หลบมุมอ่าน EP. 131: อำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจีน ต่อภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน
Manage episode 349916616 series 1464058
งานศึกษาและงานวิจัยด้านอาณาบริเวณศึกษา มีบทบาทสำคัญต่อสังคมและผู้คนในหลากหลายมิติ และเป็นหนึ่งในตัวกลางที่ใช้เรียนรู้ทำความเข้าใจกันและกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ผ่านองค์ความรู้ที่ทำการศึกษาวิจัย
ผศ. ดร.กีรติพร จูตะวิริยะ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขงและศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น / ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในประเด็น ;
- บทบาท หน้าที่ของศูนย์วิจัยพหุลักษณ์ฯ ในฐานะการผลิตองค์ความรู้เอกสาร วารสาร หนังสือวิชาการของภูมิภาค และการส่งต่อองค์ความรู้เพื่อรับใช้สังคมในภูมิภาคและต่างประเทศ
- อิทธิพลของจีนในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ภาษา การเคลื่อนย้ายของชาวจีนสู่ไทยและภูมิภาคอาเซียน จากจีนโพ้นทะเลสู่จีนยุคดิจิทัล
- หนังสือ “ผู้ค้าสัญชาติจีน : การย้ายถิ่นข้ามชาติและเครือข่ายทางสังคมในการพัฒนาธุรกิจดิจิทัล” เขียนโดย Lan Lin
- Soft Power อำนาจละมุนของจีนต่อภูมิภาคอาเซียนในยุคดิจิทัล ในมิติต่าง ๆ เช่น การเป็นคู่ค้า การสมรสข้ามเชื้อชาติ การเคลื่อนย้ายของชาวจีนเพื่อมาศึกษา การส่งเสริมการสอนภาษาจีนในต่างประเทศ และความแตกต่างของอำนาจละมุนจีนในอดีตกับปัจจุบัน ศึกษาเปรียบเทียบกับ Soft Power ของ อเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลี
1857 ตอน