Islamic สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม

ดาวน์โหลดแอปเลย!

show episodes
 
Loading …
show series
 
​​ภาพจำที่คุณมีต่อ บรรหาร ศิลปอาชา เป็นอย่างไรเป็นนายกรัฐมนตรีร่างเล็กที่พูดเสียงดัง เป็นนักการเมืองที่ร่วมรัฐบาลได้ตลอด เป็นสัญลักษณ์แห่ง ‘สุพรรณบุรี’ หรือเป็นทุกอย่างรวมกันหากย้อนกลับไป บรรหาร ศิลปอาชา คือหนึ่งชื่อที่เปลี่ยนการเมืองไทย… คนธรรมดาๆ คนหนึ่งจากสุพรรณบุรีที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจก่อสร้าง วันหนึ่งกลับ ‘ยึด’ พรรคชาติไทย พรรคของขุนทหาร…
 
​​หากย้อนเรื่องราวกลับไปในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ ‘กบฏ 20 มีนาคม 2520’ นำโดย พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก ยังเป็นความพยายามรัฐประหารที่มี ‘ปริศนา’ เกิดขึ้นหลายประการ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของแรงจูงใจ เบื้องหลัง และเรื่องราวต่างมุมที่แวดล้อมเหตุการณ์สำคัญอย่างการสังหาร พลตรี อรุณ ทวาทศิน ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กลางกองบัญชากา…
 
การเมืองแบบ ‘เจ้าพ่อ’ และ ‘บ้านใหญ่’ ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่อยู่คู่กับประชาธิปไตยแบบไทยๆ มาหลายทศวรรษ การถือกำเนิดของบ้านใหญ่มาจากการ ‘อุปถัมภ์’ ทั้งตัวบุคคล ชุมชน และสร้างบารมีจากการสะสมทรัพยากรในจังหวัด สยายปีกไปยังการทำธุรกิจต่างๆ และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็ลงสนามการเมือง ทำให้หลายนามสกุลอยู่คู่กับสนามการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น และในระดับชาติมาอย…
 
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี” เป็นถ้อยความสั้นๆ ที่ ‘ทรงพลัง’ และกลายเป็นจุดศูนย์กลางท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองยุคใหม่อันที่จริงหากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ความผิดฐาน ‘ดูหมิ่น’ พระมหากษัตริย์นั้นไม…
 
เมื่อการรัฐประหารกับการเมืองไทยเป็นของคู่กัน สิ่งที่มักเกิดขึ้นในอดีตก็คือเมื่อ ‘ทหาร’ ต้องการวางมือจากการเป็นเผด็จการก็ต้องตั้งพรรคทหารมารองรับ วิธีปฏิบัตินั้นไม่ต่างจากเดิม โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวคือ ‘ไปต่อ’ ฉะนั้นต้องใช้สรรพกำลังทุกวิถีทางเพื่อดึงดูด ส.ส.กลุ่มเดิมๆ เข้า ไม่ว่าจะด้วยกำลังเงิน หรือด้วยโปรโมชันย้ายค่าย-เคลียร์คดี เพื่อให้มี ส.ส.ในมือ…
 
ในประวัติศาสตร์ไทย การสืบราชสันตติวงศ์เป็นเรื่องวุ่นวาย ในสมัยอยุธยานั้น การไม่กำหนดกฏเกณฑ์ อาศัยเพียงพระราชอำนาจและขุมกำลังว่าฝ่ายใดเหนือกว่า เป็นต้นเหตุของการล้มราชวงศ์อยู่หลายครั้ง และปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นต้นเหตุให้อาณาจักรเกิดความระส่ำระสายทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ผลัดแผ่นดินครั้นถึงสมัยในหลวง รัชกาลที่ 5 เริ่มมีพัฒนาการ คือใช้วิธีการตั้งมกุฎราช…
 
หากจำกัดความสถานการณ์การเมืองไทยในปี 2022 คงอยู่ภายใต้ 3 คำโดดเดี่ยว - ด้วยสถานะของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในรอบปีที่ 8 ที่ไม่ได้มี ‘อำนาจเต็ม’ อยู่ในมือ และต้องต่อรองกับบรรดา ส.ส. มองอย่างไรก็หนีไม่พ้นคำนี้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบหลัง คะแนนของพลเอกประยุทธ์ยังอยู่ในระดับ ‘รองบ๊วย’ น้อยกว่ารัฐมนตรีและรองนายกฯ หลายคนอลเวง - สภาวะสุญญา…
 
Ways of Being Wilds EP.14 ขอชวนคุณผู้ฟังมาร่วมส่งท้ายปี 2565 กับวรรณคดีไทยเนื้อหาสุดพิลึก ที่บางเรื่องแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้ประพันธ์ขึ้นมาได้ เหตุใดวรรณกรรมเหล่านี้แทบไม่หลงเหลืออยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย และวรรณกรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงบริบทสังคมไทยในช่วงเวลานั้นอย่างไรบ้าง ขอเชิญมาหาคำตอบไปพร้อมกัน…
 
หากพูดถึงบรรดาบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ‘เจ้าดารารัศมี’ คือหนึ่งในนั้นผ่านมาร้อยกว่าปี เรื่องที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรง ‘ขอตัว’ เจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าเมืองเชียงใหม่มาแต่งงานในกรุงเทพฯ ยังเป็นประวัติศาสตร์อันลือลั่น เรื่องราวที่เล่าต่อกันภายหลัง มีทั้งในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงรับเลี้ยงเจ้าดารารัศมี เพื่อไม่ให้ควีนวิกตอเรียขออังกฤษขอเป็นลูกบุญธ…
 
สถานการณ์การเมืองล่าสุดของประเทศจีนหลังจาก ‘สี จิ้นผิง’ (Xi Jinping) ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนติดต่อกันเป็นสมัยที่ 3 ภายในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 20 แบบเต็มคณะครั้งแรก ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16-22 ตุลาคม 2022 ณ หอประชุมประชาชน กรุงปักกิ่ง หมายความว่าประธานาธิบดีสีจะยังคงรักษาตำแหน่งผู้มีอำนา…
 
หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ สมัย ‘ล้านนา’ ยังไม่อยู่ภายใต้สยาม ครูบาศรีวิชัยน่าจะเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ด้วยชื่อเสียงของการเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา ผู้ซ่อมแซมวัดวาอารามหลักหลายร้อยวัด และด้วยแรงศรัทธา ซึ่งสามารถรวมทั้งพระสงฆ์และฆราวาส จนสามารถดูแลวัด สร้างวัด กระทั่งสร้างถนนหนทางในจำนวนมหาศาลขนาดนั้นได้ทั่วภาคเหนือแรงศรัทธาของผู้คนมหาศาลไ…
 
จำลอง ดาวเรือง, ถวิล อุดล, ทองเปลว ชลภูมิ และ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ คือชื่อของ 4 อดีตรัฐมนตรี คนสนิทของ ปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกสังหารโหดริมถนนพหลโยธินในช่วงกลางดึกวันที่ 4 มีนาคม 2492 เป็นการสังหารในระหว่างที่ตำรวจกำลังควบคุมตัวคนเหล่านี้ไปไว้ยัง ‘ที่ปลอดภัย’ พอดิบพอดีเรื่องเล่าจากทางการระบุว่าในระหว่างการเคลื่อนย้ายทั้ง 4 ราย เกิดมีโจรมลายูบุกชิงตัว แล…
 
“ถ้าชีวิตนี้มีสิทธิ์เลือกวันตายหรือวิธีตายเป็นของตัวเองจะเป็นไปได้จริงหรือเปล่า”คำตอบคือเป็นไปได้ หลายประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกายินดีให้ความสำคัญกับการออกกฏหมาย ‘การุณยฆาต’ (Euthanasia) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 90s เพื่อรองรับความต้องการของบุคคลที่ต้องเจ็บป่วยและทรมานด้วยโรคร้ายเรื้อรัง ที่ทำได้แค่เพียงใช้ยาระงับอาการไปวันๆ ต้องอยู่ในสภาพช่วยเหลือต…
 
หากนับโศกนาฏกรรมเดือนตุลาคม ก็ควรต้องบรรจุเหตุการณ์ ‘ตากใบ’ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เข้าไปด้วยเหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นในช่วงประชาธิปไตยเต็มใบ หลังสลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เจ้าหน้าที่ทหารได้รับคำสั่งให้จับผู้ชุมนุมขึ้นรถทหารด้วยเสียงสั้นๆ ว่า ‘ขนไปให้หมด…
 
ใครที่เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียบ่อยๆ คงเคยผ่านตากับคำว่า ‘Woke’ ที่เป็นคำกริยาช่องสองที่ผันมาจาก ‘Wake’ ซึ่งมีความหมายว่า ‘ตื่น’ แต่คำดังกล่าวกลับถูกนำมาล้อเลียนเสียดสีจนกลายเป็นชนวนคำว่า Woke ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกโซเชียลเมื่อปี 2020 ในความหมายเปรียบเปรยเสมือนผู้ที่ ‘ตื่นรู้’ ทั้งในเรื่องของความเท่าเทียมระหว่างสีผิว ความเท่าเทียมทางเพศ ไปจนถ…
 
หากว่ากันตามประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จบลงด้วยชัยชนะของประชาชนในการขับไล่รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ออกไปได้ ผ่านการต่อสู้ของขบวนการนักศึกษา เป็นการปิดฉากระบอบเผด็จการอันยืนยาวแต่ในอีกด้านหนึ่ง เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก็ยังมีเรื่อง ‘ลึกลับ’ อีกมาก เพราะการที่ประชาชนจะล้ม ‘อำนาจรัฐ’ ได้นั้น ย่อมมี ‘มือที่มองไม่เห็น’ อื่นๆ เข้ามาช่วยในการล้ม แ…
 
28 กันยายน 2549 สนามบินสุวรรณภูมิเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ในฐานะ ‘หน้าตา’ ของประเทศ ด้วยความคาดหวังว่าจะเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ทัดเทียมกับสนามบินชางงีของสิงคโปร์ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนไทยต้องรอนานเกิน 40 ปีกว่าสนามบิน ‘หนองงูเห่า’ แห่งนี้จะสร้างเสร็จ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการวาดฝันของ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ออกแรงอย่างหนักเพื่อให้สนามบินแห่งนี้เสร็จทันสมัย…
 
เพื่อคลายความสงสัยว่าปัจจัยใดทำให้หลายประเทศต้องตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ และประเทศไทยจะมีสิทธิ์เกิดสถานการณ์รูปแบบคล้ายกันเหมือนวิกฤตต้มยํากุ้ง ปี 2540 หรือไม่ Way of Being Wilds EP นี้ ชวนมาร่วมไขคำตอบโดย THE MOMENTUM
 
ร่วมกันหาคำตอบว่าเพราะเหตุใดประเทศคอมมิวนิสต์แห่งนี้ ถึงได้มีศักยภาพมากพอที่จะเป็น ‘คู่เทียบ’ กับบ้านเรา ขณะเดียวกัน มีเหตุและปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ไทยยังคงย่ำอยู่กับที่โดย THE MOMENTUM
 
ย้อนกลับไปวันที่ 13 สิงหาคม 2565 เกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญ หลังนักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดีย ‘ซัลมัน รัชดี’ (Salman Rushdie) ถูกชายนิรนามคนหนึ่งจู่โจมทำร้ายอย่างอุกอาจด้วยการชกต่อย พร้อมใช้มีดปลายแหลมแทงบริเวณท้องและลำคอ ขณะกำลังขึ้นเวทีบรรยายในงานวิชาการของสถาบันเชาทากัว รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ต่อหน้าผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,500 ราย ก่อนที่เจ…
 
b-holder พาย้อนกลับไปฟังเรื่องราวของกบฏ 9 กันยาฯ 2528 เพื่อฟังความพิเศษของการก่อการรัฐประหารครั้งนี้ว่าเกิดความผิดพลาดในจุดใด ทำไมจึงคว้าน้ำเหลว และร่วมกันหาคำตอบว่ามีตัวละครใดที่นัดไว้ แต่กลับเปลี่ยนใจในนาทีสุดท้าย จนทำให้ผู้ก่อการทั้งหมดต้องหนีออกนอกประเทศอีกครั้งโดย THE MOMENTUM
 
ชวนฟังเรื่องราวที่ถูกเรียกขานว่า ‘วิกฤตช็อกโกพาย’ ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ พร้อมไขสาเหตุที่ทำให้ขนมสุดแสนจะธรรมดา กลายเป็นชนวนเหตุแห่งความบาดหมางระหว่างสองประเทศได้ถึงเพียงนี้โดย THE MOMENTUM
 
ชวนย้อนเส้นทางชีวิตทางการเมืองของ นายกฯ สมัคร ผู้ที่มีชีวิตผาดโผนที่สุด และสำรวจว่ามีอะไรเบื้องหลังการตัดสินใจของสมัครในแต่ละครั้งที่เขาตัดสินใจรับตำแหน่งสำคัญบ้าง แล้วเพราะเหตุใด จากคน ‘ขวา’ สุดขอบ จึงถูกจัดการอย่างเด็ดขาดในช่วงปีท้ายๆ ของชึวิตทางการเมืองโดย THE MOMENTUM
 
Ways of Being Wild EP7 พาคุณผู้ไปทำความรู้จักกับตำนานสุดแฟนตาซีของสุนัขพันธุ์คอร์กี้ พร้อมด้วยประวัติความเป็นมา ความสัมพันธ์อันน่าประทับใจต่อควีนเอลิซาเบธที่ 2 และสัมผัสความคลั่งไคล้ในฐานะ Corgi Lover ของ ‘ปั๊บ’ - พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์ ผู้ดำเนินรายการโดย THE MOMENTUM
 
b-holder ชวนย้อนดู ‘ตำนาน’ ของการก่อสร้าง และบรรดาเรื่องราวไม่ชอบมาพากลในโครงการใหญ่ของกองทัพบก และร่วมกันพยายามแกะรอยว่าทำไมเรื่องนี้ถึงเอาผิดใครไม่ได้สักคนโดย THE MOMENTUM
 
b-holder ชวนย้อนกลับไปพินิจพิเคราะห์ต้นทาง กลางทาง และปลายทางของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ฉบับที่ว่ากันว่า ‘ดีที่สุด’ ว่ามีความยากลำบากเพียงใด แล้วร่วมกันหาคำตอบว่าทำไมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถึงมีนายกรัฐมนตรีคนเดียวโดย THE MOMENTUM
 
Ways of Being Wild EP6 พาย้อนรอยความเชื่อของศาสนาผีและศาสนาพุทธในประเทศไทย เหตุใดความเชื่อเรื่องศาสนาผีจึงสอดแทรกอยู่ในคติความเชื่อของศาสนาพุทธได้อย่างแนบเนียนมายาวนานหลายร้อยปีโดย THE MOMENTUM
 
b-holder EP นี้ จะพาไปสำรวจแง่มุมสำคัญของการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ ครั้งนี้ ตั้งแต่การรวมตัวกันของบรรดา ‘ราษฎร’ ความสำคัญของการปฏิวัติสยาม ไปจนถึงวันที่ผู้ก่อการทั้งหลายเกิดผิดใจกัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ไปไม่ถึงฝั่งฝัน และวันที่ชื่อของผู้มีส่วนร่วมค่อยๆ ถูกลบออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ ว่ามีสาเหตุเบื้องหลัง มีเกร็ดประวัต…
 
เนื่องในเดือนแห่งการต่อสู้เพื่อความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ พอดแคสต์ Ways of Being Wild EP5 สัปดาห์นี้ ขอชวนคุณผู้ฟังมาร่วมถกประเด็นหัวข้อแนวคิดปิตาธิปไตยที่แอบแฝงอยู่ในวัฒนธรรมชาวเอเชีย (The Patriarchy of Asianism) ถึงต้นตอ บริบทต่อสังคมชาวเอเชีย และคำถามที่ว่า ประเทศเจริญแล้วต้องสลัดความคิดชายเป็นใหญ่ให้หลุดพ้นก่อนหรือไม่…
 
b-holder ตอนนี้ จะพาไปวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างในทางการเมือง ระหว่างพลเอกประยุทธ์และพลเอกเปรม ทำไมพลเอกประยุทธ์ถึงไม่เท่ากับพลเอกเปรม และไม่มีทางเป็นพลเอกเปรมได้ บวกกับร่วมกันทำนายบั้นปลายรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ ว่าถึงที่สุดจะมีสภาพเป็นอย่างไรโดย THE MOMENTUM
 
เนื่องในเดือนชนวนเหตุแห่งการปฏิวัติประเทศอิหร่าน ขอชวนผู้ฟังร่วมถกประเด็นว่า เหตุใดศาสนาอิสลามจึงมีอิทธิพลต่อประเทศมหาอำนาจแห่งตะวันออกกลางประเทศนี้โดย THE MOMENTUM
 
วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้กระแส ‘ชัชชาติ’ พุ่งแรงถึงขีดสุด เหตุและปัจจัยที่ทำให้ฝ่าย ‘หนุนรัฐบาล’ พ่ายแพ้อย่างย่อยยับ และแรงกระเพื่อมที่จะส่งต่อไปถึงการเมืองภาพใหญ่ในอนาคตอันใกล้โดย THE MOMENTUM
 
พอดแคสต์ Ways of Being Wild ตอนที่ 3 ชวนพูดคุยถึงเรื่องราวของ ‘สะมาริตันส์’ ชนเผ่าทายาทสายตรงที่เหลือรอดของอดัมกับอีฟ ซึ่ง ‘ปั๊บ’ - พงศ์ศรณ์ ภูมิวัฒน์ จากเพจ The Wild Chronicles เพิ่งมีโอกาสได้ไปเยือนอิสราเอล เพื่อพูดคุยและสืบค้นเรื่องราวของพวกเขาถึงถิ่นต้นกำเนิด ในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์โลกที่ยังมีชีวิตอยู่…
 
ในวาระครบรอบ 30 ปี ของเหตุการณ์ความรุนแรง พฤษภา 2535 b-holder ชวนย้อนอดีตไปสำรวจ ‘ปม’ ที่ทำให้เกิดความรุนแรง สำรวจ ‘ตัวละคร’ ว่ามีใครที่เกี่ยวข้องบ้าง พร้อมกับพยายามหาคำตอบว่า เหตุการณ์การชุมนุมโดยสงบ ที่จบด้วยการล้อมปราบนั้น อะไรคือเบื้องหลัง และยังคงเหลือปริศนาอะไรบ้างที่ยังคลุมเครือจนถึงปัจจุบันโดย THE MOMENTUM
 
พอดแคสต์ Ways of Being Wilds ตอนที่ 2 ชวนมาเจาะลึกเรื่องราวของ วลาดีมีร์ ปูติน ทำไมอดีตสายลับ KGB และประธานาธิบดีคนปัจจุบันแห่งรัสเซีย ถึงยินดีถูกตีตราว่าเป็นอาชญากรสงครามและผู้ร้ายมือเปื้อนเลือดพรากชีวิตคนบริสุทธิ์ เพื่อแลกกับการสร้างจักวรรดิรัสเซียเวอร์ชันใหม่อันรุ่งโรจน์โดย THE MOMENTUM
 
b-holder Podcast พาย้อนเวลากลับไปดู ‘ประวัติศาสตร์’ ของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ว่าต้นกำเนิดและ ‘ราก’ ของพรรคตั้งแต่เมื่อ 76 ปีก่อนเป็นมาอย่างไร มีประวัติศาสตร์ช่วงเวลาไหนที่น่าสนใจบ้าง ทำไมประชาธิปัตย์ถึงเป็นพรรคของคนใต้ และเพราะเหตุใด พรรคนี้ถึงถูกเรียกว่าแมลงสาบโดย THE MOMENTUM
 
Ways of Being Wild เริ่มต้น EP แรกด้วยการชวนคุณผู้ฟังไปพูดคุยและถกกันในประเด็น ‘End of Long Peace เมื่อโลกสงบสุขมานาน สงครามจึงอุบัติขึ้นอีกครั้ง’ ก่อนร่วมหาคำตอบว่า ยุคแห่งสันติภาพที่เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ แท้จริงเป็นคำอุปโลกน์สร้างขึ้นหรือมีอยู่จริง รวมถึงมุมมองความเป็นไปได้หากโลกต้องเผชิญสู่ยุคสงคราม…
 
b-holder EP นี้ จะพาไปวิเคราะห์ ‘ระหว่างทาง’ 197 ปี หลังจากการเกิดขึ้นของคณะสงฆ์ธรรมยุต ว่าได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับวงการสงฆ์ไทยบ้าง ตั้งแต่ความพยายาม ‘ปฏิรูปสงฆ์’ ที่สุดท้ายจบลงด้วยความล้มเหลว และความรู้สึก ‘ไม่เท่าเทียม’ ระหว่างสองนิกายที่ยังดำรงอยู่ถึงทุกวันนี้โดย THE MOMENTUM
 
b-holder Podcast พาไปสำรวจทั้ง เบื้องหน้า เบื้องหลัง ของการรัฐประหารที่ทั้งยิ่งใหญ่ที่สุด และล้มเหลวมากที่สุด ซึ่งสุดท้ายจบลงด้วยอัสดงของยังเติร์ก รวมถึงสำรวจบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการต่อต้านรัฐประหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พลเอกเปรมและรัฐบาลได้รับชัยชนะในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน รวมถึงทำให้พลเอกเปรมกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่ครองตำแหน่งนายกฯ …
 
b-holder สัปดาห์นี้ พาย้อนกลับไปติดตามความสัมพันธ์ตลอด 115 ปี ของไทย-รัสเซีย ว่าในความสัมพันธ์อันซับซ้อนของทั้ง 2 ประเทศ มีอะไรที่เกิดขึ้นบ้างระหว่างทาง ตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 5 ยุคสงครามเย็น และความสัมพันธ์ระหว่าง ทักษิณ ชินวัตร กับประธานาธิบดี วลาดีมีร์ ปูติน ที่เป็นใบเบิกทาง ทำให้รัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่แนบแน่นกับไทยที่สุดในศตวรรษที่ 21…
 
พาย้อนประวัติศาสตร์ว่าด้วยรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งถือเป็น ‘บทใหม่’ ของการหวนคืนสู่อำนาจทหาร ที่มาของรัฐประหารครั้งนี้คืออะไร ผลสะเทือนของรัฐประหารครั้งนี้คืออะไรบ้าง แล้วทำไมสุดท้ายถึงได้กลายเป็นต้นตำรับของรัฐประหารที่ ‘เสียของ’โดย THE MOMENTUM
 
พาย้อนประวัติศาสตร์ว่าด้วยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบ ‘พิเศษ’ ที่สะท้อนการเมืองแบบ ‘ไทยๆ’ ได้ดีที่สุดโดย THE MOMENTUM
 
ท่ามกลางสนามการลงทุนที่ดุเดือด นักลงทุนทั้งหน้าเก่า และหน้าใหม่ ควรจะเลือกลงทุนในสิ่งใดกันดี ก่อนจะหมดปี 2021 นี้ไปโดย THE MOMENTUM
 
หนึ่งปีบนเกาะอังกฤษกับชีวิตผู้สื่อข่าวกีฬาฟุตบอลของ วิศรุต สินพงศพร แห่ง เพจวิเคราะห์บอลจริงจัง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานของสื่อต่างประเทศ รวมถึงบทเรียนที่เปลี่ยนมุมมองในการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อการเขียนงานของเขาในปัจจุบันโดย THE MOMENTUM
 
คัมภีร์ของนักลงทุนมือใหม่จะพาคุณไปรู้จักกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเจ้าปัญหา ที่อาจเป็นได้ทั้งการพนัน และเครื่องมือการลงทุนที่มีประสิทธิภาพในการทำไรสูงในเวลาเดียวกันโดย THE MOMENTUM
 
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ‘ต้มยำกุ้ง’ ถูกมองว่าเป็นอาหารประจำชาติมาโดยตลอด ทั้งด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และความพิถีพิถันในการปรุงแต่งจนถูกปากทั้งชาวไทยและต่างชาติ ถูกแนะนำแบบปากต่อปากจนเป็นที่รู้กันว่า ต้มยำกุ้งนั้นเป็นอาหารของชาติไทยแต่ก็น่าสนใจไม่น้อยว่า ในปัจจุบัน ต้มยำกุ้งไม่ได้อยู่เมนูในชีวิตประจำวันเท่าไรนัก อาหารจานดังกล่าวกลับไม่ได้อยู่ในใจเท่าไรห…
 
ร่วมฟังประสบการณ์เที่ยวไม่เสียเที่ยวจาก ‘บีม’ - สิษฐารัตน์ ปี่ทอง หรือที่ใครหลายคนรู้จักเธอในฐานะ ‘บีมเซนเซย์’ คุณครูและคอนเทนต์ครีเอเตอร์สอนภาษาญี่ปุ่นมากความสามารถ กับประสบการณ์บินลัดฟ้าเพื่อสานฝันในการเรียนต่อภาษาญี่ปุ่น ตามที่เธอตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่เยาว์วัย และการเรียนรู้ตลอด 3 ปีครึ่ง ที่แดนอาทิตย์อุทัยผ่านวัฒนธรรม การใช้ชีวิต และการท่องเที่…
 
ในอดีต การขายงานศิลปะส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาแกลเลอรีเป็นหลัก ตอนนี้ศิลปินสามารถเปลี่ยนบทบาทเป็น ‘พ่อค้า’ ซื้อ-ขายงานศิลปะได้ด้วยตัวเองแบบไม่ต้องง้อคนกลาง แถมโลก NFT ยังเปิดโอกาสให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้หลากหลาย ท่ามกลางนักสะสมทั่วโลกที่พร้อมควักกระเป๋าจ่าย หากผลงานเตะตาต้องใจ จนอาจถึงขั้นชุบชีวิต ‘ศิลปินไส้แห้ง’ ให้กลายเป็นเศรษฐีคริปโตฯ ได้เลยทีเ…
 
คนมักจะหวาดกลัวการลงทุน เพราะเป็นศาสตร์ที่ดูมีความยุ่งยาก อีกทั้งยังมีตัวเลขและกราฟมาข้องเกี่ยว ทำให้บางคนเลือกที่จะเบือนหน้าหนีศาสตร์แห่งการสร้างความมั่งคั่งตัวนี้ไป แต่รู้หรือไม่ว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) นักลงทุนอันดับ 1 ของโลกนี้ วิเคราะห์การลงทุนจากการอ่านหนังสือพิมพ์ แทนที่จะเป็นกราฟเสียด้วยซ้ำ คัมภีร์ของนักลงทุนมือใหม่ตอนนี้จึงจะไ…
 
น่าสนใจอย่างมากที่ในปัจจุบัน มังงะยอดนิยมมากมายไม่ได้มีเพียงความสนุกไปกับเนื้อเรื่องหรือฉากต่อสู้ที่เร้าใจเพียงเท่านั้น แต่ยังมีการสอดแทรกประเด็นทางการเมือง ถ่ายทอดแนวคิดของผู้เขียนผ่านเนื้อเรื่องและลักษณะนิสัยของตัวละคร เพื่อปลูกฝังให้ผู้อ่านเกิดความตื่นรู้ทางสังคม และสามารถวิจารณ์การเมืองผ่านงานของพวกเขาได้และหากพูดถึงมังงะที่เข้าข่ายกรณีดังกล่าว…
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน