Files สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
show episodes
 
เสียงบรรยายธรรมของหลวงพ่อไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต Dhamma talks by Venerable (Luangpor) Paisal Visalo, Abbot of Watpasukato, Chaiyaphum, Thailand. MP3 files are courtesy of https://www.facebook.com/Zensukato Contact admin: watpasukato19@gmail.com
  continue reading
 
Loading …
show series
 
14 ธ.ค. 66 - สิ่งมีค่าที่ควรถนอมรักษา : เราใส่ใจกับเรื่องอะไร จิตของเราก็จะเป็นอย่างนั้น ถ้าเราอยากให้ใจเรามีความสุข มีความสงบ เราก็ต้องรู้จักที่จะใส่ใจ ซึ่งก็ได้แก่มารู้กายรู้ใจ มาใส่ใจกับกายเวลาเคลื่อนไหว มาสังเกตรู้ทันความคิดและอารมณ์ เมื่อมันมีสิ่งเหล่านี้ผุดขึ้นในใจ ถ้าเราเห็นคุณค่าของความใส่ใจ ตระหนักว่ามันเป็นทรัพยากรที่มีค่า เราจะหวงแหน ทะน…
  continue reading
 
5 ธ.ค. 66 - แง่คิดจากคนใกล้ตาย : ถ้าเราใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ถึงแม้เราจะต้องตายจากโลกนี้ไป มันไม่มีอะไรต้องเสียดาย ที่จริงการใช้ชีวิตของเราแต่ละวันๆ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการใช้แต่ละวันเพื่อการเตรียมตัวรับมือกับความตายที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า เพราะไม่อย่างนั้น ถ้าความตายมาถึงมันทุกข์ทรมานมาก หรืออย่างน้อยๆ ก็ใช้เวลาแต่ละวันเตรียมรับมือกับความเจ…
  continue reading
 
4 ธ.ค. 66 - สุขได้ถ้าคาดหวังไม่สูง : ปัญหาคือว่าเวลาเราปฏิบัติธรรมแล้ว เรามักจะตั้งความหวังไว้สูง เช่นเดียวกับการทำความดี การทำบุญทำดี ทำดี ทำบุญ ปฏิบัติธรรมนั้นดี แต่ว่ามันง่ายที่จะทำให้คนที่ทำดี ทำบุญหรือว่าปฏิบัติธรรมเผลอตั้งความหวังเอาไว้ หลวงพ่อครูบาอาจารย์พูดว่า ทำดี ทำบุญ ปฏิบัติธรรมแล้ว มันจะดีอย่างนั้นอย่างนี้ พอปฏิบัติธรรมเข้า พอทำดีทำบุญ…
  continue reading
 
3 ธ.ค. 66 - ปล่อยวางได้จึงพ้นภัย : วิชาปล่อยวิชาวางสิ่งต่างๆ แต่ที่เราปล่อยวางไม่ได้เพราะอะไร เพราะเราไปยึดว่าเป็นเรา เป็นของเราๆ ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นเรา เป็นของเราๆ มันน่ากลัว เพราะถ้าเรายึดอะไรว่าเป็นเรา เป็นของเรา เรากลายเป็นของมันทันทีเลย เรายอมตายเพื่อมันได้ทั้งที่ภัยมาถึงตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ดับไฟป่าเหล่านั้นก็ยังไม่ยอมปล่อย ปล่อยอุปกรณ์ ปล…
  continue reading
 
2 ธ.ค. 66 - วางลง ปลงได้ ทำไม่ยาก : เห็นกับเป็นมันตรงข้ามกัน เมื่อเห็นมันก็ไม่เข้าไปเป็น ก็คือไม่เข้าไปยึดว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา หรือพูดอีกอย่างก็คือ การเห็นทำให้ไม่เปิดช่องให้มันมาทำร้ายใจได้ ในป่าเราเลี่ยงไม่ได้ต้องมีงู บนทางก็อาจมีหลุม เราเลี่ยงไม่ได้ เราปฏิเสธไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือ เราเลี่ยงไม่ให้งูกัด ไม่เตะหนาม ใจของเราก็เหมือนกัน มัน…
  continue reading
 
1 ธ.ค. 66 - จิตปลอดภัยเมื่ออยู่ในความรู้สึกตัว : อย่างที่เราสวดกันมีตอนหนึ่งในบทภัทเทกรัตตคาถา ผู้ใดเห็นธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้งไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าจะหมายถึงธรรม คือ รูป รส กลิ่น เสียง ภายนอกก็ได้ หรือหมายถึงความคิดและอารมณ์ภายในก็ได้ เห็นแล้วไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน คือไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ใจไม่กระเพื่อมเป…
  continue reading
 
30 พ.ย. 66 - ขับเคลื่อนชีวิตด้วยจิตที่มุ่งธรรม : ถึงแม้ว่าชาวพุทธเราจะมีจุดมุ่งหมายที่ดูสูงส่ง ดูประเสริฐ แต่ว่าถ้าเราเรียนรู้จากคนเหล่านี้ นักกีฬาเหล่านี้ รวมทั้งนักว่ายน้ำมาราธอนที่กล่าวถึงตอนต้น ว่าเขาอุตส่าห์ทุ่มเทอย่างไร ถ้าเราเอาความทุ่มเทอย่างเขามาสักครึ่งหนึ่ง มาใช้กับการทำความเพียรเพื่อเข้าถึงธรรม เราจะก้าวหน้าไปเยอะ เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้เ…
  continue reading
 
29 พ.ย. 66 - จะอยู่นิ่งหรือสู้ต่อไป : บางเรื่องบางอย่างมันตัดสินยาก อย่างเช่น คนที่ป่วยระยะสุดท้าย หลายคนก็คิดว่าถ้าสู้ไปเรื่อยๆ มันจะมีโอกาสรอด แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วพอสู้ไปๆ แม้จะเป็นการยื้อชีวิตให้อยู่ได้ยืนยาวขึ้น แต่ว่ามันกลับเพิ่มความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย ในกรณีแบบนี้แทนที่จะสู้ แต่ว่าปล่อยให้เขาจากไปอย่างสงบตามกระบวนการธรรมชาติ ยังจะดีกว่า ตรง…
  continue reading
 
28 พ.ย. 66 - รู้จักหยุด รู้จักยอม จึงไปต่อได้ : แต่ถ้าเราเริ่มยอมรับ ยอมรับข้อจำกัดของตัวเอง อย่างน้อยก็จะเจอธนูแค่สองดอก หรือยิ่งถ้าฝึกให้สามารถยอมรับความเจ็บปวดได้ ความทุกข์ใจก็จะน้อยลง แต่ถ้ายอมรับความเจ็บปวดไม่ได้ มีความทุกข์ใจเกิดขึนก็ยอมรับความทุกข์ใจที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นนักปฏิบัติธรรมก็มีโอกาสที่จะเกิดความรูุ้สึกแบบนี้ได้ ถ้ายอมรับ ความทุกข์…
  continue reading
 
25 พ.ย. 66 - อย่าเสียเวลากับเรื่องไร้ประโยชน์ : คนเราไปเสียเวลาเสียอารมณ์ไปกับเรื่องพวกนี้มาก โดยเฉพาะคนที่ยึดมั่นในความถูกต้องจากคนอื่น ว่าเขาทำไม่ถูกต้อง เพื่อนบ้านส่งเสียงดัง เอาขยะมาวางไว้หน้าบ้าน หมาก็เห่า ลูกน้องหรือเจ้านายไม่เป็นธรรม ไปเสียเวลาแม้กระทั่งกับลูก กับภรรยาหรือสามี “พูดไม่เพราะกับฉัน” “ไม่เคยขอบคุณสักคำ” ถ้าเรามัวไปเสียเวลากับเรื…
  continue reading
 
25 พ.ย. 66 - เข้าใจมรรค ปฏิบัติถูก ชีวิตย่อมผาสุก : คำว่า ขจัดเหตุแห่งทุกข์ให้หมดไป จริงๆ มันแสดงว่าเรามีสิทธิ์ที่จะไม่ทุกข์ได้ เพราะเหตุแห่งทุกข์มันอยู่ที่ใจเรา ถ้าเหตุแห่งทุกข์อยู่ที่คนอื่นก็ยากแล้ว เพราะเราไปทำอะไรเขาไม่ได้ แต่ถ้าเราพบว่าเหตุแห่งทุกข์อยู่ที่ใจเรา เราแก้ที่ใจเรา ทุกข์ก็หมดไป จะทําอย่างนี้ได้ ก็ต้องใช้สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาสังก…
  continue reading
 
24 พ.ย. 66 - ทุกข์เพราะใจ แก้ให้ถูก : หลายคนกว่าจะรู้ก็ตอนจะตาย อุตส่าห์ทุ่มเททั้งชีวิตเพื่อหาเงินหาทอง ชื่อเสียง เพื่อให้ได้เป็น CEO เพื่อให้ได้เป็นรัฐมนตรี สุดท้ายตอนใกล้ตายพบว่ามันไม่ได้เป็นสิ่งที่พึงเป็นสรณะของชีวิตอย่างแท้จริง เพราะมีเท่าไหร่ก็ยังไม่หายทุกข์ มารู้เอาตอนจะตาย หลายคนเป็นอย่างนี้ มารู้ว่าทั้งหมดที่หามาทั้งชีวิต ต้องฟาดฟัน ต่อสู้ …
  continue reading
 
22 พ.ย. 66 - มีให้เป็น เสียไปก็ไม่ทุกข์ : คนเราถ้ารู้จักมองสิ่งที่มีบ้าง ก็ทำให้เราตัดใจจากสิ่งที่เสียไปได้ ตัดใจทั้งในแง่ที่ว่า ไม่มากลุ้มอกกลุ้มใจกับมัน แล้วก็ไม่ไปคิดที่จะทำอะไรเพื่อจะทำให้สิ่งที่เสียไปกลับคืนมา ทั้งๆ ที่มีโอกาสที่จะเสียหนักขึ้นกว่าเดิม และถ้าคนเราได้ตระหนักว่า จริงๆ ที่เราเสียไป แม้จะเสียเยอะ แต่สุดท้ายเราก็ยังกำไร เพราะว่าเราเ…
  continue reading
 
22 พ.ย. 66 - อันตรายในมือเด็ก : อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราเคยได้ยินมาแล้ว ว่าเดี๋ยวนี้คนติดโซเชียลมีเดียมาก ไม่ใช่เฉพาะเด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ก็ติด หลายๆ คนก็เกิดความทุกข์ เพราะว่าเห็นคนนั้นคนนี้เขาได้ไปเที่ยวต่างประเทศ ไปญี่ปุ่น ไปเกาหลี แต่เราต้องมาทํางานหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยว ได้ไปกินอะไรอร่อยๆ เหมือนเขาเลย รู้สึกแย่ รู้สึกว่าชีวิตมันย่…
  continue reading
 
21 พ.ย. 66 - ไม่เอาทุกข์ ไม่เอาสุข : คำแนะนำ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็น ‘ไม่หาทุกข์มาทับถมตน’ ‘ไม่ปฏิเสธความสุขที่ชอบธรรมหรือไม่มองข้ามความสุขที่ชอบธรรม’ ‘ไม่สยบมัวเมาในความสุขนั้นหรือไม่ยึดติดในความสุข แม้ชอบธรรมก็ตาม’ รวมทั้ง ‘รู้จักขจัดเหตุแห่งทุกข์’ ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยสติเป็นตัวนำ เพราะถ้าไม่มีสติเป็นตัวนำ สิ่งที่พระพุทธเจ้าแนะนำมาทั้ง…
  continue reading
 
20 พ.ย. 66 - สติทำได้ทุกที่ทุกเวลา : หลวงพ่อคำเขียนท่านพูดเสมอว่า “นักปฏิบัติต้องเป็นนักฉวยโอกาส” ฉวยโอกาสทุกเวลา ทุกกิจกรรมที่ทำเพื่อการเจริญสติ หรือแม้มีการกระทบ มีการกระทบเกิดขึ้นเกิดอารมณ์ เกิดความโกรธ เกิดความเศร้า เกิดความดีใจ เกิดความเสียใจ ก็เป็นโอกาสของการเจริญสติ อย่างเด็กที่พูดถึง ดีใจก็เห็นมัน เห็นข้างในมันดีใจ เห็นความดีใจ แต่ไม่ใช่ผู้…
  continue reading
 
19 พ.ย. 66 - ชีวิตมั่นคงเพราะฐานใจหยั่งลึก : แต่ว่าความคิด อารมณ์ มันไม่ได้เกิดขึ้นขณะที่เราทำนั่นทำนี่อย่างเดียว อาจจะรวมถึงเวลาเราเจอนั่นเจอนี่ด้วย เจอเสียงดัง เจอเสียงนกร้องที่ไพเราะ หรือว่าเจอคำพูดทั้งคำชมและคำตำหนิ หรือว่าเจอความร้อน เจออากาศหนาว เวลาเจอหรือมีการกระทบแบบนี้ มันก็มักจะมีความคิดเกิดขึ้น ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ หรือว่าบ่นโวยวา…
  continue reading
 
18 พ.ย. 66 - ยอมรับความไม่สงบด้วยใจสงบ : วิชารู้ซื่อๆ วิชาเห็นไม่เข้าไปเป็น สำคัญมาก จะช่วยทำให้เรารับมือกับสิ่งที่ไม่ชอบ สิ่งที่ไม่ถูกใจได้ อย่างที่บอก การทำความเพียรเพื่อประสบสิ่งที่ชอบสิ่งที่ถูกใจยากแล้ว แต่สิ่งที่ยากกว่าคือ การวางใจเป็นกลาง หรือยอมรับสิ่งที่เราไม่ชอบ สิ่งที่ไม่ถูกใจเรา วิชานี้สำคัญมาก เพราะสุดท้ายเราก็ต้องเจอไม่มากก็น้อย ไม่ช้า…
  continue reading
 
17 พ.ย. 66 - เปลี่ยนที่ใจก็ไม่ทุกข์ : แต่ถ้าหากว่ารู้จักไตร่ตรองจนเห็นเหตุแห่งทุกข์อยู่ที่ใจเรา เเล้วก็ปรับแก้ที่ใจเรา บางทีเราไม่จำเป็นต้องมองว่าเสียงระเบิดว่าเป็นเสียงความสุขเหมือนกับเด็ก 3 ขวบคนนั้นก็ได้ แต่ว่าเราอาศัยสติ เวลาเสียงแบบนั้นมันดังกระทบหู ใจกระเพื่อม เห็นอาการของใจที่กระเพื่อม เห็นความตกใจที่เกิดขึ้น แล้วความตกใจมันก็สงบลง ก็จะพบว่า…
  continue reading
 
16 พ.ย. 66 - กล้าผิดไม่กลัวเผลอ : ระหว่างเป็นผู้เครียดกับเห็นความเครียดมันต่างกัน แล้วการที่เราจะเห็นความเครียดว่ามันต่างจากการเป็นผู้เครียด เงื่อนไขแรกคือต้องยอมให้มันเครียดก่อน ยอมให้ความเครียดเกิดขึ้นก่อน เราถึงจะเห็นว่ามีความเครียดเกิดขึ้น และเห็นความแตกต่างระหว่างการเห็นความเครียดและการเป็นผู้เครียด อย่างน้อยพื้นฐานต้องมาถึงตรงนี้ และพอเราเห็น…
  continue reading
 
15 พ.ย. 66 - รู้ทันกิเลส เห็นเหตุแห่งทุกข์ : นักปฏิบัติธรรมบางคนเห็นความโกรธ แต่มองไม่เห็นเบื้องหลังความโกรธคือความอยาก เป็นกิเลสตัวหนึ่ง ต้องเห็น เราต้องปฏิบัติจนกระทั่งเห็น ไม่ใช่แค่ตัวความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมันทำให้จิตใจว้าวุ่นหรือว่าเกิดความไม่พอใจ แต่ต้องเห็นตัวการที่มันอยู่เบื้องหลังความไม่พอใจนั้น ทำนองเดียวกัน เวลาเราทำอะไรดีแล้วมี…
  continue reading
 
14 พ.ย. 66 - สติมาไว ใจคลายทุกข์ : สติก็เหมือนกัน เราก็ต้องให้โอกาสสติได้ทำงาน คือให้สติระลึกนึกขึ้นมาได้เอง เดินจงกรมไปเรื่อยๆ สร้างจังหวะไปเรื่อยๆ ใหม่ๆ กว่าจะรู้กก็คิดไปสิบเรื่อง แต่ทำไปเรื่อย ทำไปเรื่อยๆ ผ่านไปสองสามชั่วโมง สี่ห้าชั่วโมง สติก็จะรู้ทันความคิดได้ไวขึ้น รู้ทันอารมณ์ได้ไวขึ้น และเป็นการรู้เอง และพอถึงจุดหนึ่ง แค่คิดยังไม่ทันจบเรื่อ…
  continue reading
 
13 พ.ย. 66 - ขุมทรัพย์กลางใจ : คนเราเป็นหนี้สติและความรู้สึกตัว โดยที่ไม่รู้ตัว เพราะว่าถ้าไม่มีสติ ไม่มีความรู้สึกตัว ป่านนี้เราคงแย่ไปแล้ว หรือแย่กว่านี้ อาจจะประสบอุบัติเหตุขณะขับรถ อาจจะโดนรถชนขณะข้ามถนน หรือว่าอาจจะเผลอไผลไปทะเลาะเบาะแว้งกับผู้คน จนกระทั่งต้องลงไม้ลงมือทำร้ายกัน หรือเป็นทาสของสิ่งยั่วยุและเย้ายวน เช่น อบายมุขต่างๆ ตัวหนึ่งของก…
  continue reading
 
4 พ.ย. 66 - ทำบุญแล้ววางใจให้เป็นด้วย : คนทุกวันนี้เสียเวลา เสียอารมณ์ไปกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้เยอะมาก เพราะไปให้ค่า ไปให้ความสำคัญกับมัน อาจจะเป็นเพราะยึดติดในความถูกต้อง หรือยึดติดในมารยาทจะต้องไม่มามีอะไรมากระทบฉัน ยึดติดในความถูกต้องว่า “ฉันมีสิทธิ์ในร่างกายของฉัน อย่ามากระแทกกระเทือกอะไรกับฉัน” ถ้าคิดแบบนี้ก็ทุกข์ เหมือนกับถ้ามีเสียงโทรศัพ…
  continue reading
 
3 พ.ย. 66 - เติมเต็มจิตด้วยปัญญาและคุณธรรม : แต่ว่ามีบางคนที่ฉลาดมีปัญญา การเติมเต็มชีวิตแทนที่จะเอาอะไรต่ออะไรมาสุมมากอง ก็อาศัยคุณธรรมความดีแล้วก็ปัญญา แสงประทีปที่เต็มห้องเปรียบอุปมาหมายถึง ‘ปัญญา’ ส่วนกลิ่นหอมก็หมายถึง ‘ความดีคือคุณธรรม’ ห้องนี้มันก็ชัดอยู่แล้วหมายถึง ‘ชีวิตหรือจิตใจ’ คนเราแทนที่จะไปหาเงินทองชื่อเสียงมาเติมเต็มชีวิตหรือจิตใจ ก็…
  continue reading
 
29 ต.ค. 66 - แม้ถูกกระทบใจก็สงบได้ : อย่างที่พระพุทธเจ้าสอนพระสาวกอย่างตัวอย่างที่เล่ามา ใครเขาจะติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไร เราก็อย่าโกรธ อย่าขุ่นมัว อย่าพยาบาท เพราะขืนทำเช่นนั้นอันตรายก็จะเกิดขึ้นกับเราเอง และเราก็จะไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาพูดมานั้นดีหรือไม่ดี จริงหรือไม่จริง ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง คำพูดบางอย่างแม้มันจะเป็นคำหยาบคาย แต่อาจมี…
  continue reading
 
28 ต.ค. 66 - อุบายสู่ความพอดี : แต่เวลาคนมีความทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนอีกแบบหนึ่งว่าในทุกข์ หาสุขพบ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้มีปัญญาแม้ประสบทุกข์ก็ยังหาสุขพบ คนส่วนใหญ่ติดสุข พระพุทธเจ้าก็เลยเตือนว่า ระวัง ! มันมีทุกข์รออยู่นะ หรือว่าทุกข์กำลังอยู่กับเราในขณะนี้แล้วเพื่อไม่ให้ติดสุข แต่คนที่มีทุกข์นั้นพระพุทธเจ้าก็สอนว่าอย่าจมในทุกข์ ให้เห็นว่าในทุกข์ มั…
  continue reading
 
27 ต.ค. 66 - ยกใจให้สูงขึ้น : เราก็จะเห็นเดี๋ยวนี้ก็เป็นกันเยอะเลย ซึ่งมันทำให้หลายคนก็รู้สึกว่า ทำไมรู้ธรรมะเยอะ ฟังธรรมะก็มาก แต่ทำไมยังเห็นแก่ตัวอยู่ ทำไมยังขี้โกรธอยู่ อันนี้ก็เพราะว่าหัวอยู่อุดมแล้วแต่ใจยังประถมอยู่เลย หรือมันยังมีช่องว่างระหว่างหัวกับใจมาก ช่องว่างระหว่างความคิดกับความรู้สึก เพราะฉะนั้นต้องพัฒนาทั้งหัวทั้งใจ ความรู้ก็ต้องมี เ…
  continue reading
 
26 ต.ค. 66 - มองตนก่อนคิดเปลี่ยนคนอื่น : สอนคนอื่นได้ แต่ว่าสอนตัวเองไม่ได้ ในขณะที่อยากให้คนอื่นเขาเปลี่ยนแปลง แต่ตัวเองไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ทั้งที่ตัวเองมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า เพราะว่าการที่มาเดินจงกรม สร้างจังหวะ มันอาจจะน่าเบื่อในช่วงแรก แต่ว่ามันก็ไม่ได้หนักหนาซึ่งเทียบไม่ได้กับการมานั่งอ่านหนังสือ หรือว่าต้องเลิกเล่นเกม…
  continue reading
 
24 ต.ค. 66 - ความสงบสยบปัญหา : รู้ว่าพูดไปก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่เสีย เขาก็หาว่าแก้ตัว อาจจะกลายเป็นการทะเลาะเบาะแว้งกัน ท่านก็เลยคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดก็คือนิ่งเสีย อย่างมากก็พูดเพียงแค่ “อ๋อ อย่างนั้นเหรอ” ก็ถือว่าท่านมีสติ มีปัญญา และมีความหนักแน่น เพราะว่ารู้ดีว่า อธิบายชี้แจงไปก็ไม่มีประโยชน์ สู้นิ่งเสียดีกว่า อย่างที่มีภาษิตไทยว่า “พูดไปสองไพเบี…
  continue reading
 
23 ต.ค. 66 - ธรรมสองระดับ : จะเห็นได้ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีการสอนสองระดับอยู่เสมอควบคู่กันไป ระดับแรกท่านอาจารย์พุทธทาสใช้คำว่าขังคอก ให้อยู่ในกรอบ กรอบของศีลธรรม กรอบของความถูกต้อง รู้จักบังคับกดข่มอารมณ์ กดข่มอารมณ์เอาไว้ รู้จักหักห้ามใจ แต่พอถึงระดับหนึ่งท่านสอนให้ชี้ทางให้ผิดไป รู้จักปล่อย รู้จักวาง หรือว่าให้รู้ทันความคิด ให้เห็นความจริงว่…
  continue reading
 
22 ต.ค. 66 - ให้อภัยคือยาสามัญประจำใจ : ความทุกข์มันเกิดขึ้นเมื่อใจเราไปร่วมมือกับเขา ถ้าเกิดว่าใจเราไม่ไปร่วมมือ ความทุกข์นั้นจะเกิดขึ้นได้เฉพาะภายนอก กับร่างกาย กับทรัพย์สิน ถ้าเกิดว่าเราเห็นตรงนี้ ว่าความโกรธมันเป็นภัยแก่ตัวเราเอง มันก็จะเกิดความกระตือรือร้นในการที่จะจัดการกับความโกรธ แล้ววิธีจัดการกับความโกรธ มันไม่มีอะไรดีไปกว่าการมีสติรู้ทัน …
  continue reading
 
21 ต.ค. 66 - สุขหรือทุกข์อยู่ที่การปรุงแต่งในใจเรา : ถ้าเราดูแลใจดี ไม่ปล่อยให้จิตปรุงแต่ง เมื่อเกิดผัสสะขึ้นมา ไม่ปรุงแต่งเป็นภพ ชาติ มันก็ไม่เกิดชรา มรณะ มันก็ไม่เกิดทุกข์โทมนัส อันนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก การที่เราพบความจริงว่า ทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีเมื่อเกิดมีการกระทบ แต่ทุกข์เกิดขึ้นเมื่อมีการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นการปรุงแต่งในทางลบ หรือหรือว่ารวม…
  continue reading
 
20 ต.ค. 66 - ปฎิบัติธรรมที่นี่เดี๋ยวนี้ : จริงๆ ถ้าหากว่ามีสติ มีความรู้สึกตัว ทันทีที่เกิดผัสสะมีการเห็น มันก็มีแต่การเห็น แต่มันไม่มีผู้เห็น เมื่อเสียงกระทบหู เกิดการได้ยิน ก็มีแต่การได้ยิน ไม่มีผู้ได้ยิน แต่คนเราใหม่ๆ จะให้มีสติประเภทว่าไม่มีผู้เห็น ไม่มีผู้ได้ยิน นี่มันยาก แต่อย่างน้อยเมื่อเกิดอารมณ์ขึ้นมา ความคิด เกิดความยินดีเกิดความยินร้าย เ…
  continue reading
 
19 ต.ค. 66 - โลกไม่ได้เป็นไปตามความอยากของเรา : กามสุขมันก็มีหลายระดับ อย่างหยาบๆ ก็เหล้า การพนัน ยาเสพติด จะเลิกหรือเป็นอิสระจากความสุขอย่างหยาบๆ นี้ได้ก็ต้องเจอความสุขที่หยาบน้อยกว่า หรือประณีตกว่า เช่น บางคนที่เลิกเหล้าได้เพราะว่าได้มีความสุขจากการทำงาน ความสุขจากการเล่นกีฬา ความสุขจากมิตรภาพ ความสุขจากเพื่อนฝูง หรือความสุขจากสมาธิ บางคนเลิกเหล้…
  continue reading
 
18 ต.ค. 66 - สกัดตัวตนให้เบาบาง : อันนี้ก็เปรียบเหมือนกับการสลักเสลาสกัดเอาสิ่งที่มันไม่ใช่สาระสำคัญของชีวิต สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป เพราะถ้าเราไม่ทำ ไม่สลัดหรือละวางความยึดมั่นถือมั่น อย่าว่าแต่ความยึดมั่นในตัวกูของกูเลยที่เป็นอัตตวาทุปาทาน แม้กระทั่งความยึดมั่นในทรัพย์ ความยึดมั่นในสิ่งของต่างๆ ถึงเวลาตายมันทรมานมาก เพราะมันยอมรับความสูญเสีย มันยอม…
  continue reading
 
17 ต.ค. 66 - เป็นพุทธที่ใจด้วย ไม่ใช่แค่หัว : ไม่ใช่ว่าดีชั่วรู้หมดแต่อดใจไม่ได้ ทำสิ่งตรงข้ามกับความถูกความเหมาะความควร รวมทั้งเมื่อถึงเวลาสูญเสียพลัดพรากก็ทำใจได้ ไม่ใช่รู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น รู้ทั้งร้อยรู้เต็มที่เลย แต่พอสูญเสียแม้จะเล็กน้อย เช่นเงินหายไม่กี่ร้อยก็โมโหเสียดาย อันนี้เรียกว่าเป็นพุทธที่หัว แต่ว่าไม่ได้เป็นพุทธที่ใจ …
  continue reading
 
16 ต.ค. 66 - อย่าให้มานะครองใจ : เราก็ต้องพยายามรู้เท่าทัน เวลาอัตตาหรือมานะ มันบงการจิตใจของเรา อยากให้เราโชว์ อยากให้เราอวด เราก็อย่าไปหลงเชื่อทำตาม ต้องขัดขืนมันบ้าง ที่จริงการที่มีอัตตาฟูฟ่องบ้างมันก็ดีเหมือนกันเพราะถ้าอัตตาติดลบมันก็แย่ แต่ถ้าปล่อยให้อัตตาครองใจมากไป มันก็จะกลายมามีอำนาจเหนือเรา เราก็จะพลอยแย่ไปด้วยเพราะว่าเราต้องคอยเลี้ยงมัน …
  continue reading
 
15 ต.ค. 66 - ความทุกข์มีประโยชน์ : คนเราจะมีสติรู้ทันความคิด มีสติรู้ทันความหลงได้ก็ต้องยอมให้มีความคิดความหลงเกิดขึ้น จะรู้ทันความโกรธก็ต้องยอมให้ความโกรธมันเกิดขึ้น แล้วก็เรียนรู้จากความโกรธ เรียนรู้จากความหลง เรียนรู้จากความฟุ้งซ่าน ที่จริงความโกรธความฟุ้งซ่านก็เกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ว่าเป็นเพราะเราไม่คิดจะเรียนรู้จากมัน ฉะนั้นคนที่ยิ่งโกร…
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน