Guided Meditation สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
Artwork

1
2 จิตตวิเวก

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Unsubscribe
Unsubscribe
รายสัปดาห์
 
รูปแบบการปฏิบัติธรรมทางวิทยุ (Guided Meditation) ฟังไปด้วย, นั่งสมาธิไปด้วย เพื่อทำจิตที่ประภัสสรให้ผ่องใส ด้วยการเจริญสมถวิปัสสนา นำธรรมะเข้าสู่จิตใจให้ชุ่มเย็นอ่อนเหมาะควรแก่การงาน. New Episode ทุกวันอังคาร เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
  continue reading
 
Loading …
show series
 
ตั้งจิตไว้ตรงจุดเมล็ดพันธุ์แห่งความดีเรียนรู้จากประสบการณ์ เจริญพุทธานุสติ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลสซึ่งมีอยู่รอบทิศทาง ทำความเพียรอย่างเร่งด่วนจะเกิดกุศลธรรม มีสติสัมปชัญญะ เดินตามทางมรรคแปด จะไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลัง ดังที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย Hosted…
  continue reading
 
เจริญวิราคสัญญานิโรธสัญญา ผ่านพุทธานุสสติ จิตเป็นสมาธิ ละเอียดขึ้น ๆ จนเหลือแต่อุเบกขา ไม่มีวิตกวิจารณ์ ไม่มีปีติสุข ทำสมาธิให้มีความชำนาญจะเห็นอาพาธ ของวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข จึงปล่อย คลายกำหนัดสิ่งนั้นเสียนั่นคือวิราคสัญญา จึงนำมาซึ่งความดับคือนิโรธสัญญา เมื่อปล่อย คลายออก จึงเป็นความดับ เมื่อดับจึงเป็นสุข เป็นนิพพานได้อย่างนี้ ความไม่มี หรือมีน้อ…
  continue reading
 
เริ่มจากศรัทธาว่ามีทางที่จะพ้นทุกข์ได้ กำหนดสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกด้วยความเพียร จิตจะรวมลงเป็นสมาธิซึ่งยังต้องอาศัยศีลเป็นตัวผลักดัน กิเลสจะลดลง ไม่ยึดถือขันธ์5 ยึดถือตรงไหนทุกข์อยู่ที่ตรงนั้น คิดเรื่องอะไรมากๆ จิตนั้นจ่อเข้าสิ่งนั้นมีพลังทันที เอาตรงนี้มาใช้ประโยชน์ โดยจดจ่ออยู่กับลมหายใจ สติเราก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น เดินตามทางอันประเสริฐ8อย่าง ละ…
  continue reading
 
การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นธรรมในธรรม เราควรหนีจากงูพิษ ซึ่งคือธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม หนีจากเพชฌฆาตคืออุปทานขันธ์ 5 สิ่งใดมากระทบผ่านอายตนะทั้ง6 ก็เห็นด้วยปัญญาว่าเป็นความว่างเปล่า จะหนีจากงูพิษและเพชฌฆาตดังที่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์ท่านได้นำไปก่อนแล้ว โดยปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดด้วยความมั่นใจ เลื่อมใส และใช้ความเพียรให้เป็นกำลังของเราต…
  continue reading
 
เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือระลึกถึงในความที่ท่านเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้มีปัญญา มีความเพียร เป็นการเจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะทำอะไรให้ระลึกถึงพุทโธ ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เกิดสัมมาสติคือความระลึกชอบ เมื่อจิตไม่คล้อยไปตามอารมณ์ จิตเรามีพลัง จิตได้รับการรักษาด้วยสติ เกิดสัมมาสมาธิ ให้จิตอยู่เหนือ พ้…
  continue reading
 
ต้องฉลาดในขันธ์ทั้งห้าในฐานะทั้งเจ็ด พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธีทั้งสาม จากปัญญา 3 ระดับ ที่เมื่อใคร่ครวญให้เกิดปัญญาจากการภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติแล้ว จะให้ถึงความรู้ยิ่งรู้พร้อม คือความพ้นวิเศษได้ ต้องทำบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ จนเกิดความคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งห้า จึงจะเกิดความพ้นได้ จะสามารถทำปัญญาความรู้แจ้ง ความรู้ซึ้ง ความมีปัญญาหลากหลาย จะกระจายเราให้…
  continue reading
 
เมื่อเราพบปัญหา ความทุกข์ ความท้อใจ ความผิดหวัง นั่นแหละคือโอกาสให้เกิดความสุข กำลังใจ ความหวัง โดยการเจริญพุทธานุสติระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าในด้านความเพียรและการใช้ปัญญาบนพื้นฐานของสมาธิ มีศีลเป็นบาทฐานและหลักมัชฌิมาปฏิปทา เห็นอริยสัจ 4 นั่นคือหนทางสู่ความสำเร็จ โอกาสที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในช่วงที่ได้ฟังธรรมะคำสอนข…
  continue reading
 
ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุทั้ง4 (ดินน้ำไฟลม) มีการรับรู้คือวิญญาณ ทำให้เราตอบสนองในรูปแบบการกระทำ ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่มากระทบ ผ่านทางอินทรีย์ต่างๆเหล่านั้น เมื่อเกิดความเพลิน ความพอใจไปในสิ่งใดนั้นๆ เราจะยึด และทำให้เกิดทุกข์ แก้ไขด้วยการตั้งสติโดยเจริญกายคตาสติ ผ่านธาตุทั้งสี่คือ ลมไฟน้ำดิน เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเกิดปัญญาเห็นทางออกของปัญหา คือการไม…
  continue reading
 
“สติ” เป็นองค์ธรรมสำคัญที่ทำให้เราหลุดออกจากทุกข์ในวัฏฏะของความแก่ ความเจ็บ ความตายได้ และเป็นทักษะที่ฝึกได้ ด้วยการระลึกถึงคุณของพุทโธ ธัมโม สังโฆ จะช่วยทำให้จิตเราตั้งอยู่ในกุศลธรรม ปัญญา ความเพียร ความอดทน ต่างๆ จะมาครอบงำจิตใจของเรา และทำให้อกุศลธรรมออกไป เมื่อมีสติอย่างต่อเนื่อง เกิดสัมมาสมาธิ และปัญญามองเห็นความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นเรื่อง…
  continue reading
 
ยึดจิตเป็นตัวตนไม่ดีเลย ให้จิตของเราอยู่ที่โสตวิญญาณ เอาสติมาจับไว้ อย่าเอาจิตไปไว้ที่อายตนะทั้ง6 อย่าไปตามความรู้สึกเวทนา ให้จิตตั้งอยู่กับโสตวิญญาณ ระลึกถึงตรงนี้อยู่เรื่อยๆ คือมีสติ ความคิดนึก สัญญา สังขาร เวทนามีได้ แต่ไม่ตามไป ให้จิตมาอยู่กับการฟัง ให้เข้าใจธรรมะ ไม่เผลอไม่เพลิน ให้ใคร่ครวญโดยที่มีสติสัมปัญชัญญะอยู่ สิ่งใดที่เป็นนามธรรมทั้งหลา…
  continue reading
 
กิเลสเกิดแต่จิต ในใจเราเองไม่ใช่จากสิ่งภายนอก ซึ่งราคะโทสะโมหะทำให้จิตเศร้าหมองเป็นทุกข์ โดยมีผัสสะเข้าสู่ช่องทางอายตนะทั้ง6 ได้แก่ ตาหูจมูกลิ้นกายและใจ ผ่านวิญญาณการรับรู้ เกิดเวทนาเขื่อมด้วยตัณหา มากระทบจิตมีการปรุงแต่งและตอบสนองแตกต่างกันไป ตามอาสวะที่สั่งสมมา ตั้งสติด้วยการกำหนดอานาปานสติ อาจเผลอลืมลมบ้างก็ให้กลับมากำหนดเอาไว้ที่เดิม ทำอย่างต่อ…
  continue reading
 
ฝึกปฏิบัติภาวนาด้วยการระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ ปักเป็นยอดธงเอาไว้ และปราศจากวิจิกิจฉา สติห่อหุ้มจิตเป็นเยื่อบางๆ ไว้ ไม่แปดเปื้อนกับผัสสะ สติมีกำลัง ความระงับของอายตนะค่อยๆ เกิดขึ้น เกิดอารมณ์อันเดียวเพื่อให้จิตเราเจริญสติปัฏฐาน4 และพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ด้วยหนทางเครื่องไปทางเดียวคือ มรรค8 เกิดสัมมาสมาธิ จิตจะเห็นตามความเป็นจริง ความไม่…
  continue reading
 
