The Momentum สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
Loading …
show series
 
b-holder ร่วมย้อนอดีตไปหาคำตอบว่า ที่จริงแล้วดีกรีความเป็น ‘นักประชาธิปไตย’ ของ ทักษิณ ชินวัตร นั้นเข้มข้นขนาดไหน อะไรที่ประกอบสร้างให้ภาพ ‘ประชาธิปไตย’ ติดกับแบรนด์ของเขา แล้วจนถึงวันนี้ยังคงเหลือความเป็น ‘นักประชาธิปไตย’ อยู่หรือไม่โดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
3 ปีผ่านไป หลังรัฐประหารที่มีข้ออ้างว่าด้วยเรื่อง ‘รักษาความสงบ’ และขจัด ‘คอร์รัปชัน’ สถานการณ์ในเมียนมายังคุกรุ่น.กองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์รวมตัวกันสู้รัฐบาลทหารของ พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย (Min aung hlaing) จนยิบตา หลายพื้นที่กองกำลังเหล่านี้เอาชนะกองทัพของรัฐบาลได้ และแม้รัฐส่วนกลางจะใช้อาวุธหนักจัดการเพียงใด ก็ไม่สู้การต่อสู้แบบ ‘กองโจร’ ที่…
  continue reading
 
ในความเป็นจริง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงสถานะอย่างยากลำบาก ช่วงเวลาแห่งการครองราชย์ 7 ปี เต็มไปด้วยสถานการณ์แห่งความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาเศรษฐกิจตกต่ำ หรือปัญหาภายในพระบรมวงศานุวงศ์อันยุ่งเหยิง แน่นอนว่า ปัญหาทั้งหมดเป็นปฐมเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ทำให้ในหลวงรัชกาลที่ 7 เป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญา…
  continue reading
 
พาย้อนกลับไปดูพัฒนาการทุนไทยยุคจอมพลสฤษดิ์ ว่าพวกเขาเริ่มร่ำรวยขึ้นได้อย่างไร และบรรยากาศการเมืองแบบใดที่ทำให้คนเหล่านี้สามารถร่ำรวย สร้างทรัพย์ศฤงคารได้ในห้วงเวลาการ ‘พัฒนา’ ประเทศโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
ถึงวันนี้ ‘Soft Power’ วลีสั้นๆ ที่โจเซฟ ไนลส์ (Joseph Nyles) คิดขึ้นเมื่อหลายทศวรรษก่อน กลายเป็นวลีที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย หลายคนวิจารณ์ว่าไม่ตรงกับความหมายดั้งเดิม ขณะที่หลายคนวิจารณ์ว่า วลีนี้ถูกใช้เกลื่อนกลาดเกินไป และยุคนี้ อะไรก็ดูจะเข้าทาง Soft Power หมด เพราะหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่อย่าง แพทองธาร ชินวัตร เกิดสนใจเรื่องนี้!แต่เอาเข้าจริงแล้ว…
  continue reading
 
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถือเป็น ‘จุดเปลี่ยน’ สำคัญของประวัติศาสตร์ไทย เมื่อประชาชนจำนวนมากรวมใจกันล้ม จอมพล ถนอม กิตติขจร และเครือข่าย เป็นชัยชนะของประชาชนในแบบที่ไม่มีใครคาดคิดว่า ‘เผด็จการ’ ที่ดำรงตำแหน่งยืนยาวขนาดนั้น จะถูกล้มได้ง่ายเพียงนี้ก่อนจะถึงวันที่ 14 ตุลาฯ คำถามสำคัญก็คือ อะไรคือสิ่งที่ทำให้จอมพลถนอมแข็งแกร่งได้เพียงนั้น…
  continue reading
 
การเติบโตของเกาหลีใต้ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเป็นเรื่องอันอัศจรรย์ เพราะหากเทียบเคียงประวัติศาสตร์ว่าด้วย ‘การเมือง’ แล้ว เกาหลีใต้แทบจะ ‘ล้ม ลุก คลุก คลาน’ ไปพร้อมกับไทย หากไทยมีการรัฐประหาร เกาหลีใต้ก็มีอยู่หลายครั้ง และเหตุการณ์ประวัติศาสตร์บาดแผลในกวางจู ก็สร้างรอยช้ำไม่แพ้เหตุการณ์เดือนตุลาฯ ในประวัติศาสตร์ไทยคำถามสำคัญก็คือ แล้วเกาหลีใต้เข้า…
  continue reading
 
“ตั้งแต่อภิวัฒน์สยาม 2475 จนถึงวันนี้ เราไม่มีพรรคการเมืองที่เป็นพรรคการเมืองจริงๆ ส่วนใหญ่เป็นที่รวมตัวกันของคนไปลง ส.ส. เก็บจำนวน ส.ส.ให้เยอะๆ แล้วก็ไปแลกตำแหน่งรัฐมนตรีเท่านั้น”จากพรรคอนาคตใหม่มาถึงพรรคก้าวไกล วันนี้เป็นการเดินทางยาวนาน 6 ปี ของพรรคการเมืองน้องใหม่ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า เกิดขึ้นเพื่อ ‘เปลี่ยน’ ภูมิทัศน์การเมืองไทยให้หลุดพ้นจากสิ…
  continue reading
 
เมื่อ 18 ปีก่อน รถยนต์แดวู เอสเปอโร จอดอยู่ใต้สะพานบางพลัดพร้อม ‘ระเบิด’ เต็มคันรถ หมายมุ่งสังหาร ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำประเทศหากระเบิดนั้นทำงานจริง รัศมีของระเบิดจะกินพื้นที่กว่า 1 กิโลเมตร วัตถุที่อยู่รอบๆ 40-50 เมตร จะถูกแรงระเบิดจนพังพาบทั้งหมด และอาจมีผู้เสียชีวิตหลักร้อยคน รวมถึงทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรีและเป้าสังหารสำคัญแต่เมื่อระเบิดไม่ทำงาน ก…
  continue reading
 
จนถึงวันนี้ ไม่มีใครปฏิเสธว่าระบอบ 3 ป. ที่นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่ครองอำนาจยาวนานเกือบหนึ่งทศวรรษ ได้ใกล้จุดอวสานเข้าไปทุกที จากผลการเลือกตั้งที่ย่ำแย่ และไม่ว่าจะรวมเสียงอย่างไร ก็ยากที่จะดึง 3 ป. กลับมาให้เป็นปึกแผ่นเหมือนเดิมได้ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เราพาย้อนกลับไปเพ่งพินิจการกำเนิดข…
  continue reading
 
ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ปี 2551 เป็นปีที่น่าตื่นเต้นที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย1 ปี เรามีนายกฯ ถึง 4 คน มีการพลิกขั้วทางการเมือง มีโอกาสที่จะเกิดการรัฐประหาร มีการต่อสู้กันของ ‘การเมืองมวลชน’ เหลือง-แดง ที่เปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองไปใหม่ และจบท้ายปีด้วยเหตุการณ์ ‘ยึดสนามบิน’ และยุบพรรคการเมือง ใช้ตุลาการภิวัฒน์เพื่อแก้วิกฤต ที่สุดท้ายก็วิกฤตอยู่ดี…
  continue reading
 
หาก ‘ถือหุ้นสื่อ’ ไม่เป็นเงื่อนไขต้องห้ามของ ส.ส. และเกี่ยวพันกับตำแหน่ง นายกฯ ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตามรัฐธรรมนูญ ณ วันนี้ ก็คงไม่มีใครเชื่อว่า ‘ไอทีวี’ ยังคงเป็น ‘สื่อ’ อยู่ เพราะจุดสิ้นสุดของไอทีวีนั้นจบลงอย่างสมบูรณ์แบบเมื่อ 16 ปีก่อน และเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘ไทยพีบีเอส’เอาเข้าจริงเรื่อง ‘ไอทีวี’ ถือเป็นตัวบ่งบอกฉากต่างๆ ในประวัติศาสตร์การเมือง…
  continue reading
 
ย้อนกลับไปช่วงเดือนพฤษภาคม 2549 ช่วงเวลาที่การเมืองไทยร้อนแรงที่สุด พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกำลังตะโกน ‘ท้ากษิณออกไป’ ข่าวว่าด้วย ‘ปฏิญญาฟินแลนด์’ ก็ผุดขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยเรื่องเริ่มจาก ‘พล็อต’ ในเวทีพันธมิตรฯ และบทความในหนังสือพิมพ์ว่า ทักษิณพร้อมกับกลุ่ม ‘คนเดือนตุลาฯ’ ที่ตั้งพรรคไทยรักไทย ใช้เวลาก่อนตั้งพรรคไปล่องเรือสำราญที่ ‘ฟินแลน…
  continue reading
 
ว่ากันว่าช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนเลือกตั้ง มักจะมีปรากฏการณ์แปลกๆ เสมอส่วนหนึ่งก็เพราะว่าในช่วงนี้ประชาชนจำนวนไม่น้อยตัดสินใจแล้วว่าจะ ‘เลือก’ หรือ ‘ไม่เลือก’ อะไร ดังนั้นพรรคที่คะแนนต่ำกว่าต้องหาทางจัดการพรรคที่คะแนนสูงกว่า และพรรคที่คะแนนสูงกว่าก็ต้องรักษาระดับเดิมไว้ ไม่ให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเกิดเปลี่ยนใจในนาทีสุดท้ายด้วยเหตุนี้แคมเปญในช่วงสอง…
  continue reading
 
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กลายเป็นตำบลกระสุนตก เมื่อหลายเรื่องประดังประเดเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นกรณี ‘เว็บล่ม’ ในคืนสุดท้าย ทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนมากลงทะเบียนไม่ทัน หรืออยู่ดีๆ ก็เกิดต้องไปดูงานต่างประเทศในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และทำให้ประชาชนหลายคนไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธร…
  continue reading
 
การจัดอันดับ ‘ปาร์ตี้ลิสต์’ นับเป็นพิธีกรรมหนึ่งนับตั้งแต่มีสิ่งนี้ขึ้นในสารบบการเมืองไทยปาร์ตี้ลิสต์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลบภาพของ ‘เจ้าพ่อ’ ‘หัวคะแนน’ และ ‘กระสุน’ ในการเมืองไทย พาบรรดามืออาชีพเข้าสู่สนามการเมืองมากขึ้น ทว่านวัตกรรมนี้กลับกลายเป็นหนทางใหม่ของเจ้าของมุ้งและนายทุน เพื่อเข้าสู่ระบบการเมืองโดยที่ไม่ต้องออกแรงมากนักทุกๆ การเลือกตั้ง การจ…
  continue reading
 
​​ภาพจำที่คุณมีต่อ บรรหาร ศิลปอาชา เป็นอย่างไรเป็นนายกรัฐมนตรีร่างเล็กที่พูดเสียงดัง เป็นนักการเมืองที่ร่วมรัฐบาลได้ตลอด เป็นสัญลักษณ์แห่ง ‘สุพรรณบุรี’ หรือเป็นทุกอย่างรวมกันหากย้อนกลับไป บรรหาร ศิลปอาชา คือหนึ่งชื่อที่เปลี่ยนการเมืองไทย… คนธรรมดาๆ คนหนึ่งจากสุพรรณบุรีที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจก่อสร้าง วันหนึ่งกลับ ‘ยึด’ พรรคชาติไทย พรรคของขุนทหาร…
  continue reading
 
​​หากย้อนเรื่องราวกลับไปในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ ‘กบฏ 20 มีนาคม 2520’ นำโดย พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก ยังเป็นความพยายามรัฐประหารที่มี ‘ปริศนา’ เกิดขึ้นหลายประการ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของแรงจูงใจ เบื้องหลัง และเรื่องราวต่างมุมที่แวดล้อมเหตุการณ์สำคัญอย่างการสังหาร พลตรี อรุณ ทวาทศิน ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กลางกองบัญชากา…
  continue reading
 
การเมืองแบบ ‘เจ้าพ่อ’ และ ‘บ้านใหญ่’ ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่อยู่คู่กับประชาธิปไตยแบบไทยๆ มาหลายทศวรรษ การถือกำเนิดของบ้านใหญ่มาจากการ ‘อุปถัมภ์’ ทั้งตัวบุคคล ชุมชน และสร้างบารมีจากการสะสมทรัพยากรในจังหวัด สยายปีกไปยังการทำธุรกิจต่างๆ และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็ลงสนามการเมือง ทำให้หลายนามสกุลอยู่คู่กับสนามการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น และในระดับชาติมาอย…
  continue reading
 
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี” เป็นถ้อยความสั้นๆ ที่ ‘ทรงพลัง’ และกลายเป็นจุดศูนย์กลางท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองยุคใหม่อันที่จริงหากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ความผิดฐาน ‘ดูหมิ่น’ พระมหากษัตริย์นั้นไม…
  continue reading
 
เมื่อการรัฐประหารกับการเมืองไทยเป็นของคู่กัน สิ่งที่มักเกิดขึ้นในอดีตก็คือเมื่อ ‘ทหาร’ ต้องการวางมือจากการเป็นเผด็จการก็ต้องตั้งพรรคทหารมารองรับ วิธีปฏิบัตินั้นไม่ต่างจากเดิม โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวคือ ‘ไปต่อ’ ฉะนั้นต้องใช้สรรพกำลังทุกวิถีทางเพื่อดึงดูด ส.ส.กลุ่มเดิมๆ เข้า ไม่ว่าจะด้วยกำลังเงิน หรือด้วยโปรโมชันย้ายค่าย-เคลียร์คดี เพื่อให้มี ส.ส.ในมือ…
  continue reading
 
ในประวัติศาสตร์ไทย การสืบราชสันตติวงศ์เป็นเรื่องวุ่นวาย ในสมัยอยุธยานั้น การไม่กำหนดกฏเกณฑ์ อาศัยเพียงพระราชอำนาจและขุมกำลังว่าฝ่ายใดเหนือกว่า เป็นต้นเหตุของการล้มราชวงศ์อยู่หลายครั้ง และปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นต้นเหตุให้อาณาจักรเกิดความระส่ำระสายทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ผลัดแผ่นดินครั้นถึงสมัยในหลวง รัชกาลที่ 5 เริ่มมีพัฒนาการ คือใช้วิธีการตั้งมกุฎราช…
  continue reading
 
หากจำกัดความสถานการณ์การเมืองไทยในปี 2022 คงอยู่ภายใต้ 3 คำโดดเดี่ยว - ด้วยสถานะของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในรอบปีที่ 8 ที่ไม่ได้มี ‘อำนาจเต็ม’ อยู่ในมือ และต้องต่อรองกับบรรดา ส.ส. มองอย่างไรก็หนีไม่พ้นคำนี้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบหลัง คะแนนของพลเอกประยุทธ์ยังอยู่ในระดับ ‘รองบ๊วย’ น้อยกว่ารัฐมนตรีและรองนายกฯ หลายคนอลเวง - สภาวะสุญญา…
  continue reading
 
Ways of Being Wilds EP.14 ขอชวนคุณผู้ฟังมาร่วมส่งท้ายปี 2565 กับวรรณคดีไทยเนื้อหาสุดพิลึก ที่บางเรื่องแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้ประพันธ์ขึ้นมาได้ เหตุใดวรรณกรรมเหล่านี้แทบไม่หลงเหลืออยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย และวรรณกรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงบริบทสังคมไทยในช่วงเวลานั้นอย่างไรบ้าง ขอเชิญมาหาคำตอบไปพร้อมกัน…
  continue reading
 
หากพูดถึงบรรดาบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ‘เจ้าดารารัศมี’ คือหนึ่งในนั้นผ่านมาร้อยกว่าปี เรื่องที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรง ‘ขอตัว’ เจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าเมืองเชียงใหม่มาแต่งงานในกรุงเทพฯ ยังเป็นประวัติศาสตร์อันลือลั่น เรื่องราวที่เล่าต่อกันภายหลัง มีทั้งในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงรับเลี้ยงเจ้าดารารัศมี เพื่อไม่ให้ควีนวิกตอเรียขออังกฤษขอเป็นลูกบุญธ…
  continue reading
 
สถานการณ์การเมืองล่าสุดของประเทศจีนหลังจาก ‘สี จิ้นผิง’ (Xi Jinping) ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนติดต่อกันเป็นสมัยที่ 3 ภายในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 20 แบบเต็มคณะครั้งแรก ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16-22 ตุลาคม 2022 ณ หอประชุมประชาชน กรุงปักกิ่ง หมายความว่าประธานาธิบดีสีจะยังคงรักษาตำแหน่งผู้มีอำนา…
  continue reading
 
หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ สมัย ‘ล้านนา’ ยังไม่อยู่ภายใต้สยาม ครูบาศรีวิชัยน่าจะเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ด้วยชื่อเสียงของการเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา ผู้ซ่อมแซมวัดวาอารามหลักหลายร้อยวัด และด้วยแรงศรัทธา ซึ่งสามารถรวมทั้งพระสงฆ์และฆราวาส จนสามารถดูแลวัด สร้างวัด กระทั่งสร้างถนนหนทางในจำนวนมหาศาลขนาดนั้นได้ทั่วภาคเหนือแรงศรัทธาของผู้คนมหาศาลไ…
  continue reading
 
จำลอง ดาวเรือง, ถวิล อุดล, ทองเปลว ชลภูมิ และ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ คือชื่อของ 4 อดีตรัฐมนตรี คนสนิทของ ปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกสังหารโหดริมถนนพหลโยธินในช่วงกลางดึกวันที่ 4 มีนาคม 2492 เป็นการสังหารในระหว่างที่ตำรวจกำลังควบคุมตัวคนเหล่านี้ไปไว้ยัง ‘ที่ปลอดภัย’ พอดิบพอดีเรื่องเล่าจากทางการระบุว่าในระหว่างการเคลื่อนย้ายทั้ง 4 ราย เกิดมีโจรมลายูบุกชิงตัว แล…
  continue reading
 
“ถ้าชีวิตนี้มีสิทธิ์เลือกวันตายหรือวิธีตายเป็นของตัวเองจะเป็นไปได้จริงหรือเปล่า”คำตอบคือเป็นไปได้ หลายประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกายินดีให้ความสำคัญกับการออกกฏหมาย ‘การุณยฆาต’ (Euthanasia) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 90s เพื่อรองรับความต้องการของบุคคลที่ต้องเจ็บป่วยและทรมานด้วยโรคร้ายเรื้อรัง ที่ทำได้แค่เพียงใช้ยาระงับอาการไปวันๆ ต้องอยู่ในสภาพช่วยเหลือต…
  continue reading
 
หากนับโศกนาฏกรรมเดือนตุลาคม ก็ควรต้องบรรจุเหตุการณ์ ‘ตากใบ’ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เข้าไปด้วยเหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นในช่วงประชาธิปไตยเต็มใบ หลังสลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เจ้าหน้าที่ทหารได้รับคำสั่งให้จับผู้ชุมนุมขึ้นรถทหารด้วยเสียงสั้นๆ ว่า ‘ขนไปให้หมด…
  continue reading
 
ใครที่เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียบ่อยๆ คงเคยผ่านตากับคำว่า ‘Woke’ ที่เป็นคำกริยาช่องสองที่ผันมาจาก ‘Wake’ ซึ่งมีความหมายว่า ‘ตื่น’ แต่คำดังกล่าวกลับถูกนำมาล้อเลียนเสียดสีจนกลายเป็นชนวนคำว่า Woke ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกโซเชียลเมื่อปี 2020 ในความหมายเปรียบเปรยเสมือนผู้ที่ ‘ตื่นรู้’ ทั้งในเรื่องของความเท่าเทียมระหว่างสีผิว ความเท่าเทียมทางเพศ ไปจนถ…
  continue reading
 
หากว่ากันตามประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จบลงด้วยชัยชนะของประชาชนในการขับไล่รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ออกไปได้ ผ่านการต่อสู้ของขบวนการนักศึกษา เป็นการปิดฉากระบอบเผด็จการอันยืนยาวแต่ในอีกด้านหนึ่ง เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก็ยังมีเรื่อง ‘ลึกลับ’ อีกมาก เพราะการที่ประชาชนจะล้ม ‘อำนาจรัฐ’ ได้นั้น ย่อมมี ‘มือที่มองไม่เห็น’ อื่นๆ เข้ามาช่วยในการล้ม แ…
  continue reading
 
28 กันยายน 2549 สนามบินสุวรรณภูมิเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ในฐานะ ‘หน้าตา’ ของประเทศ ด้วยความคาดหวังว่าจะเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ทัดเทียมกับสนามบินชางงีของสิงคโปร์ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนไทยต้องรอนานเกิน 40 ปีกว่าสนามบิน ‘หนองงูเห่า’ แห่งนี้จะสร้างเสร็จ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการวาดฝันของ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ออกแรงอย่างหนักเพื่อให้สนามบินแห่งนี้เสร็จทันสมัย…
  continue reading
 
เพื่อคลายความสงสัยว่าปัจจัยใดทำให้หลายประเทศต้องตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ และประเทศไทยจะมีสิทธิ์เกิดสถานการณ์รูปแบบคล้ายกันเหมือนวิกฤตต้มยํากุ้ง ปี 2540 หรือไม่ Way of Being Wilds EP นี้ ชวนมาร่วมไขคำตอบโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
ร่วมกันหาคำตอบว่าเพราะเหตุใดประเทศคอมมิวนิสต์แห่งนี้ ถึงได้มีศักยภาพมากพอที่จะเป็น ‘คู่เทียบ’ กับบ้านเรา ขณะเดียวกัน มีเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ไทยยังคงย่ำอยู่กับที่โดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
ย้อนกลับไปวันที่ 13 สิงหาคม 2565 เกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญ หลังนักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดีย ‘ซัลมัน รัชดี’ (Salman Rushdie) ถูกชายนิรนามคนหนึ่งจู่โจมทำร้ายอย่างอุกอาจด้วยการชกต่อย พร้อมใช้มีดปลายแหลมแทงบริเวณท้องและลำคอ ขณะกำลังขึ้นเวทีบรรยายในงานวิชาการของสถาบันเชาทากัว รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ต่อหน้าผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,500 ราย ก่อนที่เจ…
  continue reading
 
b-holder พาย้อนกลับไปฟังเรื่องราวของกบฏ 9 กันยาฯ 2528 เพื่อฟังความพิเศษของการก่อการรัฐประหารครั้งนี้ว่าเกิดความผิดพลาดในจุดใด ทำไมจึงคว้าน้ำเหลว และร่วมกันหาคำตอบว่ามีตัวละครใดที่นัดไว้ แต่กลับเปลี่ยนใจในนาทีสุดท้าย จนทำให้ผู้ก่อการทั้งหมดต้องหนีออกนอกประเทศอีกครั้งโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
ชวนฟังเรื่องราวที่ถูกเรียกขานว่า ‘วิกฤตช็อกโกพาย’ ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ พร้อมไขสาเหตุที่ทำให้ขนมสุดแสนจะธรรมดา กลายเป็นชนวนเหตุแห่งความบาดหมางระหว่างสองประเทศได้ถึงเพียงนี้โดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
ชวนย้อนเส้นทางชีวิตทางการเมืองของ นายกฯ สมัคร ผู้ที่มีชีวิตผาดโผนที่สุด และสำรวจว่ามีอะไรเบื้องหลังการตัดสินใจของสมัครในแต่ละครั้งที่เขาตัดสินใจรับตำแหน่งสำคัญบ้าง แล้วเพราะเหตุใด จากคน ‘ขวา’ สุดขอบ จึงถูกจัดการอย่างเด็ดขาดในช่วงปีท้ายๆ ของชึวิตทางการเมืองโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
Ways of Being Wild EP7 พาคุณผู้ไปทำความรู้จักกับตำนานสุดแฟนตาซีของสุนัขพันธุ์คอร์กี้ พร้อมด้วยประวัติความเป็นมา ความสัมพันธ์อันน่าประทับใจต่อควีนเอลิซาเบธที่ 2 และสัมผัสความคลั่งไคล้ในฐานะ Corgi Lover ของ ‘ปั๊บ’ - พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์ ผู้ดำเนินรายการโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
b-holder ชวนย้อนดู ‘ตำนาน’ ของการก่อสร้าง และบรรดาเรื่องราวไม่ชอบมาพากลในโครงการใหญ่ของกองทัพบก และร่วมกันพยายามแกะรอยว่าทำไมเรื่องนี้ถึงเอาผิดใครไม่ได้สักคนโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
b-holder ชวนย้อนกลับไปพินิจพิเคราะห์ต้นทาง กลางทาง และปลายทางของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ฉบับที่ว่ากันว่า ‘ดีที่สุด’ ว่ามีความยากลำบากเพียงใด แล้วร่วมกันหาคำตอบว่าทำไมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถึงมีนายกรัฐมนตรีคนเดียวโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
Ways of Being Wild EP6 พาย้อนรอยความเชื่อของศาสนาผีและศาสนาพุทธในประเทศไทย เหตุใดความเชื่อเรื่องศาสนาผีจึงสอดแทรกอยู่ในคติความเชื่อของศาสนาพุทธได้อย่างแนบเนียนมายาวนานหลายร้อยปีโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
b-holder EP นี้ จะพาไปสำรวจแง่มุมสำคัญของการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ ครั้งนี้ ตั้งแต่การรวมตัวกันของบรรดา ‘ราษฎร’ ความสำคัญของการปฏิวัติสยาม ไปจนถึงวันที่ผู้ก่อการทั้งหลายเกิดผิดใจกัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ไปไม่ถึงฝั่งฝัน และวันที่ชื่อของผู้มีส่วนร่วมค่อยๆ ถูกลบออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ ว่ามีสาเหตุเบื้องหลัง มีเกร็ดประวัต…
  continue reading
 
เนื่องในเดือนแห่งการต่อสู้เพื่อความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ พอดแคสต์ Ways of Being Wild EP5 สัปดาห์นี้ ขอชวนคุณผู้ฟังมาร่วมถกประเด็นหัวข้อแนวคิดปิตาธิปไตยที่แอบแฝงอยู่ในวัฒนธรรมชาวเอเชีย (The Patriarchy of Asianism) ถึงต้นตอ บริบทต่อสังคมชาวเอเชีย และคำถามที่ว่า ประเทศเจริญแล้วต้องสลัดความคิดชายเป็นใหญ่ให้หลุดพ้นก่อนหรือไม่…
  continue reading
 
b-holder ตอนนี้ จะพาไปวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างในทางการเมือง ระหว่างพลเอกประยุทธ์และพลเอกเปรม ทำไมพลเอกประยุทธ์ถึงไม่เท่ากับพลเอกเปรม และไม่มีทางเป็นพลเอกเปรมได้ บวกกับร่วมกันทำนายบั้นปลายรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ ว่าถึงที่สุดจะมีสภาพเป็นอย่างไรโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
เนื่องในเดือนชนวนเหตุแห่งการปฏิวัติประเทศอิหร่าน ขอชวนผู้ฟังร่วมถกประเด็นว่า เหตุใดศาสนาอิสลามจึงมีอิทธิพลต่อประเทศมหาอำนาจแห่งตะวันออกกลางประเทศนี้โดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้กระแส ‘ชัชชาติ’ พุ่งแรงถึงขีดสุด เหตุและปัจจัยที่ทำให้ฝ่าย ‘หนุนรัฐบาล’ พ่ายแพ้อย่างย่อยยับ และแรงกระเพื่อมที่จะส่งต่อไปถึงการเมืองภาพใหญ่ในอนาคตอันใกล้โดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
พอดแคสต์ Ways of Being Wild ตอนที่ 3 ชวนพูดคุยถึงเรื่องราวของ ‘สะมาริตันส์’ ชนเผ่าทายาทสายตรงที่เหลือรอดของอดัมกับอีฟ ซึ่ง ‘ปั๊บ’ - พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์ จากเพจ The Wild Chronicles เพิ่งมีโอกาสได้ไปเยือนอิสราเอล เพื่อพูดคุยและสืบค้นเรื่องราวของพวกเขาถึงถิ่นต้นกำเนิด ในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์โลกที่ยังมีชีวิตอยู่…
  continue reading
 
ในวาระครบรอบ 30 ปี ของเหตุการณ์ความรุนแรง พฤษภา 2535 b-holder ชวนย้อนอดีตไปสำรวจ ‘ปม’ ที่ทำให้เกิดความรุนแรง สำรวจ ‘ตัวละคร’ ว่ามีใครที่เกี่ยวข้องบ้าง พร้อมกับพยายามหาคำตอบว่า เหตุการณ์การชุมนุมโดยสงบ ที่จบด้วยการล้อมปราบนั้น อะไรคือเบื้องหลัง และยังคงเหลือปริศนาอะไรบ้างที่ยังคลุมเครือจนถึงปัจจุบันโดย THE MOMENTUM
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน