Artwork

เนื้อหาจัดทำโดย Fatoutkey เนื้อหาพอดแคสต์ทั้งหมด รวมถึงตอน กราฟิก และคำอธิบายพอดแคสต์ได้รับการอัปโหลดและจัดเตรียมโดย Fatoutkey หรือพันธมิตรแพลตฟอร์มพอดแคสต์โดยตรง หากคุณเชื่อว่ามีบุคคลอื่นใช้งานที่มีลิขสิทธิ์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ที่นี่ https://th.player.fm/legal
Player FM - แอป Podcast
ออฟไลน์ด้วยแอป Player FM !

6 ความเชื่อที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลิน ตอนที่ 1

43:30
 
แบ่งปัน
 

Manage episode 312351798 series 3233261
เนื้อหาจัดทำโดย Fatoutkey เนื้อหาพอดแคสต์ทั้งหมด รวมถึงตอน กราฟิก และคำอธิบายพอดแคสต์ได้รับการอัปโหลดและจัดเตรียมโดย Fatoutkey หรือพันธมิตรแพลตฟอร์มพอดแคสต์โดยตรง หากคุณเชื่อว่ามีบุคคลอื่นใช้งานที่มีลิขสิทธิ์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ที่นี่ https://th.player.fm/legal

3 ปีที่แล้วพี่ปุ๋มเป็นคนหนึ่งที่เชื่อสุดใจกับ Carbohydrate-Insulin Obesity Model (CIM) ที่กล่าวว่า

“สาเหตุหลักของความอ้วนเกิดจาก ความสามารถของคาร์โบไฮเดรตที่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินเพิ่ม ซึ่งทำให้เพิ่มการสะสมกลูโคสไปเป็นไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน และทำให้มีกลูโคสและกรดไขมันไหลเวียนในกระแสเลือดน้อยลง ทำให้เราขาดแคลนวัตถุดิบในการสร้างพลังงาน เราจึงหิวบ่อย”

📃 จนพี่ได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยฉบับแรกที่ทำให้พี่ตาสว่างชื่อ “Insulin : Understand its action in health and disease” โดย P. Sonksen ตีพิมพ์ใน Br J Anaesth 2000; 85: 69-79 งานวิจัยฉบับนั้นทำให้พี่รู้จัก Sir Edward Schafer ผู้ซึ่งตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับหน้าที่หลักของอินซูลินได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา และเกิดอะไรขึ้นใน “ยุคมืด” ของวงการ Endocrinology ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1960-1980 ที่ทำให้มีการ “ตีความ” หน้าที่ของอินซูลิน ผิดไปจากสมมุติฐานของ Sir Edward Schafer และกลายเป็นความเข้าใจว่า เซลล์ “ต้องการ” อินซูลิน จึงจะสามารถนำกลูโคสเข้าไปในเซลล์ได้ และความเข้าใจนี้ก็ปรากฎอยู่ใน textbooks และความเข้าใจของคนทั่วไปมาตลอดจนถึงบัดนี้ รวมถึงตัวพี่ปุ๋มเองในอดีตด้วย

💻 จากนั้นพี่ก็เริ่มควานหาข้อมูลที่โต้แย้ง Carbohydrate-Insulin Obesity Model ทำให้ได้รู้จักกับนักวิจัยในสาขา Obesity, Neuroendocrinology คนสำคัญมากมาย ทำให้พี่เริ่มเข้าใจอินซูลินมากขึ้น (ยังมีอีกเยอะที่ต้องศึกษา) เลยอยากเขียน ความเชื่อที่ผิด 6 ประการสำคัญเกี่ยวกับอินซูลิน (Sir Edward Schafer พอใจที่จะเรียก อินซูลิน ว่า “Autacoid” ”Chalone” มากกว่า ฮอร์โมนด้วยซ้ำ) โดยมีงานวิจัยประกอบ เป็นงานช้างเลยทีเดียวค่ะ

ประโยชน์ที่เชื่อว่าน้องๆจะได้รับคือ

1. เข้าใจบทบาทที่แท้จริงของอินซูลิน ที่มีคุณูปการต่อร่างกาย

2. เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลินกับระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของร่างกาย (ความอ้วนนี่แหละ)

3. ไม่ freak out กลัว คาร์โบไฮเดรต กลัวอินซูลินแบบไม่มีเหตุผล

4. เลือกไดเอ็ทที่จะใช้ลดน้ำหนักได้อย่างเหมาะสมกับตัวเอง โดยไม่ติดอยู่กับไดเอ็ทกลุ่มคาร์โบไฮเดรตต่ำแต่เพียงอย่างเดียว

ใน vdo ตอนที่ 1 ความยาวเกือบ 50 นาที สรุปความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอินซูลิน 2 ข้อแรกก่อนคือ

1. เซลล์ ต้องการ อินซูลินในการนำพากลูโคสเข้าเซลล์ จริงหรือไม่

2. คาร์โบไฮเดรตกระตุ้นอินซูลิน เกิดการสะสมเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วน จริงหรือไม่ พี่อ้างอิงงานวิจัยของ Prof.Sonksen ชื่อ Insulin : Understand Its Action in health and disease เป็นหลัก และเสริมด้วยงานวิจัยฉบับอื่นๆ

🥰 เชิญติดตามชมได้เลยค่ะ

  continue reading

117 ตอน

Artwork
iconแบ่งปัน
 
Manage episode 312351798 series 3233261
เนื้อหาจัดทำโดย Fatoutkey เนื้อหาพอดแคสต์ทั้งหมด รวมถึงตอน กราฟิก และคำอธิบายพอดแคสต์ได้รับการอัปโหลดและจัดเตรียมโดย Fatoutkey หรือพันธมิตรแพลตฟอร์มพอดแคสต์โดยตรง หากคุณเชื่อว่ามีบุคคลอื่นใช้งานที่มีลิขสิทธิ์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ที่นี่ https://th.player.fm/legal

3 ปีที่แล้วพี่ปุ๋มเป็นคนหนึ่งที่เชื่อสุดใจกับ Carbohydrate-Insulin Obesity Model (CIM) ที่กล่าวว่า

“สาเหตุหลักของความอ้วนเกิดจาก ความสามารถของคาร์โบไฮเดรตที่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินเพิ่ม ซึ่งทำให้เพิ่มการสะสมกลูโคสไปเป็นไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน และทำให้มีกลูโคสและกรดไขมันไหลเวียนในกระแสเลือดน้อยลง ทำให้เราขาดแคลนวัตถุดิบในการสร้างพลังงาน เราจึงหิวบ่อย”

📃 จนพี่ได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยฉบับแรกที่ทำให้พี่ตาสว่างชื่อ “Insulin : Understand its action in health and disease” โดย P. Sonksen ตีพิมพ์ใน Br J Anaesth 2000; 85: 69-79 งานวิจัยฉบับนั้นทำให้พี่รู้จัก Sir Edward Schafer ผู้ซึ่งตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับหน้าที่หลักของอินซูลินได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่เมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา และเกิดอะไรขึ้นใน “ยุคมืด” ของวงการ Endocrinology ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1960-1980 ที่ทำให้มีการ “ตีความ” หน้าที่ของอินซูลิน ผิดไปจากสมมุติฐานของ Sir Edward Schafer และกลายเป็นความเข้าใจว่า เซลล์ “ต้องการ” อินซูลิน จึงจะสามารถนำกลูโคสเข้าไปในเซลล์ได้ และความเข้าใจนี้ก็ปรากฎอยู่ใน textbooks และความเข้าใจของคนทั่วไปมาตลอดจนถึงบัดนี้ รวมถึงตัวพี่ปุ๋มเองในอดีตด้วย

💻 จากนั้นพี่ก็เริ่มควานหาข้อมูลที่โต้แย้ง Carbohydrate-Insulin Obesity Model ทำให้ได้รู้จักกับนักวิจัยในสาขา Obesity, Neuroendocrinology คนสำคัญมากมาย ทำให้พี่เริ่มเข้าใจอินซูลินมากขึ้น (ยังมีอีกเยอะที่ต้องศึกษา) เลยอยากเขียน ความเชื่อที่ผิด 6 ประการสำคัญเกี่ยวกับอินซูลิน (Sir Edward Schafer พอใจที่จะเรียก อินซูลิน ว่า “Autacoid” ”Chalone” มากกว่า ฮอร์โมนด้วยซ้ำ) โดยมีงานวิจัยประกอบ เป็นงานช้างเลยทีเดียวค่ะ

ประโยชน์ที่เชื่อว่าน้องๆจะได้รับคือ

1. เข้าใจบทบาทที่แท้จริงของอินซูลิน ที่มีคุณูปการต่อร่างกาย

2. เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลินกับระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของร่างกาย (ความอ้วนนี่แหละ)

3. ไม่ freak out กลัว คาร์โบไฮเดรต กลัวอินซูลินแบบไม่มีเหตุผล

4. เลือกไดเอ็ทที่จะใช้ลดน้ำหนักได้อย่างเหมาะสมกับตัวเอง โดยไม่ติดอยู่กับไดเอ็ทกลุ่มคาร์โบไฮเดรตต่ำแต่เพียงอย่างเดียว

ใน vdo ตอนที่ 1 ความยาวเกือบ 50 นาที สรุปความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอินซูลิน 2 ข้อแรกก่อนคือ

1. เซลล์ ต้องการ อินซูลินในการนำพากลูโคสเข้าเซลล์ จริงหรือไม่

2. คาร์โบไฮเดรตกระตุ้นอินซูลิน เกิดการสะสมเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วน จริงหรือไม่ พี่อ้างอิงงานวิจัยของ Prof.Sonksen ชื่อ Insulin : Understand Its Action in health and disease เป็นหลัก และเสริมด้วยงานวิจัยฉบับอื่นๆ

🥰 เชิญติดตามชมได้เลยค่ะ

  continue reading

117 ตอน

ทุกตอน

×
 
Loading …

ขอต้อนรับสู่ Player FM!

Player FM กำลังหาเว็บ

 

คู่มืออ้างอิงด่วน