จิตเราสามารถฝึกได้ เริ่มจากการตั้งสติด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เกิดสมาธิภาวนา 4 ประเภท ไล่จากเพื่อสติสัมปชัญญะ เพื่อความสุขสงบในธรรม ภาวนาชนิดที่นำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตเกิดญาณทัสสนะ เห็นตามความเป็นจริง เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นภาวนาชนิดที่ให้สิ้นอาสวะ โดยการปฏิบัติมี 4 รูปแบบ คือการใช้สมถะเป็นเบื้องหน้าเป็นตัวนำแล้วเจริญวิปัสสนาใ…
  continue reading
 
ระบบความเพียรมีอยู่ 2 อย่างคือ ระบบความเพียรที่ไร้ผลคือการหาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ และเพลิดเพลินยินดีในความสุข ระบบความเพียรที่มีผลคือระบบของการประพฤติพรหมจรรย์ คือทางสายกลาง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา แจกแจงออกได้เป็นทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง มีสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูล เช่น การสำรวมอินทรีย์ คบกัลยาณมิตร ประมาณในการบริโภค การอ่…
  continue reading
 
มีสติอยู่กับลมหายใจ เกิดสัมมาสมาธิและเจริญพรหมวิหารสี่ตั้งไว้ในใจของเรา เมตตาหมายถึงความรักและปรารถนาดี กรุณาคือความปรารถนาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ มุทิตาหมายถึงความยินดีพอใจที่ได้พ้นจากความทุกข์หรือมีความสุข อุเบกขาคือความวางเฉยทั้งความสุขและความทุกข์เพราะเอาจิตจดจ่อตั้งไว้อยู่กับสมาธิ จากนั้นแผ่ไปทุกทิศ ไม่เว้นใคร ไม่มีขอบเขต เราไม่มองใครเป็น…
  continue reading
 
ชีวิตมนุษย์เป็นของน้อย อาจจะแตกตายไปด้วยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ทำให้มีค่ามากได้ด้วยก่อนนอนทำความเพียรนั่งสมาธิตามหลักอานาปานสติ หลังตื่นขึ้นในยามสุดท้ายแห่งราตรีก็พิจารณาใคร่ครวญด้วยการเจริญกายคตาสติ มีสติสัมปชัญญะตั้งไว้อยู่ในกายของเรา ให้เห็นกายของเราตามความเป็นจริง ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนัตตา จะเกิดปัญญาอย่างใหญ่ ทำความดีด้ว…
  continue reading
 
สู่โพชฌงค์เจ็ดด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ คือเห็นจิตในจิตจากการปรุงแต่ง หมายถึงสังเกตดูว่าจิตของเราเป็นอย่างไร เกิดเป็นสติที่ตั้งไว้ สังเกตทีละน้อยทีละน้อย และใช้ความรู้ที่เป็นกุศลในการแยกแยะจิตออกจากการปรุงแต่งของจิต ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อทำสติของเราให้มีกำลังเพิ่มขึ้น เกิดเป็นสมาธิซึ่งก็คือความที่จิตเป็นอารมณ…
  continue reading
 
เพราะรักสุขเกลียดทุกข์ ทำให้คนทั่วไปไม่เข้าใจต่อเวทนาอย่างแท้จริง เข้าใจเพียงด้านเดียว ความไม่เข้าใจนี้คืออวิชชามีความยุ่งเหยิงเป็นตัณหา แต่สัตบุรุษจะมีความเข้าใจว่าเวทนาไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์หรือแม้แต่อทุกขมสุข ล้วนสามารถบรรเทาซึ่งกันและกันได้ ดังเช่นความหิวเป็นทุกขเวทนา บรรเทาด้วยความสุขจากการลิ้มรส เมื่ออิ่มสุขนั้นก็บรรเทาไปด้วยอทุกขมสุข เวทนา…
  continue reading
 
ปฏิบัติตามหลักของพระพุทธเจ้า ศีล สมาธิและปัญญา คือได้รับพรจากพระพุทธเจ้า เบื้องต้นสู่เนกขัมมะด้วยอานาปานสติ ตั้งสติขึ้นจากการใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ สติกำจัดนิวรณ์เกิดเป็นสมาธิ ฝึกสติบ่อยๆเพื่อให้มีกำลังแยกแยะอย่างละเอียด และใคร่ครวญโดยแยบคายด้วยโยนิโสมนสิการ เห็นคุณเห็นโทษของแต่ละขั้นของฌาน 4 ขั้น จะพัฒนาไปได้ตามลำดับ ดังนี้ ปฐมฌาน มีวิตก วิจารปี…
  continue reading
 
เจริญพุทธานุสสติ ตามระลึกถึงความเพียรที่ไม่ถอยกลับของพระพุทธเจ้า ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ได้ตั้งไว้ซึ่ง อปฺปฏิวาณี หมายถึง ความไม่ถอยกลับ คือไม่สำเร็จจะไม่เลิกกลางคัน ดำเนินตามกระแสเรียกของจิตใจให้ไปตามทางสายกลาง อธิษฐานสร้างกำลังใจด้วยจิตตั้งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้มีกองทัพมารมาขวาง ทรงตั้งสติสัมปชัญญะไว้ไม่หลุด…
  continue reading
 
นิวรณ์ 5 คือเครื่องกางกั้น ทำปัญญาให้ถอยกำลัง ได้กล่าวถึงกามฉันทนิวรณ์และพยาบาทนิวรณ์ไปแล้ว อีก 3 ข้อ ได้แก่ ถีนมิทธะนิวรณ์ คือ ความหดหู่และความเคลิบเคลิ้ม อุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ คือความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ วิจิกิจฉานิวรณ์ คือความเคลือบแคลง ทั้งภายในและภายนอก กำจัดนิวรณ์โดยขจัดทุจริต3 สร้างสุจริต3 ด้วยการรักษาศีล และระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ…
  continue reading
 
นิวรณ์ 5 เป็นเครื่องกางกั้นทำให้จิต และปัญญาถอยกำลัง หรือเกิดไม่ได้ ซึ่งขออธิบายเรื่องของกามฉันทะ หมายถึง จิตมีความพอใจไปในกาม และ ความพยาบาท คือ การคิดปองร้าย การคิดอาฆาต ทั้งภายในและภายนอก สามารถสังเกตการมีอยู่ของนิวรณ์โดยใช้สติระลึกรู้ และจะไม่ให้มีนิวรณ์เพิ่มขึ้นโดยไม่ให้อาหาร นั่นก็คือ ทุจริต 3 ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เครื่องมือที่จะทำใ…
  continue reading
 
กิจโฉ มนุสสะปฏิลาโภ ความที่จะได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก จึงต้องทำประโยชน์ให้ได้มาก คือ พัฒนาเป็นอริยะบุคคล โดยการรักษาศีล มีสติสัมปชัญญะ ทำจิตให้สงบด้วยการเจริญพุทธานุสสติ ปฏิบัติตามอริยะมรรคมีองค์แปด โดยยึดสติปัฏฐานสี่ เป็นหลัก พัฒนาให้เกิดเป็นสมาธิสงบในอันเดียว และเกิดเป็นปัญญา มีค่ามากตรงที่เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยง จะเห็นอริยสัจสี่ ท…
  continue reading
 
ผาสุกได้เมื่อมีทุกข์ โดยการปฏิบัติตามทางอันประเสริฐแปดอย่าง ด้วยการเข้าใจเริ่องทุกข์, ไม่มีสิ่งใดในโลกที่ไม่ทุกข์, มีเพียงแต่ทุกข์มาก หรือทุกข์น้อย, ทุกข์คือสภาวะที่ถูกบีบคั้น เกิดขึ้นได้เพราะตัณหา, เราอย่าเอาตัวเราไปอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบคั้น, นั่นคืออย่ามีความอยาก, ให้เห็นด้วยปัญญาว่า, ทุกข์นั้น มันเป็นของมันอย่างนี้ ก็อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ ด้…
  continue reading
 
เจริญรัตนะสามประการ คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ, ยึดพุทโธ ธัมโม และสังโฆ เป็นที่พึ่งอันสูงสุด, พุทโธ หมายถึง การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, หมายถึง จิตใจที่ตื่นรู้แล้ว, ธัมโม คือ องค์ความรู้ที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง ที่จะต้องนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นพุทโธขึ้นมาได้, สังโฆ หมายถึง การปฏิบัติของตัวเราเองที่อยู่ในจิตใจของเราเอง, พุทโธ ธัมโม สั…
  continue reading
 
ฝึกจิตโดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ, ให้ลมหายใจของเราทำทางไปสู่อมตะ คือ ความไม่ตาย, ขณะที่เราใส่ใจสังเกตดูลมหายใจ นั่นคือ เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ขึ้นแล้ว, พอเราทำสมาธิฝึกตั้งสติ เกิดสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะทันที, ตั้งไว้จากศีลทางกาย วาจาที่เรามี, สติที่มีกำลังมากขึ้น จะผลักดันให้เกิดสัมมาสังกัปปะ, สัมมาอาชีวะก็เกิดขึ้น, จิตเราจะระงับลง, ก…
  continue reading
 
เจริญธาตุกรรมฐาน คือ การแยกแยะธาตุในร่างกายของเรา เพื่อไม่ให้ยึดถือในตัวตนของเรา ตัวเราเป็นเพียงธาตุทั้งหกประกอบขึ้นมาเป็นชีวิต ธาตุทั้งหกจึง ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา, เป็นของภายนอกที่เข้าประกอบกันเท่านั้น, เราจะคลายความยึดถือได้ในตัวตนนี้, เราต้องอยู่เหนือผัสสะที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจเหล่านั้น, โดยเมื่อมีผัสสะเข้ามา, ให้เราทำจิตของเราให้เสมอด้วยแ…
  continue reading
 
ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือ พุทธานุสสติ, ให้สติ จิต และพุทโธอยู่ด้วยกัน, จับจิตเพื่อฝึกจิต, ฝึกจิตเพื่อให้จิตมีกำลัง, ให้จิตของเรามีความรู้ คือ วิชชาเกิดขึ้น ว่า “จิต เธอไม่ต้องไปปรุงแต่งก็ได้”, จะทำได้ต้องก็มีปัญญา, จะให้มีปัญญาเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม คือ สติ สมาธิ ปัญญา สัมมาทิฏฐิ เห็นความเกิดขึ้น-เห็นความดับไปว่า สิ่งนี้ไม่…
  continue reading
 
พลัดพรากให้เป็นธรรม ด้วยการมีสติ, พอเราเจอเรื่องทุกข์แล้ว ให้มี “สติ สัมปชัญญะ”, จะอดกลั้นเวทนาได้ด้วย “ธรรมสังเวช” หมายถึง ความร้อนใจที่พัฒนาจนอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้, ให้ตระหนักถึงสิ่งที่ควรรีบทำ, รู้ถึงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ให้เร่งรีบปฏิบัติ ให้มีความกล้าเผชิญความจริง ไม่เผลอเพลินไป, รีบดับไฟ, ไฟ คือ ความเกิด ความเจ็บ ความแก่ ความตาย, ไฟ…
  continue reading
 
“การฝึก” จะทำ จิตของมนุษย์ทุกคนที่ได้ฝึกนั้น, ให้เป็นผู้ที่ประเสริฐขึ้นมาได้. ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ คือ บุคคลผู้ที่ฝึกแล้ว ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย. ตั้งสติ โดยการใช้อานาปานสติ ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ, ปิดช่องทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น กาย, เหลือแต่ช่องทางใจ, ขุดลงไปในจอมปลวก ในช่องทางใจ คือ การทำความเพียร, เมื่อมีสติ จะเกิดสมาธิ และเกิดปัญญา, เรา…
  continue reading
 
เจริญอานาปานสติ กำหนดสติให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่เพลินกับสิ่งที่ผ่านเข้ามาในปัจจุบัน, ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว แต่เก็บไว้เป็นประสบการณ์ ปล่อยวาง ให้อภัยได้, ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง แต่วางแผนได้โดยไม่ไปยึดถือ, นี่คือการกำหนดสติอยู่กับปัจจุบัน ด้วยกำลังสติ สัมปชัญญะ เห็นแจ้งในธรรมปัจจุบัน, สร้างความเคยชินใหม่ อย่างเร่งด่วน, เพราะ เหตุแห่งคว…
  continue reading
 
เจริญมรณสติ พิจารณาถึงความตาย ว่าความตายเป็นเหมือน ภูเขาหินศิลาใหญ่ กลิ้งบดปวงสัตว์มาโดยรอบทั้งสี่ด้าน ไม่มีใครรอดพ้นไปได้, ในช่วงเวลาที่เหลือ, เราจะอยู่ด้วยการ ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ สร้างกุศล บำเพ็ญบุญ นั่นคือ อริยมรรคมีองค์แปด หรือศีล สมาธิ ปัญญา, ซึ่งเป็น ปฏิปทาในการดับอุปาทาน ดับตัณหา ดับ อวิชชา เพื่อให้มี วิชชาเกิดขึ้น นั่นคือ มีปัญญา, เ…
  continue reading
 
พิจารณาปัจจัยสี่ โดยแยบคาย, เพื่อไม่ให้เผลอเพลิน ไปในการใช้สอยปัจจัยสี่ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน, เริ่มจากกำหนดตามดูลมหายใจ, “จิต ลมหายใจ สติ” อยู่ด้วยกัน เพื่อให้สติมีกำลัง แล้วจะเกิดเป็นสมาธิขึ้น, พิจารณาโดยแยบคายในปัจจัยสี่: เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย เภสัช ให้เป็นการภาวนา, โดยใช้ ปัจจัยสี่ เพื่อบำบัดความหนาว บำบัดความร้อน ป้องกันเหลือบ ยุง …
  continue reading
 
เราพึงเป็นผู้ฉลาด ในวาระจิตแห่งตนเถิด เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นจิตในจิต เพื่อตรวจดูจิตของตนเอง, เพื่อทำความฉลาดในวาระจิตของตนเอง, 1. ตรวจดูจิตเราสงบ มาก-น้อยแค่ไหน, โดยใช้ “สติ” ตั้งขึ้น เพื่อให้จิตมีกำลัง, ลดการฟุ้งซ่าน ลดความคิดนึก, ลดความโกรธ, ทำอย่างต่อเนื่อง จิตจะระงับลง, มีอารมณ์อันเดียว, รักษาสมาธิด้วยสติ ให้ตั้งมั่นอย่างต่อเนื่อง, สำ…
  continue reading
 
เจริญอานาปานสติ เพื่อให้ สติ, จิต, ลมหายใจ อยู่ด้วยกัน, บางครั้งเราอาจเผลอ เพลินไปกับสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่าง ๆ, หากแต่ท่านบอกว่าให้สละสุขออก เพื่อเอาสุขที่ละเอียดยิ่งขึ้น ประณีตกว่า, ให้เราค่อย ๆ สละ สุขออก, ลักษณะแบบนี้ คือ การพัฒนา หรือภาวนา, สติ-สมาธิมีขึ้น, จากนั้นใคร่ครวญเพื่อให้เกิดปัญญาว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีความไม่เที่ยง อาศัยเงื่อนไขปัจจ…
  continue reading
 
เมื่อมีสติ จิตจะแยกแยะ และไม่เพลินไปตามการรับรู้ที่ผ่านเข้ามา, จิตเราก็จะไม่สะดุ้ง สะเทือนไปตามผัสสะที่เข้ามากระทบ, รู้สักแต่ว่า “รู้”, หากแต่จิตที่มีอวิชชา ตัณหา จะไปเชื่อมติดกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านทางวิญญาณ (การรับรู้) เกิดความเพลิน คือ นันทิ, เชื่อมความอยาก (โลภะ), ความไม่พอใจเป็นโทสะ, ความไม่เข้าใจด้วยเป็นโมหะ, เกิดเวทนา เกิดความยึดถือ คือ อุป…
  continue reading
 
ฝึกสติโดยการเจริญอานาปานสติ โดยเริ่มจากเสนาสนะอันสงัด คู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง, ตั้งจิตให้สงบด้วยสัมมาสติ คือ ระลึกถึงสิ่งที่เป็นกุศล ด้วยลมหายใจเข้า-ออก ของเราเอง สติก็จะมีกำลังมากขึ้น, สติที่มีกำลังมากขึ้นนั้น เปรียบเหมือนเสา และเชือกที่แข็งแรง ไม่ล้ม ไม่ขาดไปตามแรงสัตว์หกชนิด หรืออายตนะทั้งหก, สติที่มีกำลังนั้น เปรียบเหมือนกระดองเต่าที่ป้องก…
  continue reading
 
กำหนดจิตไว้ที่ลมหายใจ ตั้งสติไว้, สติก็เป็นตัวแยกวิญญาณ ออกจากจิต “ผู้ใดรู้ชัดซึ่งส่วนสุดทั้งสองด้าน ไม่ยึดติดในท่ามกลางเราเรียกผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ, ผู้นั้นชื่อว่า ล่วงพ้นเครื่องร้อยรัด” มีสติระลึกอยู่ตลอด, จิตไม่เผลอ คือ รับรู้เฉย ๆ กับผัสสะที่เข้ามากระทบ, ไม่เอานาม ไม่เอารูป, ในขณะนั้นจิตก็ไม่มีอวิชชา, ไม่มีตัณหา ความอยาก, อุปาทาน ความยึดถือก…
  continue reading
 
เจริญธัมมานุสสติ พิจารณาธรรมที่คู่กัน คือ อินทรีย์หก คือ ความเป็นใหญ่ของช่องทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ อินทรีย์ห้า หรือพละห้า คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โดยจิตที่มีกำลังจาก “อินทรีย์ห้า หรือพละห้า” จะทำให้เราไม่ไหลไปตามกระแสของตัณหาที่ไหลเชี่ยว จะช่วยให้เราทวนกระแสของ อินทรีย์หก โดยมี “สติ” เป็นตัวปรับจูน เพื่อให้กระแสน้ำของเรา ไหลไปตามก…
  continue reading
 
เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณธรรมของพระพุทธเจ้า เพื่อไปตามทางที่ท่านพาดำเนินไป เปิดประตูแห่งประโยชน์, ใคร่ครวญธรรมะชื่อว่า ประตูแห่งประโยชน์, ท่านให้แนวทางไว้ หกประการ เพื่อใช้ตัดสินใจ แล้วได้ประโยชน์มากที่สุด หนึ่ง คือ ความไม่มีโรค, สอง คือ ศีล, สาม คือ การคล้อยตามผู้รู้, สี่ คือ การสดับรับฟัง, ห้า คือ การประพฤติธรรม และหก คือ ความไม่ท้อถอย, หกประกา…
  continue reading
 
ช้างของพระราชาที่ควร ช้างสั่งให้ไปสู่ทิศใด ที่เคยไปหรือไม่เคยไป ก็ย่อมไปสู่ทิศนั้นโดยพลันท่านเทียว, เจริญอานาปานสติ เพื่อฝึกพาจิตของเราไปตามทางอันเกษม ทางอันมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ไปตามทางที่เราไม่เคยไป คือ นิพพาน, เปรียบเราเหมือนช้างที่ออกจากป่า คือ มีสัมมาทิฏฐิ เพื่อมาฝึกแสวงหาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า (คนฝึกช้าง), เพื่อให้จิตสงบ ไม่…
  continue reading
 
เจริญธัมมานุสติ คือ การระลึกถึงธรรมะ, ใคร่ครวญบทแห่งธรรมในชื่อที่ว่า อชาตสูตรคือการไม่เกิดอีก, ตั้งสติให้เกิดขึ้น จากการปรุงแต่ง คำว่าธัมโม, จนจิตระงับลง, อาจมีความคิดนึกนั่นคือ มีวิตก วิจารอยู่บ้าง นี่คือฌานหนึ่ง, นั่นคือ จิตเป็นสมาธิแล้ว, เกิดเป็นสัมมาสมาธิ, องค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างได้เกิดขึ้นแล้ว, สติก็พัฒนาขึ้นไปอีก, ให้มีความละเอียดลงละเอ…
  continue reading
 
พิจารณาให้เห็นว่า “เหตุปัจจัยแห่งความตายนั้นมีมาก”, จึงควรอยู่ด้วยการไม่ประมาท ด้วยการเจริญมรณสติ, การเจริญมรณสติไม่ได้คิดถึงความตาย, แต่ให้คิดว่า ช่วงที่เราอยู่ เราจะอยู่อย่างไร, เราจะตัดกระแสนี้ได้ โดยการตั้งสติไว้, ให้คิดเรื่องที่ดี, อย่าให้มีอกุศล กาม พยาบาท เบียดเบียน, ทั้งทางกาย และความคิด, ถ้าจะคิด, ให้คิดอุเบกขา-วางเฉย, คิดมุทิตา-ยินดี, คิด…
  continue reading
 
เจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ลุกขึ้นทำความเพียร ให้เห็นด้วยปัญญาว่า จิตนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเราของเรา, สติจะควบคุมจิตไว้ ไม่ให้สะดุ้งสะเทือนตามผัสสะที่เข้ามากระทบ, นั่นคือ บรรลุสันติธรรม คือ ความสงบจากสิ่งภายนอก, หากแต่ความสงบนี้ก็ไม่เที่ยง, เนื่องจากจิตมีความเป็นประภัสสร คือ เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ตามการรับรู้, หา…
  continue reading
 
เจริญอานาปานสติ คือ เพื่อให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา พิจารณาสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย คือ ปัจจัยสี่, อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค นั้นเป็นไปตามธรรมชาติของเขา, ให้เห็นว่า “ธาตุมัตตะโก คือ สักว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติ, ธาตุมัตตะเมเวตัง คือ เป็นของมันอยู่อย่างนี้ มันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนี้, ยะถาปัจจะยัง คือ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมันอยู่แล้…
  continue reading
 
ทุกอย่างในโลกล้วนเป็น “อิทัปปัจจยตา คือ ความที่สิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย แล้วจึงเกิดสิ่งนี้สิ่งนี้ขึ้น ไม่ได้เป็นของตัวมันเอง” พิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอนิจจา เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้แต่ลมหายใจเข้า-ออก ก็มีเหตุปัจจัยของเขา เกิดขึ้น ดับไป หรือตัวเราก็เป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ หรือธาตุรู้ ประกอบกันขึ้นเท่านั้น …
  continue reading
 
เจริญอานาปานสติปัฏฐาน เพื่อฝึกตนให้เป็นบุคคลอาชาไนย, เอาจิตเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ การเพ่งมีสองแบบ คือ เพ่งแบบกระจอก และเพ่งอย่างอาชาไนย, เพ่งแบบกระจอก คือ เพ่งไปในเรื่องที่จะให้เกิดนิวรณ์ ในเรื่องของความเศร้าหมองแห่งปัญญา จิตที่เพ่งกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น จะเพลินไปตามอารมณ์ จะสะดุ้งสะเทือนตลอดเวลา นั่นคือ บุคคลไม่อาชาไนย, หากแต่บุคคลอาชาไนย คือ ผู้ที่ใช…
  continue reading
 
เจริญธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญธรรมะเรื่อง ขันธ์ห้า, ภาวนาพิจารณาอริยสัจสี่ หรือมรรคแปด ลงไปในขันธ์ทั้งห้าเพื่อให้เกิดปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ขันธ์ห้า ที่มีเพียงรูปและนาม ด้วยจิตที่สงบให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนคือเป็นอนัตตา เปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขปัจจัย มีเกิด มีดับ อยู่ตลอดเวลา หากแต่เมื่อใด เราเผลอเพลินพอใจ ลุ่มหลงตามสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป…
  continue reading
 
เจริญพุทธานุสติเพื่อเข้าใจพุทธกิจ ห้าประการของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นต้นแบบการบริหารจัดการเวลาของเรา พุทธกิจที่หนึ่ง ตอนเช้าบิณฑบาตด้วยปลีแข้ง โปรดสัตว์ให้ได้ให้ทาน, พุทธกิจที่สอง ตอนเย็นแสดงธรรมต่อคฤหัสถ์, พุทธกิจที่สาม ยามแรกแห่งราตรี อบรมภิกขุสงฆ์, พุทธกิจที่สี่ ยามกลางแห่งราตรี ตอบคำถามเทวดา, พุทธกิจที่ห้า ยามท้ายแห่งราตรี ตรวจอุปนิสัยสัตว์ใดมีอิ…
  continue reading
 
เจริญพุทธานุสติด้วยการตามระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระถึงถึงเหตุการณ์ถึงตอนที่พระพุทธเจ้าใกล้ปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ธรรมะ และวินัยใดที่เราตถาคตแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ธรรมะ และวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย สติตั้งไว้อยู่กับพุทโธ ธรรรมะนี่แหละที่เป็นศาสดา คือ ผู้สอนแทน จะเป็นสิ่งที…
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน