Tomorn สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
Artwork

1
Decode Podcast

Tomorn Sookprecha

Unsubscribe
Unsubscribe
รายเดือน
 
Decode Podcast: พ็อดแคสต์ที่ชวนคุณมา ‘ถอดรหัส’ นัยสำคัญที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวต่างๆ ที่ดูเหมือนเล็กน้อยจนเรามักมองข้าม
  continue reading
 
Loading …
show series
 
Episode นี้ พามาขึ้นซีซันใหม่กันครับ! ซีซันใหม่นี้ เป็น Royal Sex Series หรือเรื่องราวของ 'เพศรสในราชสำนัก' ซึ่งแน่นอนว่าเป็นราชสำนักในยุโรปยุคกลางจนถึงยุคก่อนสมัยใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วย 'เรื่องแซ่บๆ' ประเภทที่ถ้าเป็นของไทยอาจจะเป็น 'พงศาวดารกระซิบ' แต่ของยุโรปนั้นไม่กระซิบกระซาบเลย เพราะมีบันทึกเอาไว้เป็นหลักเป็นฐานชัดเจน Decode Podcast ในซีรีส์นี้ จร…
  continue reading
 
หนึ่งในเหตุการณ์ที่อาจสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การแพทย์ของรัสเซียในศตรรษที่ 18 คือการปลูกฝีให้จักรพรรดินีแคทเธอรีนมหาราช ทุกวันนี้ เรารู้จักคำว่า ‘วัคซีน’ กันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 18 คำว่า ‘วัคซีน’ และกระบวนการฉีดวัคซีนหรือ Vaccination ยังไม่เกิดขึ้น สิ่งที่คนรู้จัก ก็คือการ 'ปลูกฝี' ซึ่งก็คือการเอา 'หนอง' ของคนป่วยมาป้ายลงไ…
  continue reading
 
เรามักคิดว่า พระนางคลีโอพัตราแห่งราชวงศ์ปโตเลมี สูญสิ้นอำนาจไปเพราะความรัก เป็นเรื่องราวโรแมนติกของโศกนาฏกรรมอียิปต์ที่ทำให้ต้องสิ้นแผ่นดินให้กับกรุงโรม เรารู้ว่า อารยธรรมมายาในอเมริกากลางเจริญมากๆ ในช่วงปี 250 ถึง 900 พวกเขาสร้างสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ ไว้มากมายแทบจะตลอดเวลา แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งราวๆ 100 ปี) ที่ชาวมายันแทบไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาเลย ทั้งยังทิ…
  continue reading
 
ในโลกนี้มีเรื่องลึกลับอยู่มากมายนะครับ หลายเรื่องฟังแล้วอาจนึกไม่ถึงว่ามีอยู่จริง เพราะมันฟังดูเหลือเชื่อพิสดารพันลึกเกินไป แน่นอน วิทยาศาสตร์พยายามเข้ามาอธิบายเรื่องเหล่านี้ แต่ไม่ได้แปลว่าวิทยาศาสตร์จะอธิบายได้ทุกอย่าง อย่างน้อยๆ สามเรื่องต่อไปนี้ก็ยังไม่ได้รับคำอธิบายที่ 'หมดจด' เสียทีเดียว เรื่องแรกคืออาการง่วงงุนและนอนหลับที่เกิดขึ้นกับคนทั้งห…
  continue reading
 
ทุกคนรู้ว่า Incest เป็นเรื่องต้องห้าม หลายสังคมเห็นว่า Incest เป็นการมีเพศสัมพันธ์กันในระหว่างคนที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกันมากๆ อย่างที่เรียกว่า Inbreeding ผลลัพธ์ก็คืออาจทำให้ได้ลูกที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหลายแบบ ที่สำคัญก็คือ บ่อยครั้งที่ Incest เกิดจากการข่มขืนหรือไม่ยินยอมพร้อมใจกัน แต่กระนั้น Incest ก็เกิดขึ้นมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ถ้าเราย้อนก…
  continue reading
 
ทุกวันนี้ เวลาอ่านประกาศรับสมัครงาน เรามักจะเห็นประกาศรับคนประเภท ‘ทำได้ทุกอย่าง’ บ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ เช่น ต้องทำงานเขียนได้ ถ่ายภาพได้ ถ่ายวิดีโอได้ ตัดต่อได้ ลงเสียงได้ ฯลฯ เรียกว่าครบจบในตัวคนเดียว ปรากฏการณ์นี้เกิดเป็นวงกว้าง เพราะช่วยให้นายจ้างประหยัดต้นทุนได้ แต่คำถามก็คือ มันเป็นประโยชน์กับงานและกับตัวเรามากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญก็คือ มันมี 'โ…
  continue reading
 
เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกจองจำก่อนถูกประหารหลังปฏิวัติฝรั่งเศส มีบันทึกไว้ว่าพระองค์รำพึงว่า เป็นนักคิดสองคน คือวอลแตร์และรุสโซ นี่แหละ ที่ ‘ทำลายฝรั่งเศส’ ลงอย่างยับเยิน หลายคนอาจคิดว่า วอลแตร์ (1696-1778) และฌอง ฌาค รุสโซ (1712-1778) เป็นเพื่อนสนิทที่รักใคร่ชอบพอกัน เพราะทั้งคู่ถือได้ว่าเป็นนักคิดตัวยงของยุค Enligntenment แค่คุณรู้ไหมว่า ทั้งส…
  continue reading
 
ไปดูกันว่า ต้องมีรายได้ต่ำแค่ไหน ถึงจะเรียกได้ว่าเป็น ‘คนจน’ ตามนิยามของรัฐไทย และที่ว่าไม่จนนั้น ไม่จนจริงหรือเปล่า ‘ค่ากลาง’ ของรายได้คนไทยอยู่ตรงไหน และมันต่างจาก ‘รายได้เฉลี่ย’ ของคนไทยทั้งประเทศอย่างไร
  continue reading
 
พบกับเรื่องราวของ ‘อูรุก’ เมืองแห่งแรกของโลกที่ถือกำเนิดขึ้นจากการบูชาเทพเจ้า และความหมายที่ลึกซึ้งของมหากาพย์กิลกาเมช ว่าด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของมนุษย์ ในอันที่จะต่อกรกับธรรมชาติ และสร้างเมืองขึ้นมา
  continue reading
 
คริสต์มาสที่เรามองว่าเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดี เป็นเทศกาลแห่งความสุข งดงามเหลือเกินนั้น แท้จริงมีเรื่องของ ‘อำนาจ’ ซุกซ่อนอยู่ข้างใต้มากมาย ตั้งแต่การต่อสู้ของซานตาคลอสกับพระเยซู เค้กขอนไม้ พวกนอกรีตกับชาวเพียวริแทน และอื่นๆ อีกมากมาย
  continue reading
 
เริ่มซีรีส์พิเศษ ด้วย Dark Side of the Fairy Tales กับเรื่องดาร์คๆ มุมมืดๆ ของเทพนิยายสวยๆ ฝันหวานทั้งหลาย ประเดิมกันด้วย ‘เจ้าหญิงนิทรา’ สามเวอร์ชั่นเก่าแก่ ที่คุณอาจคิดไม่ถึงว่า เจ้าหญิงนิทราของเราจะสามารถ ‘ดาร์ค’ ได้ถึงขนาดนี้
  continue reading
 
อธิบายความเป็นเผด็จการ ผ่านมุมมองของ วิคเตอร์ เคล็มเพอร์เรอร์ และ ฮันนาห์ อาเร็นดท์ สองนักคิดชาวยิวที่ผ่านยุคเรืองอำนาจของฮิตเลอร์และนาซี ทั้งคู่พิจารณาความเป็นเผด็จการ โดยวิเคราะห์เรื่องของการใช้ภาษาและวิธีคิดต่างๆ และพบว่า เผด็จการล้วนมีลักษณะที่คล้ายกัน
  continue reading
 
เคยมีการศึกษาคนใน 32 เมืองทั่วโลก กินเวลาถึง 10 ปี พบว่ามนุษย์เราเดินเร็วขึ้นราว 10% คำถามก็คือ ทำไมเราถึงเดินเร็วขึ้น เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารอย่างไร
  continue reading
 
หลายคนไม่มีความสุขเวลาต้องไปทำงานในเช้าวันจันทร์ นั่นเพราะมีออฟฟิศที่ไม่ค่อยน่าอภิรมย์สักเท่าไหร่ ต่อไปนี้คือ 8 วิธี ที่อาจช่วยให้คุณมีความสุขกับที่ทำงานได้มากขึ้น
  continue reading
 
ความหน้าตาดี มีอะไรมาเป็นตัวกำหนดรับรู้หรือเปล่า ความหน้าตาดีมีลักษณะที่เป็น ‘สากล’ ด้วยไหม ทำไมเราถึงชอบคนนั้นคนนี้ คิดว่าคนนั้นคนนี้หน้าตาดีกว่าคนอื่นๆ มันมีคำอธิบายที่ ‘เป็นวิทยาศาสตร์’ หรือเปล่า
  continue reading
 
การรู้จักตัวเองคือการ ‘เข้าใจ’ ตัวเองให้ดีขึ้น เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้ว เราจะเข้าใจมนุษย์คนอื่นๆ ได้มากขึ้นด้วย เพราะเราจะเห็นทั้งแง่งามและแง่อัปลักษณ์ที่อยู่ในตัวเราและมนุษย์คนอื่นๆ แต่กระนั้น เราจะ ‘รู้จัก’ ตัวเองได้อย่างไร
  continue reading
 
ใครๆ ก็อยากเป็นคนฉลาด แต่รู้ไหมว่า คนฉลาดๆ ระดับไอคิวสูง Top 2% ของโลกนั้น อาจมีสภาวะที่เรียกว่า Overexcitablility มากกว่าคนทั่วไป ทั้งในทางจิตใจและร่างกาย สภาวะนี้คืออะไร แล้วมันไม่ดีอย่างไร ติดตามได้ใน Decode ตอนนี้
  continue reading
 
หลายคนอาจไม่รู้ว่า โลกเรามี ‘สมาคมคนไอคิวสูง’ หรือ High IQ Society อยู่หลายสมาคมเลย แต่ละสมาคมมีวิธีวัดไอคิวแตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันก็คือ ต้องเป็นคนที่มีความฉลาดระดับ 1-2% แรกของโลกทั้งนั้น ไปดูกันว่า สมาคมพวกนี้ตั้งขึ้นมาทำไม มีใครเป็นสมาชิกบ้าง และเวลาพบปะกัน คนฉลาดๆ เหล่านี้เขาทำอะไรกันบ้าง
  continue reading
 
โลกยุคนี้คือโลกแห่ง distraction ความสนใของเราถูกเบี่ยงเบนได้ตลอดเวลา หนังสือเล่มใหม่ของ Nir Eyal นักเขียนชาวอิสราเอล พุ่งประเด็นไปที่เรื่องนี้โดยตรง ไปดูกันว่า อะไรทำให้เกิด distraction และเรามีเทคนิคจัดการกับมันอย่างไร
  continue reading
 
เราคุ้ยกับคำว่า ‘ไวรัส’ กันดี แต่จริงๆ แล้ว ไวรัสคืออะไรกันแน่ มันมีชีวิตหรือเปล่า เกณฑ์ข้อไหนที่บอกว่ามันมีหรือไม่มีชีวิตบ้าง และจริงๆ แล้ว มันมีกำเนิดมาอย่างไรในทางวิวัฒนาการ มันแพร่พันธุ์อย่างไร และการแพร่นั้นทำร้ายเราอย่างไร ที่สำคัญก็คือ การแพร่ระบาดแต่ละครั้งจะหายไปไหมในที่สุด และหายไปได้อย่างไร…
  continue reading
 
ทุกวันนี้ คำว่า binge watching ไม่แปลกประหลาดอีกต่อไปแล้ว เพราะใครๆ ก็ดู คำถามก็คือ การดูซีรีส์ต่างๆ ต่อเนื่อง เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรเป็นตัวกระตุ้น และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
  continue reading
 
โรคระบาดขนานใหญ่ที่เรียกว่า pandemic คืออะไร ต่างจาก epidemic อย่างไร นายแพทย์ที่ศึกษาโรคซาร์สจนเสียชีวิตมีคุณูปการอย่างไรกับเมืองไทย คนไทย และคนทั้งโลก และวิธีง่ายๆ ที่จะป้องกันไวรัสอู่ฮั่นคืออะไร
  continue reading
 
เราชอบคิดว่า คนนอนดึกตื่นสายเป็นคนขี้เกียจ แต่จริงๆ แล้ว การนอนดึกตื่นสายหรือนอนเร็วตื่นช้า เป็นเรื่องของอุปนิสัยน้อยกว่าเรื่องของวิวัฒนาการและพันธุกรรม ไปติดตามดูวิทยาศาสตร์ของการนอนดึกตื่นสายกัน ว่าคนเรามีรูปแบบการนอนแตกต่างกันเพราะอะไร
  continue reading
 
ปิกัสโซ่ชอบฝุ่น ฝุ่นในธรรมชาติเกิดจากอะไรได้บ้าง ฝุ่นที่มนุษย์สร้างขึ้นมีอะไรบ้างมนุษย์ผูกพันกับฝุ่นมากน้อยแค่ไหน และทำไมพัดลมที่หมุนอยู่ตลอดเวลาถึงมีฝุ่นจับได้
  continue reading
 
เรารู้ว่า ฝุ่นมีผลต่อสุขภาพทางกายแน่ๆ โดยเฉพาะฝุ่นจิ๋วอย่าง PM 2.5 แต่มันส่งผลต่อสุขภาพทางจิตอย่างโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลได้ด้วยหรือ ไปสำรวจเรื่องนี้กัน
  continue reading
 
นักวิทยาศาสตร์วัดฝุ่นเป็นค่า ‘ไมครอน’ แต่ไมครอนคืออะไร ใหญ่เล็กแค่ไหน และฝุ่นใหญ่ฝุ่นเล็กต่างกันอย่างไร อะไรเป็นอันตรายกว่ากัน ฝุ่นมีแต่ข้อเสียหรือเปล่า ข้อดีของฝุ่นคืออะไร ไปสำรวจฝุ่นกัน
  continue reading
 
อาหาร ‘คีโตฯ’ หรือ Ketogenic Diet นั้น คืออาหารไขมันสูง ถ้าเคร่งครัดจริงๆ ต้องกินไขมัน 90% กินโปรตีนเพียง 6% และคาร์โบไฮเดรตแค่ 4% เท่านั้น อาหารตำรับนี้เกิดขึ้นมาเพราะอะไร และมัน ‘ดี’ ต่อสุขภาพของคนทั่วไปจริงหรือ
  continue reading
 
ความเหงาไม่เหมือนการกินอาหารหรือดื่มน้ำ เพราะความเหงาจะบรรเทาลงได้ ก็ต้องมี ‘คนอื่น’ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่วงจรอุบาทว์ของความเหงา ส่งผลต่อสมองของเรา และทำให้เรา ‘ผลัก’ คนอื่นออกไปจากชีวิตของเราได้อย่างไร ติดตามได้ใน Decode Podcast ตอนนี้ครับ
  continue reading
 
อะไรคือคำอธิบายแบบวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ motivation หรือแรงขับเคลื่อนในชีวิตมนุษย์กันแน่ ทำไมบางคนมีมาก บางคนมีน้อย และเราจะฝึกให้ตัวเองมี motivation ในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร รวมทั้งจะรักษาความมุ่งมั่นตั้งใจเหล่านั้นให้ต่อเนื่องยาวนานได้อย่างไรด้วย
  continue reading
 
เรามักมองว่าพลาสติกเป็นตัวร้าย แต่คำถามก็คือ เรารู้ไหมว่าแท้จริงพลาสติกคืออะไร มีกำเนิดมาอย่างไร อันตรายของพลาสติกคืออะไรกันแน่ และในอนาคต นักวิทยาศาสตร์จะคิดค้นพลาสติกใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติดีๆ อะไรขึ้นมาอย่างไร
  continue reading
 
หลายคนไม่กล้าดื่มน้ำประปาในเมืองที่ตัวเองอยู่โดยไม่ต้ม แต่บางเมือง น้ำประปากลับเป็นน้ำแร่คุณภาพสูง อะไรทำให้เมืองบางเมืองเป็นแบบนี้ได้
  continue reading
 
ทำไม London Plane Tree ต้นไม้สำคัญของลอนดอนถึงมีราคาสูงลิบลิ่ว เขาประเมินราคากันอย่างไร ทำไมราคาต้นไม้ในลอนดอนถึงเหมือนหุ้น และมันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างไร
  continue reading
 
Skim Reading : อ่านให้พอรู้เรื่อง​?.ใน Omnivore ตอนที่ 34 นี้ สองพิธีกร โตมร ศุขปรีชา และทีปกร วุฒิพิทยามงคล จะมาคุยเรื่องที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้อย่างการอ่านใจ เราคุยกันถึงประวัติศาสตร์ในอดีตว่า​ความเชื่อเรื่องการอ่านที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นการ "ผ่านตา" หรือ ​Skim Reading มากยิ่งขึ้น การอ่านในรูปแบบที่เปลี่ยนไปตามสื่อใหม่นี้ จะทำให้คนเราเรียนรู้ได้ดีขึ…
  continue reading
 
Mind Reading : เมื่อการอ่านใจกลายเป็นเรื่องจริง.ใน Omnivore ตอนที่ 33 นี้ สองพิธีกร โตมร ศุขปรีชา และทีปกร วุฒิพิทยามงคล จะมาคุยเรื่องที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้อย่างการอ่านใจ เราคุยกันถึงประวัติศาสตร์ในอดีตว่า​ความเชื่อเรื่องการอ่านใจถูกนำมาใช้ทางการทหารและความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง และเรามองไปยังอนาคตว่าเทคโนโลยีจะทำให้การอ่านใจเกิดขึ้นได้จริงไหม.*Omniv…
  continue reading
 
Loneliness : ความเหงามาจากไหน.ใน Omnivore ตอนที่ 32 นี้ สองพิธีกร โตมร ศุขปรีชา และทีปกร วุฒิพิทยามงคล จะมาคุยเรื่องความเหงา ความเหงาคือสิ่งประดิษฐ์หรือไม่ มันถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออะไรในเชิงวิวัฒนาการ และพยายามตอบคำถามที่ว่า: แท้จริงแล้วความเหงามาจากไหนกันแน่?.*Omnivore เป็น podcast ว่าด้วยสิ่งต่างๆหลากหลาย ละม้ายคล้ายพวก Omnivore ที่กินอาหารได้ทุกปร…
  continue reading
 
Doomsday : ทำไมเราถึงหมกมุ่นกับวันโลกแตก.ทำไมเราจึงหมกมุ่นกับวันโลกแตก หรือเหตุการณ์สิ้นสุดโลกเสียเหลือเกิน? มีแง่มุมทางจิตวิทยาที่พอจะเป็นคำตอบให้เรื่องนี้ได้ไหม?.ใน Omnivore ตอนที่ 31 นี้ สองพิธีกร โตมร ศุขปรีชา และทีปกร วุฒิพิทยามงคล จะมาคุยเรื่องวันโลกแตก เรื่องนาฬิกาเชิงสัญลักษณ์อย่าง Doomsday Clock และเรื่องการเตรียมตัวสู่วันสิ้นโลกของคนร่ำคน…
  continue reading
 
City Animals : เมื่อสัตว์ย้ายเข้ามาอยู่ในเมือง.ใน Omnivore Season 3 ตอน 30 นี้ สองพิธีกร โตมร ศุขปรีชา และทีปกร วุฒิพิทยามงคล จะมาชวนคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสัตว์ เราอาจเคยได้ยินคำว่า Homo Urbanus ที่เป็นคำใช้เรียก (เล่นๆ) ถึงมนุษย์ที่ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองจนมีพฤติกรรมและโครงสร้างร่างกายเปลี่ยนแปลงไป แล้วสัตว์ป่าที่ย้ายเข้ามาอยู่ในเมือง หรือถูกรุก…
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน