See สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
Artwork

1
2 จิตตวิเวก

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Unsubscribe
Unsubscribe
รายสัปดาห์
 
รูปแบบการปฏิบัติธรรมทางวิทยุ (Guided Meditation) ฟังไปด้วย, นั่งสมาธิไปด้วย เพื่อทำจิตที่ประภัสสรให้ผ่องใส ด้วยการเจริญสมถวิปัสสนา นำธรรมะเข้าสู่จิตใจให้ชุ่มเย็นอ่อนเหมาะควรแก่การงาน. New Episode ทุกวันอังคาร เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
  continue reading
 
Artwork

1
3 ใต้ร่มโพธิบท

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Unsubscribe
Unsubscribe
รายสัปดาห์
 
เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
  continue reading
 
Artwork

1
Drive ตรู

Van Whatever

Unsubscribe
Unsubscribe
รายเดือน
 
Drive ตรู, Podcast ภาษาไทยที่จะทำหน้าที่ Drive คุณให้เข้าใจชีวิต กับมุมมองที่แตกต่าง มุมมองที่หลากหลาย Podcast จะช่วยให้คุณเข้าใจหลายๆ มากขึ้นและหวังว่าจะเป็นแรงบันดานใจในหลายๆด้านให้กับทุกคน ช่องทางการติดต่อ Facebook page: After 25
  continue reading
 
Loading …
show series
 
ขณะ หรือเวลา หรือโอกาส ใน 4 อย่างนี้ ได้แก่ การที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น การที่ได้เกิดในพื้นที่หรือประเทศที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) และการที่มีอายตนะ 6 อย่างครบสมบรูณ์ (ไม่พิการ)…โอกาสดีทั้ง 4 ประการ ที่ได้ยากขนาดนี้เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปรีรอ อย่าให้ล่วงเลยไปเสีย โอกาสนี้ไม่ได้มีอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้อยู่ในช่วงโปรโม…
  continue reading
 
เจริญวิราคสัญญานิโรธสัญญา ผ่านพุทธานุสสติ จิตเป็นสมาธิ ละเอียดขึ้น ๆ จนเหลือแต่อุเบกขา ไม่มีวิตกวิจารณ์ ไม่มีปีติสุข ทำสมาธิให้มีความชำนาญจะเห็นอาพาธ ของวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข จึงปล่อย คลายกำหนัดสิ่งนั้นเสียนั่นคือวิราคสัญญา จึงนำมาซึ่งความดับคือนิโรธสัญญา เมื่อปล่อย คลายออก จึงเป็นความดับ เมื่อดับจึงเป็นสุข เป็นนิพพานได้อย่างนี้ ความไม่มี หรือมีน้อ…
  continue reading
 
บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ ผลที่จะพึงหวังได้ คือความผาสุก ซึ่งจะปรากฏเป็นความเบาบางของกิเลส นำไปสู่การสิ้นสุดของการเวียนว่ายตัดภพชาติให้น้อยลงไปตามลำดับ การเดินตามทางนั้นเป็นมรรค เมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางแล้วเรียกว่าผลและมีนิพพานเป็นที่สุดแห่งการประพฤติปฏิบัติ พึงเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิดว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี พ…
  continue reading
 
เริ่มจากศรัทธาว่ามีทางที่จะพ้นทุกข์ได้ กำหนดสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกด้วยความเพียร จิตจะรวมลงเป็นสมาธิซึ่งยังต้องอาศัยศีลเป็นตัวผลักดัน กิเลสจะลดลง ไม่ยึดถือขันธ์5 ยึดถือตรงไหนทุกข์อยู่ที่ตรงนั้น คิดเรื่องอะไรมากๆ จิตนั้นจ่อเข้าสิ่งนั้นมีพลังทันที เอาตรงนี้มาใช้ประโยชน์ โดยจดจ่ออยู่กับลมหายใจ สติเราก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น เดินตามทางอันประเสริฐ8อย่าง ละ…
  continue reading
 
