Dark สาธารณะ
[search 0]
เพิ่มเติม

ดาวน์โหลดแอปเลย!

show episodes
 
D
Decode Podcast

1
Decode Podcast

Tomorn Sookprecha

Unsubscribe
Unsubscribe
รายเดือน
 
Decode Podcast: พ็อดแคสต์ที่ชวนคุณมา ‘ถอดรหัส’ นัยสำคัญที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวต่างๆ ที่ดูเหมือนเล็กน้อยจนเรามักมองข้าม
 
Loading …
show series
 
ไปดูกันว่า ต้องมีรายได้ต่ำแค่ไหน ถึงจะเรียกได้ว่าเป็น ‘คนจน’ ตามนิยามของรัฐไทย และที่ว่าไม่จนนั้น ไม่จนจริงหรือเปล่า ‘ค่ากลาง’ ของรายได้คนไทยอยู่ตรงไหน และมันต่างจาก ‘รายได้เฉลี่ย’ ของคนไทยทั้งประเทศอย่างไร
 
พบกับเรื่องราวของ ‘อูรุก’ เมืองแห่งแรกของโลกที่ถือกำเนิดขึ้นจากการบูชาเทพเจ้า และความหมายที่ลึกซึ้งของมหากาพย์กิลกาเมช ว่าด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของมนุษย์ ในอันที่จะต่อกรกับธรรมชาติ และสร้างเมืองขึ้นมา
 
คริสต์มาสที่เรามองว่าเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดี เป็นเทศกาลแห่งความสุข งดงามเหลือเกินนั้น แท้จริงมีเรื่องของ ‘อำนาจ’ ซุกซ่อนอยู่ข้างใต้มากมาย ตั้งแต่การต่อสู้ของซานตาคลอสกับพระเยซู เค้กขอนไม้ พวกนอกรีตกับชาวเพียวริแทน และอื่นๆ อีกมากมาย
 
เริ่มซีรีส์พิเศษ ด้วย Dark Side of the Fairy Tales กับเรื่องดาร์คๆ มุมมืดๆ ของเทพนิยายสวยๆ ฝันหวานทั้งหลาย ประเดิมกันด้วย ‘เจ้าหญิงนิทรา’ สามเวอร์ชั่นเก่าแก่ ที่คุณอาจคิดไม่ถึงว่า เจ้าหญิงนิทราของเราจะสามารถ ‘ดาร์ค’ ได้ถึงขนาดนี้
 
อธิบายความเป็นเผด็จการ ผ่านมุมมองของ วิคเตอร์ เคล็มเพอร์เรอร์ และ ฮันนาห์ อาเร็นดท์ สองนักคิดชาวยิวที่ผ่านยุคเรืองอำนาจของฮิตเลอร์และนาซี ทั้งคู่พิจารณาความเป็นเผด็จการ โดยวิเคราะห์เรื่องของการใช้ภาษาและวิธีคิดต่างๆ และพบว่า เผด็จการล้วนมีลักษณะที่คล้ายกัน
 
เคยมีการศึกษาคนใน 32 เมืองทั่วโลก กินเวลาถึง 10 ปี พบว่ามนุษย์เราเดินเร็วขึ้นราว 10% คำถามก็คือ ทำไมเราถึงเดินเร็วขึ้น เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารอย่างไร
 
หลายคนไม่มีความสุขเวลาต้องไปทำงานในเช้าวันจันทร์ นั่นเพราะมีออฟฟิศที่ไม่ค่อยน่าอภิรมย์สักเท่าไหร่ ต่อไปนี้คือ 8 วิธี ที่อาจช่วยให้คุณมีความสุขกับที่ทำงานได้มากขึ้น
 
ความหน้าตาดี มีอะไรมาเป็นตัวกำหนดรับรู้หรือเปล่า ความหน้าตาดีมีลักษณะที่เป็น ‘สากล’ ด้วยไหม ทำไมเราถึงชอบคนนั้นคนนี้ คิดว่าคนนั้นคนนี้หน้าตาดีกว่าคนอื่นๆ มันมีคำอธิบายที่ ‘เป็นวิทยาศาสตร์’ หรือเปล่า
 
การรู้จักตัวเองคือการ ‘เข้าใจ’ ตัวเองให้ดีขึ้น เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้ว เราจะเข้าใจมนุษย์คนอื่นๆ ได้มากขึ้นด้วย เพราะเราจะเห็นทั้งแง่งามและแง่อัปลักษณ์ที่อยู่ในตัวเราและมนุษย์คนอื่นๆ แต่กระนั้น เราจะ ‘รู้จัก’ ตัวเองได้อย่างไร
 
ใครๆ ก็อยากเป็นคนฉลาด แต่รู้ไหมว่า คนฉลาดๆ ระดับไอคิวสูง Top 2% ของโลกนั้น อาจมีสภาวะที่เรียกว่า Overexcitablility มากกว่าคนทั่วไป ทั้งในทางจิตใจและร่างกาย สภาวะนี้คืออะไร แล้วมันไม่ดีอย่างไร ติดตามได้ใน Decode ตอนนี้
 
หลายคนอาจไม่รู้ว่า โลกเรามี ‘สมาคมคนไอคิวสูง’ หรือ High IQ Society อยู่หลายสมาคมเลย แต่ละสมาคมมีวิธีวัดไอคิวแตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันก็คือ ต้องเป็นคนที่มีความฉลาดระดับ 1-2% แรกของโลกทั้งนั้น ไปดูกันว่า สมาคมพวกนี้ตั้งขึ้นมาทำไม มีใครเป็นสมาชิกบ้าง และเวลาพบปะกัน คนฉลาดๆ เหล่านี้เขาทำอะไรกันบ้าง
 
โลกยุคนี้คือโลกแห่ง distraction ความสนใของเราถูกเบี่ยงเบนได้ตลอดเวลา หนังสือเล่มใหม่ของ Nir Eyal นักเขียนชาวอิสราเอล พุ่งประเด็นไปที่เรื่องนี้โดยตรง ไปดูกันว่า อะไรทำให้เกิด distraction และเรามีเทคนิคจัดการกับมันอย่างไร
 
เราคุ้ยกับคำว่า ‘ไวรัส’ กันดี แต่จริงๆ แล้ว ไวรัสคืออะไรกันแน่ มันมีชีวิตหรือเปล่า เกณฑ์ข้อไหนที่บอกว่ามันมีหรือไม่มีชีวิตบ้าง และจริงๆ แล้ว มันมีกำเนิดมาอย่างไรในทางวิวัฒนาการ มันแพร่พันธุ์อย่างไร และการแพร่นั้นทำร้ายเราอย่างไร ที่สำคัญก็คือ การแพร่ระบาดแต่ละครั้งจะหายไปไหมในที่สุด และหายไปได้อย่างไร…
 
ทุกวันนี้ คำว่า binge watching ไม่แปลกประหลาดอีกต่อไปแล้ว เพราะใครๆ ก็ดู คำถามก็คือ การดูซีรีส์ต่างๆ ต่อเนื่อง เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรเป็นตัวกระตุ้น และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
 
โรคระบาดขนานใหญ่ที่เรียกว่า pandemic คืออะไร ต่างจาก epidemic อย่างไร นายแพทย์ที่ศึกษาโรคซาร์สจนเสียชีวิตมีคุณูปการอย่างไรกับเมืองไทย คนไทย และคนทั้งโลก และวิธีง่ายๆ ที่จะป้องกันไวรัสอู่ฮั่นคืออะไร
 
เราชอบคิดว่า คนนอนดึกตื่นสายเป็นคนขี้เกียจ แต่จริงๆ แล้ว การนอนดึกตื่นสายหรือนอนเร็วตื่นช้า เป็นเรื่องของอุปนิสัยน้อยกว่าเรื่องของวิวัฒนาการและพันธุกรรม ไปติดตามดูวิทยาศาสตร์ของการนอนดึกตื่นสายกัน ว่าคนเรามีรูปแบบการนอนแตกต่างกันเพราะอะไร
 
ปิกัสโซ่ชอบฝุ่น ฝุ่นในธรรมชาติเกิดจากอะไรได้บ้าง ฝุ่นที่มนุษย์สร้างขึ้นมีอะไรบ้างมนุษย์ผูกพันกับฝุ่นมากน้อยแค่ไหน และทำไมพัดลมที่หมุนอยู่ตลอดเวลาถึงมีฝุ่นจับได้
 
เรารู้ว่า ฝุ่นมีผลต่อสุขภาพทางกายแน่ๆ โดยเฉพาะฝุ่นจิ๋วอย่าง PM 2.5 แต่มันส่งผลต่อสุขภาพทางจิตอย่างโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลได้ด้วยหรือ ไปสำรวจเรื่องนี้กัน
 
นักวิทยาศาสตร์วัดฝุ่นเป็นค่า ‘ไมครอน’ แต่ไมครอนคืออะไร ใหญ่เล็กแค่ไหน และฝุ่นใหญ่ฝุ่นเล็กต่างกันอย่างไร อะไรเป็นอันตรายกว่ากัน ฝุ่นมีแต่ข้อเสียหรือเปล่า ข้อดีของฝุ่นคืออะไร ไปสำรวจฝุ่นกัน
 
อาหาร ‘คีโตฯ’ หรือ Ketogenic Diet นั้น คืออาหารไขมันสูง ถ้าเคร่งครัดจริงๆ ต้องกินไขมัน 90% กินโปรตีนเพียง 6% และคาร์โบไฮเดรตแค่ 4% เท่านั้น อาหารตำรับนี้เกิดขึ้นมาเพราะอะไร และมัน ‘ดี’ ต่อสุขภาพของคนทั่วไปจริงหรือ
 
ความเหงาไม่เหมือนการกินอาหารหรือดื่มน้ำ เพราะความเหงาจะบรรเทาลงได้ ก็ต้องมี ‘คนอื่น’ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่วงจรอุบาทว์ของความเหงา ส่งผลต่อสมองของเรา และทำให้เรา ‘ผลัก’ คนอื่นออกไปจากชีวิตของเราได้อย่างไร ติดตามได้ใน Decode Podcast ตอนนี้ครับ
 
อะไรคือคำอธิบายแบบวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ motivation หรือแรงขับเคลื่อนในชีวิตมนุษย์กันแน่ ทำไมบางคนมีมาก บางคนมีน้อย และเราจะฝึกให้ตัวเองมี motivation ในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร รวมทั้งจะรักษาความมุ่งมั่นตั้งใจเหล่านั้นให้ต่อเนื่องยาวนานได้อย่างไรด้วย
 
เรามักมองว่าพลาสติกเป็นตัวร้าย แต่คำถามก็คือ เรารู้ไหมว่าแท้จริงพลาสติกคืออะไร มีกำเนิดมาอย่างไร อันตรายของพลาสติกคืออะไรกันแน่ และในอนาคต นักวิทยาศาสตร์จะคิดค้นพลาสติกใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติดีๆ อะไรขึ้นมาอย่างไร
 
หลายคนไม่กล้าดื่มน้ำประปาในเมืองที่ตัวเองอยู่โดยไม่ต้ม แต่บางเมือง น้ำประปากลับเป็นน้ำแร่คุณภาพสูง อะไรทำให้เมืองบางเมืองเป็นแบบนี้ได้
 
ทำไม London Plane Tree ต้นไม้สำคัญของลอนดอนถึงมีราคาสูงลิบลิ่ว เขาประเมินราคากันอย่างไร ทำไมราคาต้นไม้ในลอนดอนถึงเหมือนหุ้น และมันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างไร
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน