การไปเยือนพิพิธภัณฑ์ชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์แห่งเดียนเบียนฟู เรื่องราวในวาระครบรอบ 70 ปี สมรภูมิเดียนเบียนฟู (7 พฤษภาคม 1954-7 พฤษภาคม 2024) หนังส…
  continue reading
 
#เฟมินิสต์แบบบ้านๆ หนังสือความเรียงประสบการณ์ในช่วงชีวิตของคนทำงานทางสังคมของผู้เขียนคือ จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวตั้งแต่วัยเด็ก วัยเรียน และวัยทำงาน สะท้อนให้เห็นถึงการถูกบ่มเพาะจากแม่ เรียกได้ว่า #เฟมินิสต์เริ่มต้นจากที่บ้านของแท้ ต่อมาเมื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย การทำกิจกรรมร่วมกับรุ่นพี่และเ…
  continue reading
 
งามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ผู้มีความสนใจพม่า (เมียนมา) และใช้หนังสือเป็นหนึ่งในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของพม่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน ผ่านหนังสือแปลสามเล่ม ได้แก่ ร้าวรานในวารวัน (The Glass Palace) ของ Amitav Ghosh, พม่ารำลึก (Burmese Days) ของ George Orwell และ เปียโนจูนเนอร์ (The…
  continue reading
 
บริษฎ์ พงศ์วัชร์ ผู้ก่อตั้งร้านหนังสือ SOMEWHERE BOOKSHOP นักเขียนเจ้าของผลงานเรื่อง “WALTZ เต้นรำในวอดวาย” และเรื่อง “SOMEWHERE BOOKSHOP” จะมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการเติบโตทางการอ่านของเขาท่ามกลางหนังสือของคุณพ่อและคุณแม่ การใช้หนังสือเป็นสะพานเพื่อไปหาคนอื่นๆ การทำให้หนังสือ/การอ่านเชื่อมโยงกับผู้คนผ่านร้านหนังสือ SOMEWHERE BOOKSHOP ที่ทำให้คุณคนอ่…
  continue reading
 
อานนท์ ชวาลาวัณย์ ผู้ก่อตั้ง #พิพิธภัณฑ์สามัญชน ซึ่งเขาเรียนทางด้านประวัติศาสตร์ เป็นคนชอบเที่ยวพิพิธภัณฑ์ และสนใจการเมือง จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน ถึงที่มาของการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบออนไลน์, เรื่องเล่าจากสิ่งของจัดแสดงอย่างสื่อสิ่งพิมพ์, มิติวิถีชีวิตทางการเมืองของผู้คน, การทำแหล่งเรียนรู้และมิวเซียมอิสระภายใต้ข้อจำกัดของผู้ก่อตั้งเพื่อเป…
  continue reading
 
สมาน อู่งามสิน นักสะสมหนังสือ มาร่วมพูดคุยกับหลบมุมอ่าน เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และอิทธิพลของหนังสือ “โฉมหน้าศักดินาไทย” ผลงานของ จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่เขาอ่านจบในวันเดียว ต่อมาเขาและเพื่อน ๆ ได้ก่อตั้งห้องสมุดที่บ้านของเพื่อนเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนทางความคิด การอ่านที่หลากหลายจึงนำไปสู่การสะสมหนัง…
  continue reading
 
หนังสือ “ปาตานี ฉบับ ชาติ(ไม่)นิยม” ผลงานของ วันอิฮซาน ตูแวสิเดะ ซึ่งผู้เขียนพัฒนามาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อ “ปาตานีภายใต้ความเคลื่อนไหวทางการเมือง ค.ศ.1808-1909” #หลบมุมอ่าน ชวน วันอิฮซาน ตูแวสิเดะ ผู้เขียนมาร่วมพูดคุยถึงการศึกษาค้นคว้า ที่มาของวิทยานิพนธ์และพัฒนามาเป็นหนังสือ ซึ…
  continue reading
 
“รถไฟขนเด็ก” ผลงานของ วิออลา อาร์โดเน นักเขียนชาวอิตาลี แปลจากภาษาต้นฉบับเป็นไทยโดย นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ งานเขียนเรื่องนี้มีฉากหลัง บริบททางสังคม ความเป็นอยู่ของผู้คนในช่วงฟื้นตัวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของประเทศอิตาลี ซึ่งในช่วงระหว่างปี 1945-1952 พรรคคอมมิวนิสต์ของอิตาลีได้จัดรถไฟขบวนพิเศษขนเด็กจำนวนมากกว่า 70,000 คนจากภาคใต้ของประเทศไปยังภาคเหน…
  continue reading
 
หลบมุมอ่านต้อนรับ #PrideMonth ชวน อาทิตยา อาษา ผู้ประสานงานเครือข่ายทอม ผู้ชายข้ามเพศ นอนไบนารี่ เพื่อความเท่าเทียม ( #TransEqual ) มาร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ ผู้ชายข้ามเพศในกระบวนการเคลื่อนไหว LGBTIQAN+, การทำงานของกลุ่ม TransEqual เพื่อสร้างเครือข่ายของคนมีเพศกำเนิดเป็นผู้หญิงแต่ไม่ได้รับรู้ตัวตนว่าตัวเองเป็นผู้หญิงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค, ปร…
  continue reading
 
นวนิยายเรื่อง “กี่บาด” ผลงานของ ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด เป็นงานเขียนที่บอกเล่าเรื่องราวทั้งรักและร้าวของครอบครัวช่างทอผ้าอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ แต่ละตอนในเรื่องตั้งชื่อตามลายซิ่นตีนจกแม่แจ่มซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาอย่างยาวนาน นักเขียนนำแต่ละลายร้อยเรื่องผูกปม ผนวกกับประวัติศาสตร์พื้นที่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเชียงใหม่ หัวใจของเรื่องคือการนำเสน…
  continue reading
 
นิทานพื้นบ้านเรื่อง “สินไซ” เป็นมรดกทางวรรณกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและในสาธารณรัฐประชาชนลาว มีการจารึกเป็นฮูปแต้ม (ภาพวาด) ในสิม (โบสถ์) ซึ่งปัจจุบันพบว่าฮูปแต้มบางส่วนในวัดเลือนรางไปตามกาลเวลา ความเสื่อมสลายของฮูปแต้มสร้างความสะเทือนใจและเป็นแรงบันดาลใจให้ ดร.อนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี ศิลปิน ได้สร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยฮูปแต้มสองฝั่งโขงไทย…
  continue reading
 
วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เป็นวาระครบรอบ 100 ปี ของ วิลาศ มณีวัต นักเขียน บรรณาธิการ ผู้มีผลงานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะความสนุก อ่านแล้วอารมณ์ดี ให้ความรู้ไปยังผู้อ่าน และเป็นงานเขียนที่มองโลกในแง่ดี ผลงานที่ผ่านมา อาทิ สายลมแสงแดด, ธรรมะสำหรับคนนอกวัด, โฉมหน้านักประพันธ์, วิลาศ มณีวัตพูด, และ อารมณ์ขัน 2000 แครส อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ นักเขียนและ…
  continue reading
 
นวนิยายเรื่อง “Cigarette Girl ซิกาแรต เกิร์ล” งานเขียนของ ราติห์ คุมาลา นักเขียนหญิงชาวอินโดนีเซีย แปลเป็นภาษาไทยโดย บุญญรัตน์ นับเป็นงานเขียนอีกเรื่องของประเทศหมู่เกาะที่นำเสนอให้เห็นถึงสถานภาพ บทบาท และแนวคิดของผู้หญิงผ่านวัฒนธรรมการทำบุหรี่ เชื่อมโยงกับบริบททางประวัติศาสตร์สังคมการเมือง เศรษฐกิจของประเทศในช่วงอาณานิคมจนถึงยุคหลังการรับเอกราช ควบ…
  continue reading
 
หนังสือ “เคน ฮอม ชีวิตกระทะ วาทะตะหลิว” เป็นเรื่องราวชีวิตของคุณเคน ฮอม เชฟชื่อดังตลอดกาลซึ่งเป็นชาวจีนผู้เกิดและเติบโตมาในย่านไชนาทาวน์ การเข้าไปทำงานในร้านอาหารของคุณลุงคือประสบการณ์เปลี่ยนชีวิต และทำให้คุณเคนได้เดินทางไปทั่วโลก เป็นผู้รู้ด้านอาหารเอเชีย อาหารจีน เขาทำให้คนอังกฤษรู้จักกับกระทะจีน หรือ “ว้อก” คุณเคนเขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า “ชีว…
  continue reading
 
หลบมุมอ่าน ชวน #มนุษย์หนังสือ “น้องโฮม” จุลนารา วรรณโกวิท และ “คุณแม่โอ๋” มาติกา วรรณโกวิท มาร่วมพูดคุยถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในการอ่านเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัว พ่อแม่กับการทำหน้าที่เป็นเครื่องอ่านให้กับลูก การทำเพจ “Home’s Journey-โฮมเจอนี้” และห้องสมุดใต้ก้อนเมฆ นอกจากนี้ น้องโฮมจะมาชวนผู้ฟังหลบมุมอ่านไปพร้อมกับหนังสือเล่มโปรดที่เลือกมาสี่…
  continue reading
 
หลบมุมอ่าน ชวน คุณภัทรภรณ์ นครสิงห์ นักเขียนหนังสือนิทาน วิทยากร และผู้ก่อตั้ง Muki Story House มาร่วมพูดคุยถึงพลังของนิทานในฐานะสื่อส่งเสริมการอ่าน สื่อสำหรับสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและกับผู้อื่น สื่อที่ใช้สำหรับการบำบัด สื่อในการสร้างเรื่องเล่าและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งมีอยู่ในทุกคน นอกจากนี้ หลบมุมอ่านยังจะพาผู้ฟังไปสนุกกับนิทานคามิชิไบพร้อม…
  continue reading
 
การอ่านของแต่ละคนมีผลต่อการเรียนรู้และการเข้าใจชีวิตแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับ “การ์ตูน” ณิชมน ทุมมา เจ้าของเพจ #อ่านตามผีเสื้อ ผู้เปิดประตูสู่โลกภายนอกผ่านการอ่าน ทำให้เห็นคุณค่าในตัวเองและคุณค่าของผู้อื่น หนังสือหลายเล่มทำให้คนหนึ่ง ๆ กล้ากางปีกออกไปเรียนรู้ทุ่งกว้างของชีวิต “การ์ตูน” จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน ถึงการรู้จักหนังสือ “เจ้าชายน้…
  continue reading
 
การผลิตสื่อความรู้สำหรับเด็กในรูปแบบหนังสือ และความรู้ในรูปแบบออนไลน์ ที่มีเนื้อหาหลากหลาย มีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ร่วมกันของเด็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ใหญ่ #หลบมุมอ่าน ชวนตัวแทนจากสำนักพิมพ์ Bookscape คือ คุณจิ จิรภัทร เสถียรดี ผู้อำนวยการบริหาร และ คุณเมษ์ ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ บรรณาธิการบริหาร มาพูดถึงกระบวนการทำหนังสือสำหรับเด็กของ Kidscape แ…
  continue reading
 
“Writer Zeed: เพาะเมล็ดฝัน สืบสานวรรณกรรม” อีกหนึ่งเวทีการประกวดงานเขียน ที่เปิดโอกาสให้นักเขียนได้ร่วมส่งผลงานเข้าประกวด โดยในครั้งที่ 4 ของโครงการเปิดรับผลงานประเภทนิยายขนาดสั้นและวรรณกรรมเยาวชน #หลบมุมอ่าน ได้รับเกียรติจากอาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ผู้รับผิดชอบโครงการ Writer Zeed มาร่วมพูดคุยถึงและให้ภาพสะท้อน…
  continue reading
 
“หนองธง แผ่นดินตามหาตัวเอง” หนังสือกวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์เล่มแรกของ ประสานต์ พรหมทอง พาผู้อ่านเดินทางสู่ท่วงทำนองการเดินทางของผู้คนและแผ่นดิน ตั้งแต่ ภาคหนึ่ง:แผ่นดิน และ ภาคสอง:ตามหาตัวเอง เรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง พาผู้อ่านเชื่อมโยงท้องถิ่นกับประวัติศาสตร์ส่วนอื่น ๆ ของโลก #หลบมุมอ่าน ชวนนักเขียนเจ้าของผลงา…
  continue reading
 
“DESIRE ใคร่ ลวง รัก” งานเขียนเล่มแรกของ ธมลวรรณ บรรจงเกลี้ยง เจ้าของนามปากกา gchel นำเสนอให้เห็นถึงการช่วงชิง อำนาจ ความลวง ความรัก ผ่านตัวละครหญิงสองคน นักเขียนนำหลักปรัชญาของเพลโตมาประยุกต์เพื่อนำเสนอแกนหลักของเรื่อง #หลบมุมอ่าน ชวนธมลวรรณมาร่วมพูดคุยถึงความสำคัญของวิชาปรัชญาและศาสนา ความเชื่อมโยงเรื่องผู้หญิงกับทุนนิยมปิตาธิปไตยในเกมส์ หนังสือ …
  continue reading
 
“รถแห่อีสาน มหรสพสัญจรข้ามพรมแดนวัฒนธรรม” วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของ จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์ หรือ #แหวนรถแห่ นำเสนอ #รถแห่ ในฐานะความเป็นอีสานใหม่และพลวัตแห่งยุคสมัยและพลวัตทางดนตรี รวมทั้งการแสดงรถแห่ในพื้นที่แสดงและในพื้นดิจิทัลออนไลน์ รากเหง้าชาติพันทางดนตรีของรถแห่อีสาน การข้ามพรมแดนวัฒนธรรมของรถแห่อีสาน/นอกพื้นที่อีสานและไปสู่เพื่อนบ้านในเอเชีย…
  continue reading
 
ศิริธาดา กองภา บรรณาธิการและผู้ทำสำนักพิมพ์หนังสือสำหรับเด็ก จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน เกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกต้นฉบับภาษาอังกฤษเพื่อนำมาแปลและจัดพิมพ์ รวมถึงต้นฉบับภาษาไทยที่จะมีการพิจารณาในอนาคต การเผยแพร่ความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายในสังคม อาทิ ความหลากหลายทางเพศ สีผิว เผ่าพันธุ์ ผ่านหนังสือสำหรับเด็ก ทิศทาง/การเติบโตของสื่อประเภทหนังส…
  continue reading
 
หนังสือมังงะเรื่อง “Melayu Route : เปิดเส้นทางใหม่ด้วยหัวใจมลายู” และเรื่อง “Melayu Line : เส้นทางสายลายมลายู” ผลงานสร้างสรรค์เรื่องและวาด โดย กิตติคุณ กิตติอมรกุล เป็นหนังสือที่ใช้สำหรับการสื่อสารทางวัฒนธรรมไปยังผู้ที่ได้อ่าน รวมทั้งแรงบันดาลใจ ความรู้ และความสุข ที่นำเสนอผ่านพื้นที่วัฒนธรรมมลายูอันทรงคุณค่า หลบมุมอ่าน ชวน กิตติคุณ กิตติอมรกุล มาร…
  continue reading
 
เจนจิรา เสรีโยธิน ผู้แปล Hullabaloo in the Guava Orchard (ลิงวุ่นวายกับชายในสวนฝรั่ง) เขียนโดย Kiran Desai นักเขียนหญิงชาวอินเดีย นักเขียนนำเสนอความสนุกสนาน หรรษาของนวนิยายเล่มนี้ผ่านครอบครัวของสัมพัทธ์ตัวละครหลักของเรื่องและตัวละครอื่น ๆ สวนฝรั่ง ฝูงลิง และบริบทแวดล้อม ทำให้เราซึมซับเรื่องราวทางสังคมและวัฒนธรรมของอินเดียผ่านการเล่าเรื่องและเรื่องเ…
  continue reading
 
กิติยา วิทยาประพัฒน์ นักเขียน คนทำหนังสือทำมือ อาจารย์พิเศษ และวิทยากร ผู้ซึ่งสนใจประเด็นและแนวคิดสตรีนิยม มาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของหนังสือทำมือ ว่ามีบทบาทและมีความเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวด้านการเมือง-สังคมของแนวคิดสตรีนิยมในอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิติใดบ้าง นอกจากนี้ หนังสือทำมือยังมีส่วนในการสร้างชุมชน กลุ่มน…
  continue reading
 
หนังสือเล่มโปรดของ ณัตชา กิตติปัณณ์ อาทิ “ปรัชญาชีวิต” ของ คาลิล ยิบราน, “เจ้าชายน้อย” ของ อองตวน เดอ แซ็งเต็กซูเปรี, “สูญสิ้นความเป็นคน” ของ ดะไซ โอซามุ, “1000 ปี แห่งความรื่นรมย์และขมขื่น” ของ อ้าย เว่ยเว่ย ฯลฯ ต่างมีอิทธิพลต่อความคิดในแต่ละช่วงวัย ประสบการณ์ และการเติบโต เธอพูดถึงการอ่านของตัวเอง ว่าไม่ต่างจากลมหายใจ และเคยถูกช่วยชีวิตเพราะหนังส…
  continue reading
 
หนังสือ #ทุนนิยมอาหาร กับขบวนการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอาหารและภาคเกษตร นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับระบบอาหารและความสัมพันธ์กับผู้คนในฐานะผู้บริโภค ว่าอาหารในชีวิตประจำวันสัมพันธ์กับระบบนิเวศ สภาวะอากาศ ประวัติศาสตร์ ชนชั้น สีผิว รายได้ ฯลฯ รวมถึงขบวนการเคลื่อนไหว อาทิ ขบวนการเกษตรกรรมทางเลือก ขบวนการสโลว์ฟู้ด ขบวนการความยุติธรรมทางอาหาร อธิปไตยทางอาหารท่า…
  continue reading
 
อาจารย์ทิพภา ปลีหะจินดา จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน เกี่ยวกับบทบาท/ความสำคัญของบรรณารักษ์และห้องสมุดจากยุคเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ความเป็นมาของ “ห้องสมุดยับ เอี่ยน ฉ่อย” ประจำเมืองเก่าสงขลา พื้นที่ทางสังคมของชุมชน แหล่งศึกษาค้นคว้า เชื่อมผู้คนเชื่อมโลกผ่านหนังสือ การอ่าน เรื่องเล่า และกิจกรรมโดย Thai PBS Podcast
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน