3 On 3 Podcast สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
Artwork

1
3 ใต้ร่มโพธิบท

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Unsubscribe
Unsubscribe
รายสัปดาห์
 
เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
  continue reading
 
Artwork

1
Ad Addict Podcast

The Addict Podcast

Unsubscribe
Unsubscribe
รายเดือน
 
Ad Addict Podcast - แหล่งรวมพอดแคสต์เพื่อนักการตลาด นักโฆษณา เจ้าของกิจการ ครีเอเตอร์
  continue reading
 
Loading …
show series
 
ภาวนา คือ การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นทุกด้าน คนเราต้องมีการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ให้เจริญงอกงาม หมวดธรรมะที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่ วุฑฒิธรรม 4 : ธรรมเป็นเครื่องเจริญงอกงามแห่งปัญญา 4 ประการ 1.สัปปุริสังเสวะ: การคบหาสัตบุรุษ 2.สัทธัมมัสสวนะ: ฟังสัทธรรม,เอาใจใส่เล่าเรียน 3.โยนิโสมนสิการ: การทำในใจโดยแยบคาย 4.ธัมมานุธัมม…
  continue reading
 
อปริหานิยธรรม คือธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นธรรมที่อาศัยการรักษาเหตุปัจจัยแห่งความไม่เสื่อมและเหตุปัจจัยแห่งความเจริญ โดยแบ่งเป็นหลายนัยยะได้แก่ นัยยะแรก 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม 3. ศึกษาและไม่ล้มล้างสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ 4. เคารพภิกษุผู้เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก 5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่…
  continue reading
 
บทสวด สาราณียะธัมมะสูตตัง เป็นบทที่กล่าวถึงสาราณียธรรม6 ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน คือธรรมแห่งการสร้างความสามัคคี เป็นบทสวดที่มาจากพระสูตรที่พระภิกษุจะมักสวดกันในวันเข้าพรรษา บทสวดนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุไว้ที่เมืองสาวัตถี ณ วัดเชตวัน โดยกล่าวถึงธรรม 6 ประการ ที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะเป็นธรรมเครื่องก่อให้เกิดอานิสงส์ 7 ประ…
  continue reading
 
การทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่บ่อยๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ถ้าเราใคร่ครวญทำย้ำๆซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญญา(ญาณ)รู้ชัดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดรู้แจ้งในธรรมนั้น วิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุ คือ ธาตุ 6 โดยพิจารณาเจาะแยกลงไป แยกออกๆจนเหลือหน่วยเล็กที่สุดและพิจารณาประกอบกันเข้ามาแล้วจึงมีหน่วยใหญ…
  continue reading
 
ปัญญาการรอบรู้ในทุกข์ของผู้ถึงซึ่งพระนิพพานหรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งได้ว่าเป็นปัญญาของพระอรหันต์นั่นเองโดยได้ยก “สัตตัฎฐานสูตร” ว่าด้วย ผู้มีปัญญาฉลาดรอบรู้ขันธ์ 5 ในฐานะ 7 ประการได้แก่ 1. รู้ชัดซึ่ง (รู้ลักษณะ) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 2. รู้ถึงเหตุเกิดขึ้น ของ รูป...ฯ คืออาศัยเหตุเกิด 3. รู้ถึงความดับ ของ รูป...ฯ คือ เมื่อเหตุดับ-ผลย่อมดับ 4. ว…
  continue reading
 
“นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิ การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อ…
  continue reading
 
ตัณหา ได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ และเป็นที่มาของปัญหาต่างๆในชีวิตของคนเรา การมาเจริญภาวนาในสัญญา 7 ประการนี้ คือเมื่อมีการพิจารณาให้มากในสัญญาเหล่านี้ จิตจะไม่หวนกลับกำเริบและมีนิพพานเป็นที่สุด ปัญหาของตัณหาและกิเลสแก้โดยสัญญา 7 ประการ ดังนี้ ยินดีในเพศตรงข้าม(เมถุนธรรม) แก้โดย พิจารณา อสุภสัญญา รักตัวกลัวตาย (รักชีวิต) แก้โดยพิจารณา มรณสัญญา ติดใ…
  continue reading
 
ธรรม 4 ประการที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป หรือ สัทธรรมปฏิรูป คือ 1.บทพยัญชนะ อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี 2. ภิกษุเป็นคนว่ายาก 3.ผู้เป็นพหูสูต ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ทายาท 4.พระเถระเป็นผู้เดินในทางทราม หากมีการสืบทอดบทพยัญชนะ กันมาอย่างดีคือจำเนื้อหาได้ถูกต้อง ออกเสียงอักขระชัดเจน รู้ความหมายอย่างถูกต้องก็จะทำให้พระสัทธรรมแท้ยัง…
  continue reading
 
“โลกบาล” เป็นหลักคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือหิริและโอตตัปปะ “หิริ” แปลว่าความละอายต่อบาป และ “โอตตัปปะ” แปลว่าความกลัวต่อบาป บุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามคว…
  continue reading
 
ขณะ หรือเวลา หรือโอกาส ใน 4 อย่างนี้ ได้แก่ การที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น การที่ได้เกิดในพื้นที่หรือประเทศที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) และการที่มีอายตนะ 6 อย่างครบสมบรูณ์ (ไม่พิการ)…โอกาสดีทั้ง 4 ประการ ที่ได้ยากขนาดนี้เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปรีรอ อย่าให้ล่วงเลยไปเสีย โอกาสนี้ไม่ได้มีอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้อยู่ในช่วงโปรโม…
  continue reading
 
บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ ผลที่จะพึงหวังได้ คือความผาสุก ซึ่งจะปรากฏเป็นความเบาบางของกิเลส นำไปสู่การสิ้นสุดของการเวียนว่ายตัดภพชาติให้น้อยลงไปตามลำดับ การเดินตามทางนั้นเป็นมรรค เมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางแล้วเรียกว่าผลและมีนิพพานเป็นที่สุดแห่งการประพฤติปฏิบัติ พึงเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิดว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี พ…
  continue reading
 
"กิเลส" เป็นเหตุแห่งทุกข์ต้องละเสีย จึงอ้างอิงในส่วนของอังคุตตรนิการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในหมวด 6 ว่าด้วยวิธีการละกิเลส อาศัยธรรมหมวด 5 เป็นเหตุทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้ กล่าวคือ การฟังธรรม การเทศน์สอน การทบทวน การคิดใคร่ครวญในธรรม หรือการทำสมาธิ ธรรม 5 อย่างนี้ เมื่อปฏิบัติให้บ่อยแม้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเกิดความรู้ในอรรถธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิ…
  continue reading
 
อินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น ต่างมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หากจะเปรียบเทียบ สติ ย่อมเทียบได้กับหัวธนู วิริยะ คู่กับ สมาธิ ช่วยพยุงธนูไว้ ศรัทธา คู่กับ ปัญญา พยุงด้านปลายของธนู หากอินทรีย์หรือพละตัวใดมากไป ธนูนั้นย่อมขาดความสมดุล ไม่สามารถแล่นตรงสู่เป้าหมายได้ กล่าวได้ว่าอินทรีย์ 5 และพละ5 นั้น เหมือนกันโดยองค์ธรรมเพียงแต…
  continue reading
 
“สัตบุรุษหรือสัปปบุรุษ” หมายถึง คนดี เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ตามจูฬปุณณมสูตร คือผู้มี “ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสุต ความเพียร สติมั่นคง และปัญญา” โดยทั่วไปเราจะพิจารณาว่าใครเป็นคนดี ก็โดยเทียบกับคุณธรรมที่กล่าวนี้ จากมิตรสหายที่บุคคลนั้นคบหา จากความคิด การให้คำปรึกษา วาจา4 การกระทำ ทิฐิความเห็น และทานที่ให้ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “อุบาสกธรรม7” คือ…
  continue reading
 
มงคลชีวิต 4 ข้อสุดท้ายนี้เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฎไตรลัก…
  continue reading
 
ในทางปฏิบัติเราจำเป็นต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้เห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากทุกข์ ความแก่ ความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ค้นพบนี้เรียก “อริยสัจ 4” การเห็นอริยสัจ (ญาณในอริยสัจ 4) ที่แท้จริง…
  continue reading
 
ในคำสอนของพระพุทธเจ้า การบำเพ็ญตบะ คือการเพียรเผากิเลส เพียรกำจัดกิเลสออกไป จะมุ่งเน้นมาในจิตใจ ชนิดของกิเลสนั้นมีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล คือกิเลสอย่างละเอียดทำให้เกิดโมหะเช่นบุญ ทำให้เกิดการยึดถือเมาบุญได้ และฝ่ายอกุศลได้แก่ ราคะ โทสะ กิเลศทั้งสองนี้ ทำให้เราเวียนไปสูง-ไปต่ำ วนอยู่ในวัฏฏะนี้ การบำเพ็ญตบะจึงจำเป็นต้องอาศัยความอดทนอย่างยิ่งในการเผากิเลส…
  continue reading
 
“ขันติ” ความอดทน คือ การรักษาภาวะปกติไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบอย่างไรก็ตาม เช่นเมื่อถูกกระทบให้ลุ่มหลงก็ไม่ลุ่มหลงไปตามหรือถูกกระทบให้ไม่พอใจขยะแขยงก็อดทนอยู่ในภาวะเดิมไว้ได้ ความอดทนนั้นจะมีลักษณะของความอดกลั้นไว้ไม่คิดที่จะก่อทุกข์ให้ผู้อื่นและตนเองก็มีความเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ด้วย ซึ่งความอดทนไม่เหมือนกับดื้อด้าน หรือเก็บกด เพราะความอดทนนั้นจ…
  continue reading
 
มงคลชีวิตข้อ19 “อารตี วิรตี ปาปา” การงดเว้นจากบาป คำว่า “บาป”ตรงกันข้ามกับ “บุญ” บุญท่านเคยบอกว่าเป็นชื่อของความสุขแสดงว่าบาปนั้นก็จะเป็นชื่อของความทุกข์ แต่ต้องดูให้ลึกซึ้งคือให้ดูถึงภายในจิต บุญหรือบาปนั้นสะสมไว้ภายในจิต ไม่ได้สะสมไว้ในอาการของจิต ดังนั้นบาปคืออกุศลต่างๆที่ทำให้จิตเสีย ทำให้จิตตกต่ำ ทำให้จิตเกิดทุกข์นั่นเอง การจะงดเว้นจากบาปได้นั…
  continue reading
 
“งาน” คือ อะไรก็ได้ที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีวิธีการปฏิบัติ และจะเกิดความเป็นมงคลได้นั้น คุณธรรมในการทำงานให้สำเร็จ คือ อิทธิบาท 4 การเจริญอิทธิบาท 4 ต้องเข้าใจให้ถูก ต้องมีองค์ประกอบอีก 2 อย่าง คือ “ธรรมเครื่องปรุงแต่ง” หรือเป้าหมาย และประกอบด้วย “สมาธิ” ที่จะมาเชื่อมกับกิจแต่ละอย่างๆ คือ “ฉันทะ” ความพอใจความเต็มใจ ที่ทำให้เริ่มลงมือทำ “วิริยะ” คว…
  continue reading
 
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ หมายถึง ตั้งตนไว้ชอบ ในที่นี้คือ การตั้งจิตเพื่อรักษากายและจิตใจให้อยู่ในทางที่เป็นกุศลธรรมในปัจจุบันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางที่ปลอดภัยไว้ให้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์8 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา การตั้งจิตไว้ถูกไม่ว่าจะเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นจึงเป็นมงคล ท่านยังทรงตรัสให้เรานึกถึงศีล นึกถึงโสตาปัตติยังคะ4 ให้มีปีติสุข อันเกิดจาก…
  continue reading
 
ธรรมของสัตบุรุษ มีสัทธรรม 3 อย่างคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียนในระบบคำสอนที่เรารวบรวมมาโดยรอบแล้วนั่นคือคำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 (นวังคสัตถุศาสน์)ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูติธรรม เวทัลละ ปริยัติแบ่งตามรูปแบบการศึกษาได้ 3 อย่างดังนี้ 1.อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบเป็นงูพิษคือศึกษาธรรมเพื่อล…
  continue reading
 
ตัณหา เป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก มีความเป็นสภาวะขึ้นมา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องประกอบด้วยการเกิดอีกให้เป็นสภาวะขึ้นมา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มีความกำหนัด มีความเพลิน โดยนัยยะนี้ได้แบ่งตัณหาเป็น 3 อย่างดังนี้ 1.กามตัณหา คือความกำหนัดยินดีพอใจและความเพลินในรูปผ่านทางตา เสี…
  continue reading
 
จรณะคือข้อปฏิบัติให้ถึงปัญญาข้อปฏิบัติที่ทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้ ข้อปฏิบัตินี้มี 15 อย่าง จรณะมีความหมายเดียวกันกับเสขะปฏิปทาคือข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังต้องฝึกต้องปฏิบัติต่อ ข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมขั้นสูง บุคคลที่ต้องการบรรลุธรรมจึงต้องปฏิบัติตามเสขะปฏิปทา ดังนั้นจรณะ15 ก็คือเสขะปฏิปทาที่มีเนื้อหาแจงออกเป็น 15 ประการ ตามนัยยะของเสขะปฏิปทาสูต…
  continue reading
 
ขึ้นชื่อคำว่า “พร” เป็นสิ่งที่ใครๆก็ปรารถนาเพื่อต้องการให้เกิดความสุขความสมหวังในชีวิตทั้งนั้น ในที่นี้ได้รวบรวมพรดีๆ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจากสูตรต่างๆอันได้แก่ จักกวัตติสูตร อิฏฐสูตร และจูฬกัมมวิภังคะสูตร ได้ 9 ประการดังนี้ 1.มีอายุยืน 2.วรรณะงาม 3.มีความสุข 4.มีโภคะเงินทอง 5.มีสุขภาพแข็งแรงมีโรคน้อย 6.มียศถาบรรดาศักดิ์มีอำนาจใหญ่โต 7.การเกิดในตร…
  continue reading
 
กัลยาณมิตร หมายถึงบุคคลที่ปรารถนาดีและนำสิ่งดีงามและเป็นกุศลมาสู่เรา กัลยาณมิตรมีหลายแบบได้แก่ 1.กัลยาณมิตรที่เป็นองค์ความรู้อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 2.เพื่อนที่ดีคือฆราวาสผู้พร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา 3.พระสงฆ์ครูบาอาจารย์ 4.พระพุทธเจ้า ในครั้งนี้จะกล่าวรายละเอียดถึงกัลยาณมิตรแบบที่3 คือพระสงฆ์ครูอาจารย์ เราจะเลือกเอาพระสงฆ์ครูอาจารย์แบ…
  continue reading
 
โพธิปักขิยธรรมคือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ มี 7 หมวด 37 ประการได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 มรรคมีองค์8 องค์ธรรมทั้ง 7 หมวดนี้ คือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมเหมือนกัน ในครั้งนี้จะกล่าวให้เห็นความเหมือนและต่างกันขององค์ธรรมเหล่านี้ คู่แรกคือ “อินทรีย์5” กับ “พละ5” เหมือนกันโดยองค์รวม คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แต…
  continue reading
 
สตินี่แหละจะเป็นตัวช่วยจัดระเบียบจิตใจของเรา สติที่ท่านพระสารีบุตรอธิบายเจาะจงลงไป คือเครื่องมือที่ชื่อว่ากายคตาสติ โดยท่านอุปมาลักษณะของจิตไว้ 9 อย่าง คือ 1 จิตเสมอด้วยดิน จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับดินไม่ว่าใครจะทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด ดินก็ยังเป็นดินเสมอ 2 จิตเสมอด้วยน้ำ จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับน้ำไม่ว่าใครจะทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด …
  continue reading
 
ปัญญาจัดเป็นอันดับสูงสุด จะลับปัญญาให้แหลมคมได้ต้องมีคุณธรรมต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งคุณธรรมที่ท่านกล่าวถึง คือ เวสารัชชกรณธรรม 5 (คุณธรรมที่จะทำให้เกิดความแกล้วกล้า ความกล้าหาญ ) ได้แก่ 1.ศรัทธา ความเชื่อใจ ความมั่นใจ ความลงใจ ในการตรัสรู้ของพระพุทธ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า และในหมู่สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า 2.ศีล ความประพฤติถูกต…
  continue reading
 
ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกในที่นี้จะกล่าวไว้ ๒ กรณี กรณีที่ ๑ คือผู้ที่อยู่คนเดียวจะอยู่อย่างไรให้ผาสุกอยู่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็น ๒ นัยยะได้แก่นัยยะที่ตรัสไว้กับภิกษุทั้งหลายว่าธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกคือ ฌาน ๑/ ฌาน ๒/ ฌาน๓/ ฌาน๔ /การทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ ส่วนนัยยะที่ ๒ได้ปรารภในคหบดีเจาะจงสำหรับผู้ครองเรือนไว้ คือโสตาปัตติยังค…
  continue reading
 
พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับสหัมบดีพรหมไว้ที่ใต้ต้นไทรว่า ประตูสู่นิพพานอันเป็นอมตะเราเปิดไว้แล้ว ทางที่ท่านบอกไว้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ‘‘สัตว์เหล่าใดที่จะมาตามทางนี้จงปลงศรัทธาลงไปเถิด’’ ทางสายกลางอันประเสริฐ 8 อย่าง (อริยอัฏฐังคิกมรรค) คือ ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง ขวาสุด คือ ชุ่มด้วยกามยึดถือยินดีในกามคุณ ซ้ายสุด คือ ไม่เอาอะไรสักอย่างปฏิเสธหมดทุกอย่…
  continue reading
 
กรรม คือ เจตนาที่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ออกไปทางกาย วาจา ใจ เมื่อมีการปรุงแต่งกระทำออกไปแล้ว ย่อมมีผลหรือมีวิบากของกรรมนั้นอย่างแน่นอน เรื่องของกรรมเป็น “อจินไตย” คือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เพราะถ้าคิดแล้วอาจจะทำให้เป็นบ้าได้ ในที่นี้หมายถึง เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน (ตามนัยยะ อจินติตสูตร) ตราบใดที่เมื่อยังมีการปรุงแต่งกรรมอยู…
  continue reading
 
กรรม (กัมมะ) คือ เจตนาของจิตที่เมื่อมีผัสสะมากระทบแล้วเกิดการปรุงแต่งออกไป ทางกาย (กายกรรม) วาจา (วจีกรรม) และใจ (มโนกรรม) เป็นอกุศลกรรมบ้าง หรือกุศลกรรมบ้าง หรือเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม (อริยมรรคมีองค์ 8) กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ - ทำความเข้าใจกรรมผ่าน “นิพเพธิกสูตร” · เรากล่าวซึ่ง “เจตนา ว่าเป็นกรรม” เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วย…
  continue reading
 
“กรรม” คือ การกระทำที่เกิดจากเจตนาของจิตที่ถูกกระตุ้นผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วปรุงแต่งออกไป ทาง 3 ช่องทาง คือ 1. ทางกาย เป็น กายกรรม 2. ทางวาจา เป็น วจีกรรม 3. ทางใจ เป็น มโนกรรม ทำความเข้าใจเรื่องของ “กรรม” ผ่านพุทธพจน์ที่ว่า.. “เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น” หมายถึง เมื่อมีเหตุแล้ว ย่อมมีผล “เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เร…
  continue reading
 
การมาศึกษาปฏิบัติธรรม เปรียบเสมือน ”การจับงูพิษ” ถ้าจับไม่ถูกต้อง ไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะเกิดอันตรายกับตนเองและผู้อื่นได้ แทนที่จะละวางความยึดถือลงแต่กลับยึดถือขึ้นมาแทน “ธรรม” ที่ดูเหมือนจะเป็น “เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดานี้” หมายถึง เรื่องพื้นฐานแต่มีความสำคัญ จึงต้องหยิบมาทำการศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียด โดยได้ยกพุทธพจน์ คำอุทาน พระสูตร…
  continue reading
 
ปฏิปทาอันยิ่งยวดอย่างหนึ่งใน “ทศบารมี” นั้นก็คือ “ขันติ” คือ ความอดทนอดกลั้น เป็นตบะแผดเผากิเลสอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม จะสามารถรักษาความเป็นปกติเอาไว้ได้ ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมทำคุณธรรม “ขันติ” ให้ปรากฏขึ้นเป็นของแจ่มแจ้งแก่ตนเองได้ด้วย “ปัญญา” และถ้าพิจารณ…
  continue reading
 
ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากภัยในอนาคต 5 ประการ คือ ความแก่ชรา ความเจ็บไข้ ทุพภิกขภัย-อาหารหายาก ภัยจากโจร-สงคราม และสมัยที่สงฆ์แตกกัน เรายังจะผาสุกอยู่ได้ไหม และสิ่งใดที่เราต้องรีบทำก่อนที่ภัยนั้นจะมาถึง ท่านพระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ เราควรร้อนใจในการเร่งทำความเพียรตอนนี้ ด้วยการเจริญมรรค 8 เพื่อให้เกิด “ปัญญา” เป็นอันดับสูงสุด ซึ่งจิตจะมีปัญญาได้ ต้องมี …
  continue reading
 
การนำเอาหัวข้อหลักธรรมะต่างๆ มาอุปมาเชิงเปรียบเทียบกับการสร้าง “นคร” ซึ่งองค์ประกอบของ ธัมมะนคร หรือ นครแห่งธรรม ได้กล่าวบรรยายไว้ 2 นัยยะ คือ นัยยะของท่านพระอุบาลี และ นัยยะของพระพุทธเจ้า ธัมมะนครตามนัยยะคาถาของ “ท่านพระอุบาลี” เป็นคาถาเปล่งอุทานหลังจากที่ท่านพระอุบาลีได้บรรลุอรหันต์ โดยใจความของพระคาถาได้กล่าวถึงการได้เข้ามาอยู่ใต้ร่มโพธิ์ของพระผ…
  continue reading
 
วาโยธาตุ หรือที่เราเรียกว่า “ธาตุลม” เป็น 1 ใน มหาภูตรูป 4 ธาตุลมประกอบไปด้วย :- ลมภายนอก คือ ธรรมชาติที่พัดไปมาอยู่นอกกาย เช่น ลมร้อน ลมหนาว ลมมีฝุ่น หรือ ลมไม่มีฝุ่น ลมตะวันออก..ฯลฯ ลมภายใน คือ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย เช่น ลมในกระเพาะ ลมในลำไส้ ลมหายใจเข้า-ออก ลมภายในแบ่งได้เป็น :- ลมปราณ คือ ลมหายใจเข้า-ออก 1. ลมหายใจต่อกาย-ทิ้งกาย…
  continue reading
 
ความจริงโดยทั่วๆ ไปที่เป็นข้อเท็จจริง (fact) ตามสมมุติของโลกนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยตามบริบทของสังคมหรือเวลา เช่น ข่าว งานวิจัย สิ่งของ เสื้อผ้า ที่สมมุติเรียกตามบริบทของเวลานั้น แต่อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างนี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แสดงถึง สัจธรรมความจริง (truth) ที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลา กิจในอริยสัจ 4 (กิจ…
  continue reading
 
ศรัทธาที่มีอาการประกอบไปด้วยเหตุผล จะทำให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริงในกุศลธรรมทั้งหลาย คิดใคร่ครวญเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นศรัทธาที่ประด้วยอาการของปัญญา “อาการวตีสัทธา” ลักษณะของศรัทธาที่ประกอบไปด้วยอาการ “อาการวตีสัทธา” 1. มี 2 มิติ คือ (1.1) ระดับสมมุติของโลก - ความจริง/ข้อเท็จจริง (fact / fake) สมมุติว่าจริง สมมุติว่าเท็จ (1.2) ระดับเหนือส…
  continue reading
 
สำนวน “ตาบอดคลำช้าง” เป็นคำสอนเชิงเปรียบเทียบไว้กับผู้ที่มีความเข้าใจในบางสิ่งบางอย่างที่อาจยังไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง แล้วอาจทำให้เกิดการพูด วิจารณ์ ทุ่มเถียงกันไปตามความคิดเห็น ความเข้าใจผิดของตน ส่วนผู้ที่เข้าใจในปฏิจจสมุปบาทนั้น จะไม่มายึดถือในทิฐิของตน จะเข้าใจถึง ความเป็นเหตุ-เป็นผล ความที่อาศัยเหตุปัจจัย แล้วจึงเกิด…
  continue reading
 
พระผู้มีพระภาคทรงได้เคยตรัสกับท่านพระอานนท์ไว้ว่า “ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง” ที่มิอาจจะพึงรู้ได้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องอาศัยการพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ให้เห็นด้วยปัญญาเท่านั้น... และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำพระองค์เกิดความท้อใจในการที่จะแสดงธรรม อย่างไรก็ตาม..เราสามารถปฏิบัติให้มีปัญญาที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นมาได้ด้วยการปฏิบัติตาม “…
  continue reading
 
ทุกชีวิตล้วน “รักสุข เกลียดทุกข์” เวทนาจึงเป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำที่อยาก และไม่อยาก ล้วนมีเหตุเกิดมาจากเวทนาต่าง ๆ “เพราะอาศัยเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา และเพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ” ซึ่งในแต่ละคู่ของปฏิจจสมุปบาทนั้น จะดับที่คู่ไหนก่อนก็ได้คู่ปัจจัยอย่างอื่นที่ต่อเนื่องกันเป็นสายก็จะดับตามกัน “เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ” ในพระอริยบุคคลที่ยัง…
  continue reading
 
วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท และ ในขันธ์ 5 ความหมายจะเหมือนกัน แปลว่า การรับรู้ การที่จิตไปทำหน้าที่ในการรับรู้ วิญญาณในขันธ์ 5 อยู่ในช่องทางใจ ซึ่งไปทำหน้าที่รับรู้ รูป (อายตนะ) เวทนา สัญญา สังขาร เป็นกองทุกข์ อยู่ในทุกขอริยสัจ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท จะเป็นอาการที่แสดงถึงความเป็นเหตุปัจจัยเอื้อต่อกันเป็นคู่ต่อเนื่องกันไปเป็นสายใน 12 อาการ จัดเป็น “อริยสัจที…
  continue reading
 
พระผู้มีพระภาคเจ้าหลังจากตรัสรู้ได้ใหม่ ๆ ทรงคิดใคร่ครวญในปฏิจจสมุปบาท โดยเริ่มจากทุกข์ว่า “เพราะอะไรหนอมี..ทุกข์จึงมี” ไล่หาเหตุไปเรื่อยๆ จนเจอ “อวิชชา คือ ความไม่รู้” และเมื่อจะบอกสอนต่อก็ได้เรียบเรียงบทพยัญชนะเพื่อให้เกิดความรัดกุมรอบคอบ โดยเริ่มจากสิ่งสำคัญที่สุดคือ “อวิชชา” ไล่ไปเรื่อย ๆ ใน 12 อาการ จะมีลักษณะคล้ายหน้าปัดนาฬิกาที่วนไปเรื่อยๆ อ…
  continue reading
 
“ปฏิจจสมุปบาท” หรือ “ปัจจยาการ” คือ อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันหรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของทุกข์ และการดับทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีองค์ประกอบอยู่ 12 หัวข้อที่เป็นปัจจัยเนื่องอาศัยสืบต่อกันไปเหมือน “หน้าปัดนาฬิกา” นับตั้งแต่อวิชชาถึงชรามรณะ (คือ อวิชชา -> สังขาร -> วิญญาณ -> นามรูป -> สฬายตนะ -> ผัสสะ -> เวทนา -> ตัณหา -> อุปาทาน -> ภพ ชาติ…
  continue reading
 
“ปฏิจจสมุปบาท” ธรรมอันเป็นธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น คือ เป็น ตถตา คือ ความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น อาการของปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ :- “เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป …
  continue reading
 
“สรรพสัตว์ล้วนรักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น” จึงแสวงหาแต่ความสุขและไม่อยากได้ทุกข์ แท้ที่จริงแล้วสุขนั้นก็ไม่มี เป็นเพียงแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้น และดับลงแค่นั้นเอง เวทนาทั้งหลายจึงรวมลงที่ทุกข์ คือ ความเป็นไตรลักษณ์ การมาพิจารณาคิดใคร่ครวญอาการของปฏิจจสมุปบาทในแต่ละอาการ แต่ละคู่จนต่อเนื่องสัมพันธ์กันเป็นสาย จะทำให้เรามีความเข้าใจและเห็นถึงความเป็นเ…
  continue reading
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเน้นสอนเรื่องเกี่ยวกับ “ความทุกข์และความดับทุกข์” ดั่งพุทธภาษิตที่ว่า “ภิกษุ ท. ก่อนแต่นี้ก็ดีบัดนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติ (เพื่อการสอน) เฉพาะเรื่องความทุกข์กับความดับแห่งทุกข์เท่านั้น” ปฏิจจสมุปบาท จึงจัดว่าเป็นหัวใจชองศาสนาและเป็นอริยสัจโดยสมบูรณ์เพราะแสดงให้เห็น ”ทุกข์” ด้วยลักษณะเป็นธรรมชาติที่ต่างอาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้นหรือ…
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน