Artwork

เนื้อหาจัดทำโดย webmaster and ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana เนื้อหาพอดแคสต์ทั้งหมด รวมถึงตอน กราฟิก และคำอธิบายพอดแคสต์ได้รับการอัปโหลดและจัดเตรียมโดย webmaster and ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana หรือพันธมิตรแพลตฟอร์มพอดแคสต์โดยตรง หากคุณเชื่อว่ามีบุคคลอื่นใช้งานที่มีลิขสิทธิ์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ที่นี่ https://th.player.fm/legal
Player FM - แอป Podcast
ออฟไลน์ด้วยแอป Player FM !

อุเบกขา 10 [6450-3d]

1:00:09
 
แบ่งปัน
 

Manage episode 314591121 series 2968615
เนื้อหาจัดทำโดย webmaster and ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana เนื้อหาพอดแคสต์ทั้งหมด รวมถึงตอน กราฟิก และคำอธิบายพอดแคสต์ได้รับการอัปโหลดและจัดเตรียมโดย webmaster and ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana หรือพันธมิตรแพลตฟอร์มพอดแคสต์โดยตรง หากคุณเชื่อว่ามีบุคคลอื่นใช้งานที่มีลิขสิทธิ์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ที่นี่ https://th.player.fm/legal

❝ อุเบกขา 10 ❞ หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลาง ๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว เช่น ไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแส หรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้ เป็นต้น

ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือ เป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคง ไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผล ถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้ เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้

อุเบกขา 10 ประเภท ได้แก่...

1) อุเบกขาในพรหมวิหาร 4 เป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้ พิจารณาปลงใจลงไปในกรรมว่า "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน ทำดี จักได้ดี ทำชั่ว จักได้ชั่ว แต่ละสัตว์บุคคล ทั้งตนเอง แต่ละคน ย่อมต้องเป็นไปตามกรรมของตน ตามที่ตนได้กระทำไว้"

และยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ก็พิจารณาโดยถึงปรมัติ คือ โดยเนื้อความที่ละเอียด ลุ่มลึก ว่า "ที่เรียกว่า สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา นั้น เป็นสมมุติบัญญัติ และโดยปรมัติแล้ว ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เมื่อพิจารณาดังนี้ จะทำให้จิตใจปล่อยวางความยึดถือในสัตว์ หรือโดยความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาได้"

2) อุเบกขาในอายตนะ 6 คือ การวางเฉยในอายตนะทั้ง 6

3) อุเบกขาในความเพียร คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป

4) อุเบกขาในโพชฌงค์ ❝โพชฌงค์ 7 ❞ เป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม อุเบกขาในโพชฌงค์ จึงหมายถึง จิตมีอุเบกขา เป็นองค์ประกอบในการที่เราจะรู้ธรรมะ เห็นธรรมะ ให้เกิดการปล่อยวาง ละกิเลส ตัณหา อวิชชาได้ ให้ออกไปจากจิตใจได้ อุเบกขาตัวนี้จึงเป็นผลกันมาของโพชฌงค์ทั้ง 7

5) อุเบกขาในฌาน อุเบกขา ตั้งแต่ฌาน 3 ขึ้นไป "เธอมีความคิดดังนี้ว่า มิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข"

"เธอยังไม่ยินดีเพียงตติยฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้นเราพึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่" #พระพุทธพจน์

6) อุเบกขาในเวทนา เวลาเราวางความสุข ความทุกข์ อทุกขมสุข (ความไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข) แล้ว ก็จะเหลืออุเบกขาในเวทนา อุเบกขาในเวทนา จึงเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ที่ว่ามันละเอียดลงไปกว่าอทุกขมสุข

7) อุเบกขาในสังขาร คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 (สังขาร ในที่นี้หมายถึง ขันธ์ 5) ต้องเห็นขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ความวางเฉยเกิดขึ้นแน่นอน เพราะจิตเราจะไม่เข้าไปยึดถือสิ่งนั้น โดยความเป็นตัวตน เราก็จะไม่ยินดี ยินร้าย สะดุ้ง สะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงของขันธ์ 5 นั้น อุเบกขามันจึงแทรกอยู่ในวิปัสสนาแทรกอยู่ในสังขารนี้ด้วย หมายความว่า คุณทำวิปัสสนาแล้ว อุเบกขานั้น จึงเป็นสิ่งที่หวังได้ วางเฉยได้ในสังขาร

8) อุเบกขาในวิปัสสนา "วิปัสสนา" แปลว่า เห็นตามความเป็นจริง เห็นตามความเป็นจริงโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

9) อุเบกขาในเจตสิก หรือ อุเบกขาที่ยังธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน ไม่ว่าจะเรื่องพรหมวิหาร 4 อายตนะ ความเพียร โพชฌงค์ ฌาน เวทนา สังขาร และวิปัสสนา เพราะมันอยู่ในจิต องค์ประกอบของจิตตรงนี้ ก็คือ "เจตสิก" เป็นอุเบกขาในเจตสิก จึงเป็นเหตุให้อุเบกขานั้น ไปอยู่ในทุกที่ทุกอย่างทุกส่วนได้

10) อุเบกขาในสติบริสุทธิ์ อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก อุเบกขาปราศจากข้าศึก อุเบกขาที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา คำนี้อยู่ในหัวข้อของฌานที่ 3

❝ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ❞

#พระพุทธพจน์



Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  continue reading

304 ตอน

Artwork
iconแบ่งปัน
 
Manage episode 314591121 series 2968615
เนื้อหาจัดทำโดย webmaster and ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana เนื้อหาพอดแคสต์ทั้งหมด รวมถึงตอน กราฟิก และคำอธิบายพอดแคสต์ได้รับการอัปโหลดและจัดเตรียมโดย webmaster and ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana หรือพันธมิตรแพลตฟอร์มพอดแคสต์โดยตรง หากคุณเชื่อว่ามีบุคคลอื่นใช้งานที่มีลิขสิทธิ์ของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ที่นี่ https://th.player.fm/legal

❝ อุเบกขา 10 ❞ หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลาง ๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว เช่น ไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแส หรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้ เป็นต้น

ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือ เป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคง ไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผล ถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้ เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้

อุเบกขา 10 ประเภท ได้แก่...

1) อุเบกขาในพรหมวิหาร 4 เป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้ พิจารณาปลงใจลงไปในกรรมว่า "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน ทำดี จักได้ดี ทำชั่ว จักได้ชั่ว แต่ละสัตว์บุคคล ทั้งตนเอง แต่ละคน ย่อมต้องเป็นไปตามกรรมของตน ตามที่ตนได้กระทำไว้"

และยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ก็พิจารณาโดยถึงปรมัติ คือ โดยเนื้อความที่ละเอียด ลุ่มลึก ว่า "ที่เรียกว่า สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา นั้น เป็นสมมุติบัญญัติ และโดยปรมัติแล้ว ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เมื่อพิจารณาดังนี้ จะทำให้จิตใจปล่อยวางความยึดถือในสัตว์ หรือโดยความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาได้"

2) อุเบกขาในอายตนะ 6 คือ การวางเฉยในอายตนะทั้ง 6

3) อุเบกขาในความเพียร คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป

4) อุเบกขาในโพชฌงค์ ❝โพชฌงค์ 7 ❞ เป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม อุเบกขาในโพชฌงค์ จึงหมายถึง จิตมีอุเบกขา เป็นองค์ประกอบในการที่เราจะรู้ธรรมะ เห็นธรรมะ ให้เกิดการปล่อยวาง ละกิเลส ตัณหา อวิชชาได้ ให้ออกไปจากจิตใจได้ อุเบกขาตัวนี้จึงเป็นผลกันมาของโพชฌงค์ทั้ง 7

5) อุเบกขาในฌาน อุเบกขา ตั้งแต่ฌาน 3 ขึ้นไป "เธอมีความคิดดังนี้ว่า มิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข"

"เธอยังไม่ยินดีเพียงตติยฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้นเราพึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่" #พระพุทธพจน์

6) อุเบกขาในเวทนา เวลาเราวางความสุข ความทุกข์ อทุกขมสุข (ความไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข) แล้ว ก็จะเหลืออุเบกขาในเวทนา อุเบกขาในเวทนา จึงเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ที่ว่ามันละเอียดลงไปกว่าอทุกขมสุข

7) อุเบกขาในสังขาร คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 (สังขาร ในที่นี้หมายถึง ขันธ์ 5) ต้องเห็นขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ความวางเฉยเกิดขึ้นแน่นอน เพราะจิตเราจะไม่เข้าไปยึดถือสิ่งนั้น โดยความเป็นตัวตน เราก็จะไม่ยินดี ยินร้าย สะดุ้ง สะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงของขันธ์ 5 นั้น อุเบกขามันจึงแทรกอยู่ในวิปัสสนาแทรกอยู่ในสังขารนี้ด้วย หมายความว่า คุณทำวิปัสสนาแล้ว อุเบกขานั้น จึงเป็นสิ่งที่หวังได้ วางเฉยได้ในสังขาร

8) อุเบกขาในวิปัสสนา "วิปัสสนา" แปลว่า เห็นตามความเป็นจริง เห็นตามความเป็นจริงโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

9) อุเบกขาในเจตสิก หรือ อุเบกขาที่ยังธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน ไม่ว่าจะเรื่องพรหมวิหาร 4 อายตนะ ความเพียร โพชฌงค์ ฌาน เวทนา สังขาร และวิปัสสนา เพราะมันอยู่ในจิต องค์ประกอบของจิตตรงนี้ ก็คือ "เจตสิก" เป็นอุเบกขาในเจตสิก จึงเป็นเหตุให้อุเบกขานั้น ไปอยู่ในทุกที่ทุกอย่างทุกส่วนได้

10) อุเบกขาในสติบริสุทธิ์ อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก อุเบกขาปราศจากข้าศึก อุเบกขาที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา คำนี้อยู่ในหัวข้อของฌานที่ 3

❝ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ❞

#พระพุทธพจน์



Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  continue reading

304 ตอน

ทุกตอน

×
 
Loading …

ขอต้อนรับสู่ Player FM!

Player FM กำลังหาเว็บ

 

คู่มืออ้างอิงด่วน