"กิเลส" เป็นเหตุแห่งทุกข์ต้องละเสีย จึงอ้างอิงในส่วนของอังคุตตรนิการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในหมวด 6 ว่าด้วยวิธีการละกิเลส อาศัยธรรมหมวด 5 เป็นเหตุทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้ กล่าวคือ การฟังธรรม การเทศน์สอน การทบทวน การคิดใคร่ครวญในธรรม หรือการทำสมาธิ ธรรม 5 อย่างนี้ เมื่อปฏิบัติให้บ่อยแม้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเกิดความรู้ในอรรถธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิ…
  continue reading
 
การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นธรรมในธรรม เราควรหนีจากงูพิษ ซึ่งคือธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม หนีจากเพชฌฆาตคืออุปทานขันธ์ 5 สิ่งใดมากระทบผ่านอายตนะทั้ง6 ก็เห็นด้วยปัญญาว่าเป็นความว่างเปล่า จะหนีจากงูพิษและเพชฌฆาตดังที่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์ท่านได้นำไปก่อนแล้ว โดยปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดด้วยความมั่นใจ เลื่อมใส และใช้ความเพียรให้เป็นกำลังของเราต…
  continue reading
 
อินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น ต่างมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หากจะเปรียบเทียบ สติ ย่อมเทียบได้กับหัวธนู วิริยะ คู่กับ สมาธิ ช่วยพยุงธนูไว้ ศรัทธา คู่กับ ปัญญา พยุงด้านปลายของธนู หากอินทรีย์หรือพละตัวใดมากไป ธนูนั้นย่อมขาดความสมดุล ไม่สามารถแล่นตรงสู่เป้าหมายได้ กล่าวได้ว่าอินทรีย์ 5 และพละ5 นั้น เหมือนกันโดยองค์ธรรมเพียงแต…
  continue reading
 
เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือระลึกถึงในความที่ท่านเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้มีปัญญา มีความเพียร เป็นการเจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะทำอะไรให้ระลึกถึงพุทโธ ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เกิดสัมมาสติคือความระลึกชอบ เมื่อจิตไม่คล้อยไปตามอารมณ์ จิตเรามีพลัง จิตได้รับการรักษาด้วยสติ เกิดสัมมาสมาธิ ให้จิตอยู่เหนือ พ้…
  continue reading
 
“สัตบุรุษหรือสัปปบุรุษ” หมายถึง คนดี เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ตามจูฬปุณณมสูตร คือผู้มี “ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสุต ความเพียร สติมั่นคง และปัญญา” โดยทั่วไปเราจะพิจารณาว่าใครเป็นคนดี ก็โดยเทียบกับคุณธรรมที่กล่าวนี้ จากมิตรสหายที่บุคคลนั้นคบหา จากความคิด การให้คำปรึกษา วาจา4 การกระทำ ทิฐิความเห็น และทานที่ให้ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “อุบาสกธรรม7” คือ…
  continue reading
 
ต้องฉลาดในขันธ์ทั้งห้าในฐานะทั้งเจ็ด พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธีทั้งสาม จากปัญญา 3 ระดับ ที่เมื่อใคร่ครวญให้เกิดปัญญาจากการภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติแล้ว จะให้ถึงความรู้ยิ่งรู้พร้อม คือความพ้นวิเศษได้ ต้องทำบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ จนเกิดความคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งห้า จึงจะเกิดความพ้นได้ จะสามารถทำปัญญาความรู้แจ้ง ความรู้ซึ้ง ความมีปัญญาหลากหลาย จะกระจายเราให้…
  continue reading
 
มงคลชีวิต 4 ข้อสุดท้ายนี้เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฎไตรลัก…
  continue reading
 
เมื่อเราพบปัญหา ความทุกข์ ความท้อใจ ความผิดหวัง นั่นแหละคือโอกาสให้เกิดความสุข กำลังใจ ความหวัง โดยการเจริญพุทธานุสติระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าในด้านความเพียรและการใช้ปัญญาบนพื้นฐานของสมาธิ มีศีลเป็นบาทฐานและหลักมัชฌิมาปฏิปทา เห็นอริยสัจ 4 นั่นคือหนทางสู่ความสำเร็จ โอกาสที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในช่วงที่ได้ฟังธรรมะคำสอนข…
  continue reading
 
ในทางปฏิบัติเราจำเป็นต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้เห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากทุกข์ ความแก่ ความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ค้นพบนี้เรียก “อริยสัจ 4” การเห็นอริยสัจ (ญาณในอริยสัจ 4) ที่แท้จริง…
  continue reading
 
ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุทั้ง4 (ดินน้ำไฟลม) มีการรับรู้คือวิญญาณ ทำให้เราตอบสนองในรูปแบบการกระทำ ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่มากระทบ ผ่านทางอินทรีย์ต่างๆเหล่านั้น เมื่อเกิดความเพลิน ความพอใจไปในสิ่งใดนั้นๆ เราจะยึด และทำให้เกิดทุกข์ แก้ไขด้วยการตั้งสติโดยเจริญกายคตาสติ ผ่านธาตุทั้งสี่คือ ลมไฟน้ำดิน เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเกิดปัญญาเห็นทางออกของปัญหา คือการไม…
  continue reading
 
ในคำสอนของพระพุทธเจ้า การบำเพ็ญตบะ คือการเพียรเผากิเลส เพียรกำจัดกิเลสออกไป จะมุ่งเน้นมาในจิตใจ ชนิดของกิเลสนั้นมีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล คือกิเลสอย่างละเอียดทำให้เกิดโมหะเช่นบุญ ทำให้เกิดการยึดถือเมาบุญได้ และฝ่ายอกุศลได้แก่ ราคะ โทสะ กิเลศทั้งสองนี้ ทำให้เราเวียนไปสูง-ไปต่ำ วนอยู่ในวัฏฏะนี้ การบำเพ็ญตบะจึงจำเป็นต้องอาศัยความอดทนอย่างยิ่งในการเผากิเลส…
  continue reading
 
“สติ” เป็นองค์ธรรมสำคัญที่ทำให้เราหลุดออกจากทุกข์ในวัฏฏะของความแก่ ความเจ็บ ความตายได้ และเป็นทักษะที่ฝึกได้ ด้วยการระลึกถึงคุณของพุทโธ ธัมโม สังโฆ จะช่วยทำให้จิตเราตั้งอยู่ในกุศลธรรม ปัญญา ความเพียร ความอดทน ต่างๆ จะมาครอบงำจิตใจของเรา และทำให้อกุศลธรรมออกไป เมื่อมีสติอย่างต่อเนื่อง เกิดสัมมาสมาธิ และปัญญามองเห็นความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นเรื่อง…
  continue reading
 
“ขันติ” ความอดทน คือ การรักษาภาวะปกติไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบอย่างไรก็ตาม เช่นเมื่อถูกกระทบให้ลุ่มหลงก็ไม่ลุ่มหลงไปตามหรือถูกกระทบให้ไม่พอใจขยะแขยงก็อดทนอยู่ในภาวะเดิมไว้ได้ ความอดทนนั้นจะมีลักษณะของความอดกลั้นไว้ไม่คิดที่จะก่อทุกข์ให้ผู้อื่นและตนเองก็มีความเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ด้วย ซึ่งความอดทนไม่เหมือนกับดื้อด้าน หรือเก็บกด เพราะความอดทนนั้นจ…
  continue reading
 
ยึดจิตเป็นตัวตนไม่ดีเลย ให้จิตของเราอยู่ที่โสตวิญญาณ เอาสติมาจับไว้ อย่าเอาจิตไปไว้ที่อายตนะทั้ง6 อย่าไปตามความรู้สึกเวทนา ให้จิตตั้งอยู่กับโสตวิญญาณ ระลึกถึงตรงนี้อยู่เรื่อยๆ คือมีสติ ความคิดนึก สัญญา สังขาร เวทนามีได้ แต่ไม่ตามไป ให้จิตมาอยู่กับการฟัง ให้เข้าใจธรรมะ ไม่เผลอไม่เพลิน ให้ใคร่ครวญโดยที่มีสติสัมปัญชัญญะอยู่ สิ่งใดที่เป็นนามธรรมทั้งหลา…
  continue reading
 
มงคลชีวิตข้อ19 “อารตี วิรตี ปาปา” การงดเว้นจากบาป คำว่า “บาป”ตรงกันข้ามกับ “บุญ” บุญท่านเคยบอกว่าเป็นชื่อของความสุขแสดงว่าบาปนั้นก็จะเป็นชื่อของความทุกข์ แต่ต้องดูให้ลึกซึ้งคือให้ดูถึงภายในจิต บุญหรือบาปนั้นสะสมไว้ภายในจิต ไม่ได้สะสมไว้ในอาการของจิต ดังนั้นบาปคืออกุศลต่างๆที่ทำให้จิตเสีย ทำให้จิตตกต่ำ ทำให้จิตเกิดทุกข์นั่นเอง การจะงดเว้นจากบาปได้นั…
  continue reading
 
กิเลสเกิดแต่จิต ในใจเราเองไม่ใช่จากสิ่งภายนอก ซึ่งราคะโทสะโมหะทำให้จิตเศร้าหมองเป็นทุกข์ โดยมีผัสสะเข้าสู่ช่องทางอายตนะทั้ง6 ได้แก่ ตาหูจมูกลิ้นกายและใจ ผ่านวิญญาณการรับรู้ เกิดเวทนาเขื่อมด้วยตัณหา มากระทบจิตมีการปรุงแต่งและตอบสนองแตกต่างกันไป ตามอาสวะที่สั่งสมมา ตั้งสติด้วยการกำหนดอานาปานสติ อาจเผลอลืมลมบ้างก็ให้กลับมากำหนดเอาไว้ที่เดิม ทำอย่างต่อ…
  continue reading
 
“งาน” คือ อะไรก็ได้ที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีวิธีการปฏิบัติ และจะเกิดความเป็นมงคลได้นั้น คุณธรรมในการทำงานให้สำเร็จ คือ อิทธิบาท 4 การเจริญอิทธิบาท 4 ต้องเข้าใจให้ถูก ต้องมีองค์ประกอบอีก 2 อย่าง คือ “ธรรมเครื่องปรุงแต่ง” หรือเป้าหมาย และประกอบด้วย “สมาธิ” ที่จะมาเชื่อมกับกิจแต่ละอย่างๆ คือ “ฉันทะ” ความพอใจความเต็มใจ ที่ทำให้เริ่มลงมือทำ “วิริยะ” คว…
  continue reading
 
ฝึกปฏิบัติภาวนาด้วยการระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ ปักเป็นยอดธงเอาไว้ และปราศจากวิจิกิจฉา สติห่อหุ้มจิตเป็นเยื่อบางๆ ไว้ ไม่แปดเปื้อนกับผัสสะ สติมีกำลัง ความระงับของอายตนะค่อยๆ เกิดขึ้น เกิดอารมณ์อันเดียวเพื่อให้จิตเราเจริญสติปัฏฐาน4 และพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ด้วยหนทางเครื่องไปทางเดียวคือ มรรค8 เกิดสัมมาสมาธิ จิตจะเห็นตามความเป็นจริง ความไม่…
  continue reading
 
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ หมายถึง ตั้งตนไว้ชอบ ในที่นี้คือ การตั้งจิตเพื่อรักษากายและจิตใจให้อยู่ในทางที่เป็นกุศลธรรมในปัจจุบันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางที่ปลอดภัยไว้ให้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์8 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา การตั้งจิตไว้ถูกไม่ว่าจะเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นจึงเป็นมงคล ท่านยังทรงตรัสให้เรานึกถึงศีล นึกถึงโสตาปัตติยังคะ4 ให้มีปีติสุข อันเกิดจาก…
  continue reading
 
จิตเราสามารถฝึกได้ เริ่มจากการตั้งสติด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เกิดสมาธิภาวนา 4 ประเภท ไล่จากเพื่อสติสัมปชัญญะ เพื่อความสุขสงบในธรรม ภาวนาชนิดที่นำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตเกิดญาณทัสสนะ เห็นตามความเป็นจริง เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นภาวนาชนิดที่ให้สิ้นอาสวะ โดยการปฏิบัติมี 4 รูปแบบ คือการใช้สมถะเป็นเบื้องหน้าเป็นตัวนำแล้วเจริญวิปัสสนาใ…
  continue reading
 
ธรรมของสัตบุรุษ มีสัทธรรม 3 อย่างคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียนในระบบคำสอนที่เรารวบรวมมาโดยรอบแล้วนั่นคือคำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 (นวังคสัตถุศาสน์)ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูติธรรม เวทัลละ ปริยัติแบ่งตามรูปแบบการศึกษาได้ 3 อย่างดังนี้ 1.อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบเป็นงูพิษคือศึกษาธรรมเพื่อล…
  continue reading
 
ระบบความเพียรมีอยู่ 2 อย่างคือ ระบบความเพียรที่ไร้ผลคือการหาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ และเพลิดเพลินยินดีในความสุข ระบบความเพียรที่มีผลคือระบบของการประพฤติพรหมจรรย์ คือทางสายกลาง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา แจกแจงออกได้เป็นทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง มีสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูล เช่น การสำรวมอินทรีย์ คบกัลยาณมิตร ประมาณในการบริโภค การอ่…
  continue reading
 
ตัณหา เป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก มีความเป็นสภาวะขึ้นมา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องประกอบด้วยการเกิดอีกให้เป็นสภาวะขึ้นมา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มีความกำหนัด มีความเพลิน โดยนัยยะนี้ได้แบ่งตัณหาเป็น 3 อย่างดังนี้ 1.กามตัณหา คือความกำหนัดยินดีพอใจและความเพลินในรูปผ่านทางตา เสี…
  continue reading
 
มีสติอยู่กับลมหายใจ เกิดสัมมาสมาธิและเจริญพรหมวิหารสี่ตั้งไว้ในใจของเรา เมตตาหมายถึงความรักและปรารถนาดี กรุณาคือความปรารถนาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ มุทิตาหมายถึงความยินดีพอใจที่ได้พ้นจากความทุกข์หรือมีความสุข อุเบกขาคือความวางเฉยทั้งความสุขและความทุกข์เพราะเอาจิตจดจ่อตั้งไว้อยู่กับสมาธิ จากนั้นแผ่ไปทุกทิศ ไม่เว้นใคร ไม่มีขอบเขต เราไม่มองใครเป็น…
  continue reading
 
จรณะคือข้อปฏิบัติให้ถึงปัญญาข้อปฏิบัติที่ทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้ ข้อปฏิบัตินี้มี 15 อย่าง จรณะมีความหมายเดียวกันกับเสขะปฏิปทาคือข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังต้องฝึกต้องปฏิบัติต่อ ข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมขั้นสูง บุคคลที่ต้องการบรรลุธรรมจึงต้องปฏิบัติตามเสขะปฏิปทา ดังนั้นจรณะ15 ก็คือเสขะปฏิปทาที่มีเนื้อหาแจงออกเป็น 15 ประการ ตามนัยยะของเสขะปฏิปทาสูต…
  continue reading
 
ชีวิตมนุษย์เป็นของน้อย อาจจะแตกตายไปด้วยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ทำให้มีค่ามากได้ด้วยก่อนนอนทำความเพียรนั่งสมาธิตามหลักอานาปานสติ หลังตื่นขึ้นในยามสุดท้ายแห่งราตรีก็พิจารณาใคร่ครวญด้วยการเจริญกายคตาสติ มีสติสัมปชัญญะตั้งไว้อยู่ในกายของเรา ให้เห็นกายของเราตามความเป็นจริง ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนัตตา จะเกิดปัญญาอย่างใหญ่ ทำความดีด้ว…
  continue reading
 
ขึ้นชื่อคำว่า “พร” เป็นสิ่งที่ใครๆก็ปรารถนาเพื่อต้องการให้เกิดความสุขความสมหวังในชีวิตทั้งนั้น ในที่นี้ได้รวบรวมพรดีๆ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจากสูตรต่างๆอันได้แก่ จักกวัตติสูตร อิฏฐสูตร และจูฬกัมมวิภังคะสูตร ได้ 9 ประการดังนี้ 1.มีอายุยืน 2.วรรณะงาม 3.มีความสุข 4.มีโภคะเงินทอง 5.มีสุขภาพแข็งแรงมีโรคน้อย 6.มียศถาบรรดาศักดิ์มีอำนาจใหญ่โต 7.การเกิดในตร…
  continue reading
 
สู่โพชฌงค์เจ็ดด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ คือเห็นจิตในจิตจากการปรุงแต่ง หมายถึงสังเกตดูว่าจิตของเราเป็นอย่างไร เกิดเป็นสติที่ตั้งไว้ สังเกตทีละน้อยทีละน้อย และใช้ความรู้ที่เป็นกุศลในการแยกแยะจิตออกจากการปรุงแต่งของจิต ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อทำสติของเราให้มีกำลังเพิ่มขึ้น เกิดเป็นสมาธิซึ่งก็คือความที่จิตเป็นอารมณ…
  continue reading
 
กัลยาณมิตร หมายถึงบุคคลที่ปรารถนาดีและนำสิ่งดีงามและเป็นกุศลมาสู่เรา กัลยาณมิตรมีหลายแบบได้แก่ 1.กัลยาณมิตรที่เป็นองค์ความรู้อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 2.เพื่อนที่ดีคือฆราวาสผู้พร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา 3.พระสงฆ์ครูบาอาจารย์ 4.พระพุทธเจ้า ในครั้งนี้จะกล่าวรายละเอียดถึงกัลยาณมิตรแบบที่3 คือพระสงฆ์ครูอาจารย์ เราจะเลือกเอาพระสงฆ์ครูอาจารย์แบ…
  continue reading
 
เพราะรักสุขเกลียดทุกข์ ทำให้คนทั่วไปไม่เข้าใจต่อเวทนาอย่างแท้จริง เข้าใจเพียงด้านเดียว ความไม่เข้าใจนี้คืออวิชชามีความยุ่งเหยิงเป็นตัณหา แต่สัตบุรุษจะมีความเข้าใจว่าเวทนาไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์หรือแม้แต่อทุกขมสุข ล้วนสามารถบรรเทาซึ่งกันและกันได้ ดังเช่นความหิวเป็นทุกขเวทนา บรรเทาด้วยความสุขจากการลิ้มรส เมื่ออิ่มสุขนั้นก็บรรเทาไปด้วยอทุกขมสุข เวทนา…
  continue reading
 
โพธิปักขิยธรรมคือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ มี 7 หมวด 37 ประการได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 มรรคมีองค์8 องค์ธรรมทั้ง 7 หมวดนี้ คือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมเหมือนกัน ในครั้งนี้จะกล่าวให้เห็นความเหมือนและต่างกันขององค์ธรรมเหล่านี้ คู่แรกคือ “อินทรีย์5” กับ “พละ5” เหมือนกันโดยองค์รวม คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แต…
  continue reading
 
ปฏิบัติตามหลักของพระพุทธเจ้า ศีล สมาธิและปัญญา คือได้รับพรจากพระพุทธเจ้า เบื้องต้นสู่เนกขัมมะด้วยอานาปานสติ ตั้งสติขึ้นจากการใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ สติกำจัดนิวรณ์เกิดเป็นสมาธิ ฝึกสติบ่อยๆเพื่อให้มีกำลังแยกแยะอย่างละเอียด และใคร่ครวญโดยแยบคายด้วยโยนิโสมนสิการ เห็นคุณเห็นโทษของแต่ละขั้นของฌาน 4 ขั้น จะพัฒนาไปได้ตามลำดับ ดังนี้ ปฐมฌาน มีวิตก วิจารปี…
  continue reading
 
สตินี่แหละจะเป็นตัวช่วยจัดระเบียบจิตใจของเรา สติที่ท่านพระสารีบุตรอธิบายเจาะจงลงไป คือเครื่องมือที่ชื่อว่ากายคตาสติ โดยท่านอุปมาลักษณะของจิตไว้ 9 อย่าง คือ 1 จิตเสมอด้วยดิน จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับดินไม่ว่าใครจะทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด ดินก็ยังเป็นดินเสมอ 2 จิตเสมอด้วยน้ำ จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับน้ำไม่ว่าใครจะทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด …
  continue reading
 
เจริญพุทธานุสสติ ตามระลึกถึงความเพียรที่ไม่ถอยกลับของพระพุทธเจ้า ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ได้ตั้งไว้ซึ่ง อปฺปฏิวาณี หมายถึง ความไม่ถอยกลับ คือไม่สำเร็จจะไม่เลิกกลางคัน ดำเนินตามกระแสเรียกของจิตใจให้ไปตามทางสายกลาง อธิษฐานสร้างกำลังใจด้วยจิตตั้งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้มีกองทัพมารมาขวาง ทรงตั้งสติสัมปชัญญะไว้ไม่หลุด…
  continue reading
 
ปัญญาจัดเป็นอันดับสูงสุด จะลับปัญญาให้แหลมคมได้ต้องมีคุณธรรมต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งคุณธรรมที่ท่านกล่าวถึง คือ เวสารัชชกรณธรรม 5 (คุณธรรมที่จะทำให้เกิดความแกล้วกล้า ความกล้าหาญ ) ได้แก่ 1.ศรัทธา ความเชื่อใจ ความมั่นใจ ความลงใจ ในการตรัสรู้ของพระพุทธ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า และในหมู่สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า 2.ศีล ความประพฤติถูกต…
  continue reading
 
นิวรณ์ 5 คือเครื่องกางกั้น ทำปัญญาให้ถอยกำลัง ได้กล่าวถึงกามฉันทนิวรณ์และพยาบาทนิวรณ์ไปแล้ว อีก 3 ข้อ ได้แก่ ถีนมิทธะนิวรณ์ คือ ความหดหู่และความเคลิบเคลิ้ม อุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ คือความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ วิจิกิจฉานิวรณ์ คือความเคลือบแคลง ทั้งภายในและภายนอก กำจัดนิวรณ์โดยขจัดทุจริต3 สร้างสุจริต3 ด้วยการรักษาศีล และระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ…
  continue reading
 
ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกในที่นี้จะกล่าวไว้ ๒ กรณี กรณีที่ ๑ คือผู้ที่อยู่คนเดียวจะอยู่อย่างไรให้ผาสุกอยู่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็น ๒ นัยยะได้แก่นัยยะที่ตรัสไว้กับภิกษุทั้งหลายว่าธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกคือ ฌาน ๑/ ฌาน ๒/ ฌาน๓/ ฌาน๔ /การทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ ส่วนนัยยะที่ ๒ได้ปรารภในคหบดีเจาะจงสำหรับผู้ครองเรือนไว้ คือโสตาปัตติยังค…
  continue reading
 
นิวรณ์ 5 เป็นเครื่องกางกั้นทำให้จิต และปัญญาถอยกำลัง หรือเกิดไม่ได้ ซึ่งขออธิบายเรื่องของกามฉันทะ หมายถึง จิตมีความพอใจไปในกาม และ ความพยาบาท คือ การคิดปองร้าย การคิดอาฆาต ทั้งภายในและภายนอก สามารถสังเกตการมีอยู่ของนิวรณ์โดยใช้สติระลึกรู้ และจะไม่ให้มีนิวรณ์เพิ่มขึ้นโดยไม่ให้อาหาร นั่นก็คือ ทุจริต 3 ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เครื่องมือที่จะทำใ…
  continue reading
 
พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับสหัมบดีพรหมไว้ที่ใต้ต้นไทรว่า ประตูสู่นิพพานอันเป็นอมตะเราเปิดไว้แล้ว ทางที่ท่านบอกไว้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ‘‘สัตว์เหล่าใดที่จะมาตามทางนี้จงปลงศรัทธาลงไปเถิด’’ ทางสายกลางอันประเสริฐ 8 อย่าง (อริยอัฏฐังคิกมรรค) คือ ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง ขวาสุด คือ ชุ่มด้วยกามยึดถือยินดีในกามคุณ ซ้ายสุด คือ ไม่เอาอะไรสักอย่างปฏิเสธหมดทุกอย่…
  continue reading
 
กิจโฉ มนุสสะปฏิลาโภ ความที่จะได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก จึงต้องทำประโยชน์ให้ได้มาก คือ พัฒนาเป็นอริยะบุคคล โดยการรักษาศีล มีสติสัมปชัญญะ ทำจิตให้สงบด้วยการเจริญพุทธานุสสติ ปฏิบัติตามอริยะมรรคมีองค์แปด โดยยึดสติปัฏฐานสี่ เป็นหลัก พัฒนาให้เกิดเป็นสมาธิสงบในอันเดียว และเกิดเป็นปัญญา มีค่ามากตรงที่เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยง จะเห็นอริยสัจสี่ ท…
  continue reading
 
กรรม คือ เจตนาที่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ออกไปทางกาย วาจา ใจ เมื่อมีการปรุงแต่งกระทำออกไปแล้ว ย่อมมีผลหรือมีวิบากของกรรมนั้นอย่างแน่นอน เรื่องของกรรมเป็น “อจินไตย” คือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เพราะถ้าคิดแล้วอาจจะทำให้เป็นบ้าได้ ในที่นี้หมายถึง เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน (ตามนัยยะ อจินติตสูตร) ตราบใดที่เมื่อยังมีการปรุงแต่งกรรมอยู…
  continue reading
 
ผาสุกได้เมื่อมีทุกข์ โดยการปฏิบัติตามทางอันประเสริฐแปดอย่าง ด้วยการเข้าใจเริ่องทุกข์, ไม่มีสิ่งใดในโลกที่ไม่ทุกข์, มีเพียงแต่ทุกข์มาก หรือทุกข์น้อย, ทุกข์คือสภาวะที่ถูกบีบคั้น เกิดขึ้นได้เพราะตัณหา, เราอย่าเอาตัวเราไปอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบคั้น, นั่นคืออย่ามีความอยาก, ให้เห็นด้วยปัญญาว่า, ทุกข์นั้น มันเป็นของมันอย่างนี้ ก็อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ ด้…
  continue reading
 
กรรม (กัมมะ) คือ เจตนาของจิตที่เมื่อมีผัสสะมากระทบแล้วเกิดการปรุงแต่งออกไป ทางกาย (กายกรรม) วาจา (วจีกรรม) และใจ (มโนกรรม) เป็นอกุศลกรรมบ้าง หรือกุศลกรรมบ้าง หรือเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม (อริยมรรคมีองค์ 8) กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ - ทำความเข้าใจกรรมผ่าน “นิพเพธิกสูตร” · เรากล่าวซึ่ง “เจตนา ว่าเป็นกรรม” เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วย…
  continue reading
 
เจริญรัตนะสามประการ คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ, ยึดพุทโธ ธัมโม และสังโฆ เป็นที่พึ่งอันสูงสุด, พุทโธ หมายถึง การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, หมายถึง จิตใจที่ตื่นรู้แล้ว, ธัมโม คือ องค์ความรู้ที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง ที่จะต้องนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นพุทโธขึ้นมาได้, สังโฆ หมายถึง การปฏิบัติของตัวเราเองที่อยู่ในจิตใจของเราเอง, พุทโธ ธัมโม สั…
  continue reading
 
“กรรม” คือ การกระทำที่เกิดจากเจตนาของจิตที่ถูกกระตุ้นผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วปรุงแต่งออกไป ทาง 3 ช่องทาง คือ 1. ทางกาย เป็น กายกรรม 2. ทางวาจา เป็น วจีกรรม 3. ทางใจ เป็น มโนกรรม ทำความเข้าใจเรื่องของ “กรรม” ผ่านพุทธพจน์ที่ว่า.. “เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น” หมายถึง เมื่อมีเหตุแล้ว ย่อมมีผล “เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เร…
  continue reading
 
ฝึกจิตโดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ, ให้ลมหายใจของเราทำทางไปสู่อมตะ คือ ความไม่ตาย, ขณะที่เราใส่ใจสังเกตดูลมหายใจ นั่นคือ เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ขึ้นแล้ว, พอเราทำสมาธิฝึกตั้งสติ เกิดสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะทันที, ตั้งไว้จากศีลทางกาย วาจาที่เรามี, สติที่มีกำลังมากขึ้น จะผลักดันให้เกิดสัมมาสังกัปปะ, สัมมาอาชีวะก็เกิดขึ้น, จิตเราจะระงับลง, ก…
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน