การทำสมาธิ สาธารณะ
[search 0]

ดาวน์โหลดแอปเลย!

show episodes
 
ธรรมะโดยฆราวาส เพื่อการมีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นแลเป็นกลาง ตามแนวทางปฏิบัติของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา
 
Loading …
show series
 
"ทุกๆ วันก่อนที่เราจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ โดยเฉพาะคนที่รู้ตัวว่าบังคับหรือเพ่งอยู่ ให้เราตั้งใจว่าเราจะปฏิบัติบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือครูบาอาจารย์ ตรงนี้จะเป็นจุดที่ช่วยเราไม่ให้ปฏิบัติด้วยความโลภ ถ้าเราปฏิบัติบูชาฯ ความโลภในขณะนั้นจะไม่ครอบงำเรา ถ้าเราอธิษฐานจิตอย่างนี้ทุกวันจะช่วยเราได้เยอะ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย 1 ตุลาคม 2565…
 
"เวลาที่เราลงมือปฏิบัติ เราทำผลไม่ได้ เราทำความตั้งมั่นไม่ได้ แต่เราต้องรู้ว่าเหตุอะไรที่ทำให้จิตตั้งมั่น ก็คือต้องทำสมาธิที่มีความสุขความสบาย สมาธิที่ประกอบด้วยความตั้งมั่นถึงเกิด เราต้องทำเหตุ เหมือนที่เราอยากมีสติ อยากฝึกสติ เราต้องทำให้จิตจำสภาวะได้ โมโห หงุดหงิด ดีใจ เสียใจ เรารู้ไป เรารู้บ่อยๆ จิตถึงจำสภาวะได้ เราต้องทำเหตุ เราต้องสร้างเหตุ" …
 
"วันนี้หลวงพ่อเน้นศีล ศีลก็จะเป็นตัวช่วยเราได้ ค่อนข้างมาก จากนั้นก็ค่อยๆ พัฒนาการดูใจดูกายในแต่ละวัน จนกระทั้งเกิดสติอัตโนมัติ ศีลอัตโนมัติ สมาธิอัตโนมัติ จากนั้นต้องปล่อยให้จิตเค้าทำงานของเค้าไป แต่หน้าที่เราทำตามรูปแบบทุกวัน จนวันหนึ่งเราจะเห็นเลย ว่าความทุกข์มันก็ไม่เที่ยง ความสุขที่เรารู้สึกอินเยอะๆ ก็ไม่เที่ยง มันก็ไปเหมือนกัน สิ่งอะไรที่มันเ…
 
"นั่งให้สบายก่อน ยังไม่ต้องทำอะไร นั่งสบาย ดูอะไรก็แล้วแต่ ทำความรู้สึกสบาย เสร็จแล้ว หายใจออกไปนิดนึง แล้วก็เห็นร่างกายนี้ หายใจเข้า หายใจออก ถ้าเราทำจนชิน ร่างกาย กับการหายใจ เป็นของที่มันเกิดตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนให้เราเห็นบ่อยๆ ยกเว้นว่าเราไม่ดู แต่ถ้าเมื่อไหร่เราดู เราก็จะเห็นหายใจอยู่ดี นั่นแหละ ตรงนี้ คือจุดพักของเราได้ ก็จะเป็…
 
"เราอยากพ้นทุกข์ ถ้าเราคิดว่าเราอยากได้ธรรมะเบื้องต้น การเจริญทั้งทางโลก และทางธรรม ทำได้นะ เราเป็นฆราวาส เราทำได้หมด แต่เราต้องเข้าใจก่อน ถ้าคิดว่าเป้าหมายในชีวิตเรา คือการพ้นทุกข์ งานหลักของเรา คือ ภาวนา งานที่อยู่กับโลก ทำแค่พออยู่พอกิน เลี้ยงครอบครัวได้ ตามความรับผิดชอบ เลี้ยงคุณพ่อคุณแม่ได้ อันนั้นคือหน้าที่ แต่งานหลักเรา คือภาวนา ภาวนาเพื่ออะ…
 
"ถ้าปัจจุบันจะนั่งทำฌาน ก็เหมือนที่หลวงพ่อพุธท่านว่า ชาตินี้เลยไม่ต้องเจริญปัญญา สุดท้ายชีวิตนี้ก็ขาดทุน เพราะถ้าจะเข้าฌานก็เข้าไม่ได้ เข้าแบบเพ่งๆ ก็ไม่ได้สมถะจริง ทั้งชีวิตก็ติดอยู่แค่นั้น จิตก็เคร่งเครียด สุดท้ายก็ได้จิตที่เป็นอกุศล ทำฌานไม่เหมาะ ไม่เหมาะกับยุคสมัยด้วย วิธีที่เหมาะกับปัจจุบัน วิธีที่ใช้การเจริญสตินำ สติสำคัญที่สุด สายวิปัสสนายาน…
 
"ลดความจงใจ มันก็จะไม่เหนื่อย มันไปตั้งใจมากไป มันจะแข็งไปนิดนึง จ้องยังกับอะไรล่ะ เหมือนยืนอยู่บนเส้นลวด กลัวตกอะไรอย่างนี้ ไต่ลวดน่ะ เหมือนกายกรรม มันไม่ต้องขนาดนั้น ท่องไม่ต้องถี่ยิบก็ได้ ท่องสบายๆ ลดความจงใจ ลดการเพ่งลง จ้องจุดเดียว มองจุดเดียว อันนี้แหละเหนื่อยแน่นอน ลองห่างๆ ท่องสบายๆ เหมือนถ้าใช้ความคิด ก็ไม่ต้องนึกดัง นึกเบาๆหน่อย" --คุณหมอ…
 
"ควรจะทำยังต่อไป จับหลักให้ถูก แล้วก็ทำ มีแค่นั้น ไม่มีอะไรมากกว่านั้นเลยนะ การภาวนา ไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่มีอะไรยุ่งยาก ทุกคน ตั้งแต่ภาวนาใหม่ๆ จนภาวนานานแล้ว ก็ทำแบบเดียวกันหมดเลย ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยนะ กระบวนท่าทำเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่ที่เปลี่ยนคือ ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน 25 พฤศจิ…
 
"ทำเรื่องจิตให้มันถูกก่อน ทำเรื่องจิตให้ถูกเนี่ยท่านใช้คำว่า จิตตสิกขา เรียนรู้เรื่องจิตเพื่ออะไร? ยังไงก็ต้องมีสมาธิ มากน้อยก็อย่างที่พระอาจารย์ท่านสอน แล้วแต่จริต แต่ยังไงก็ต้องมีสมาธิ สมาธิ หรือจะว่าเป็น ความรู้สึกตัวก็ได้ หรือจิตผู้รู้ ถ้าเกิดสมาธิมันมาก มันก็จะมีจิตผู้รู้ขึ้นมา อะไรก็ได้ ต้องให้มีสักอันหนึ่งก่อน ถ้าไม่มี มันก็จะดูยากมากเลยนะ ม…
 
"คนกิเลสแรง เวลาภาวนาก็ยากลำบาก ต้องอดทน อย่างพระอาจารย์ บางทีภาวนาไปช่วงหนึ่ง โทสะแรง โทสะทั้งวัน ดูแทบไม่ทันเลย แต่อดทนดูไป วิธีแก้โทสะง่ายที่สุด คือ ปิดปากไว้ ปิดมือไว้ แค่นั้นแหละ ปิดปากก็คือ เวลามีโทสะ มันก็จะชอบพูดอะไรที่ไม่ดี ก็ต้องปิดปากไว้ และก็ไม้มือ ก็เก็บไว้ ผลสุดท้ายแล้วก็ดูเอา ดูไปอย่างนี้ สู้ไปเรื่อยๆ โทสะก็ค่อยๆ เบาบางลง พอโทสะเบาบา…
 
"สมาธิที่ใช้เพื่อความพันทุกข์นี้ เป็นสมาธิที่ครูบาอาจารย์เรียกว่า สัมมาสมาธิ หรือว่า จิตตั้งมั่น มีจิตผู้รู้ สมาธิตัวนี้ เป็นสมาธิที่จะใช้ทำ วิปัสสนา ถ้าเรายังไม่มีสมาธิตัวนี้ ยังทำวิปัสสนาไม่ได้" --พระอาจารย์สมชาย (อ๊า) กิตฺติญาโณ คอร์สจีนออนไลน์ ครั้งที่5 3 ตุลาคม 2565
 
"โลกเป็นอย่างที่เขาเป็น โลกไม่ได้เป็นอย่างที่เราอยากให้เขาเป็น เวลามีปัญหาเกิดขึ้น เราอยากให้ปัญหาหายไป ปัญหาไม่ได้หายไปเพราะว่าเราอยาก ปัญหาหายไปด้วยเหตุด้วยผล ด้วยเหตุปัจจัยของเขา ทุกครั้งที่เราเผชิญปัญหา เราเติบโตขึ้น ใจเราวางมากขึ้น เข้าใจแล้ววาง ต่อไปการกระเพื่อมหวั่นไหวทางโลก กระทบเข้ามาไม่ถึงใจเรา เพราะว่าเป็นการเติบโต เป็นความเข้าใจ ใจยอมรั…
 
"เรารีบภาวนาของเราไปก่อน อย่าไปท้อแท้ใจอะไรเยอะ ท้อแท้ได้นิดหน่อยพองาม ครูบาอาจารย์ท่านสอนว่า ขยันก็ปฏิบัติ ขี้เกียจก็ปฏิบัติ ขยันก็ปฏิบัติมากหน่อย ขี้เกียจก็ต้องปฏิบัติ เพราะว่าความทุกข์มันรออยู่ข้างหน้า ถ้าเราไม่ปฏิบัติ อย่างไรก็ไม่พ้นทุกข์ ก็จมอยู่ในสังสารวัฏนี่แหละ เกิดตายๆ ไปเรื่อยๆ เราไม่รู้นะว่าจะมีครูบาอาจารย์มาสอนเราอีกเมื่อไร เราประมาทไม่…
 
"เวลาวัดความก้าวหน้าในการภาวนา ให้เราวัดว่าเรายึดถือสิ่งต่างๆ ในโลกน้อยลงไหม เวลากิเลสเกิดขึ้น เรารู้ทันได้เร็วขึ้นไหม ใจเรามีความสุขมากขึ้นไหม เราไม่ได้วัดที่จิตดีจิตสงบ เพราะจิตดีจิตสงบเป็นผลของกำลังสมาธิ พอสมาธิเสื่อมลง มันก็จะฟุ้งซ่าน ซึ่งมันจะมีธรรมชาติเจริญแล้วเสื่อม เราวัดคุณภาพของจิตของเรา ว่าเราเข้าใจธรรมชาติของโลกมากขึ้นไหม" --คุณแม่ชีอรน…
 
"ถ้าเราอยากภาวนา อยากได้ของดี เราต้องตั้งใจ ถ้าเราไม่ตั้งใจ มันไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางหรอก ถ้าอยากได้ดี ของฟรีไม่มี ครูบาอาจารย์บอกว่ามันยากนะ แต่ถ้าเราฝึกสติถูก ฝึกให้สมาธิตั้งมั่นถูก และฝึกเดินปัญญาได้ มรรคผลนิพพานไม่ไกล" --พระอาจารย์สมชาย (อ๊า) กิตฺติญาโณ บ้านจิตสบาย 13 พฤศจิกายน 2565
 
"ถ้าเราหวังความพ้นทุกข์ในชีวิตนี้ จำเป็นมากที่พวกเราต้องมีใจที่อยากจะเรียนรู้กายใจของเรา ให้เราใส่ใจในกายในใจ ใส่ใจคือการสอนจิตให้มีความคุ้นเคยที่จะคอยมาเรียนรู้กายใจ ให้นึกถึงร่างกายจิตใจเป็นระยะๆ นึกถึงบ่อยๆ ถ้าเราไม่ใส่ใจ เราก็จะไม่มีวันเข้าใจ เรารักษาศีล ทำในรูปแบบทุกวัน แต่ระหว่างวันเราไม่ใส่ใจกายและใจเรา กำลังมันจะไม่พอที่จะภาวนาให้พ้นทุกข์" …
 
"การภาวนาคือการสะสม สะสมไปทุกวันๆ จนกระทั่งวันหนึ่งมันพอ แต่ตอนที่เราสะสม เราก็สะสมไป เราไม่รู้หรอกว่าก้าวไหน ถ้าเรารู้ว่าก้าวที่หนึ่งล้านเราจะถึง อันนี้ไม่ยาก แต่มันยากตรงที่เราไม่รู้ว่าก้าวไหน เราต้องค่อยๆ พากเพียรสะสมไป เราไม่ภาวนาชาตินี้ชาติเดียว เราภาวนากันข้ามอสงไขย ข้ามสังสารวัฏ ตรงนี้อาศัยความอดทน" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย 5 พฤศจิกายน…
 
"สุดท้ายแล้ว นักภาวนาต้องทำได้ทุกอย่าง ไม่ว่านั่ง เดิน หรือนอนภาวนา เพราะเราไม่รู้เลยว่าจิตสุดท้ายเราจะไปตอนไหน แต่ถ้าเราไม่แน่ใจ เราก็ทำอย่างเดียวก่อน จนเราแน่ใจแล้วกับสมาธิตัวนี้ คือเรารู้หลักแล้ว จากที่เดินเราจะปรับเป็นนั่ง ที่นั่งแล้วจะปรับเป็นเดิน ก็สามารถทำได้" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย 16 ตุลาคม 65…
 
"ถ้าเราไม่ได้ทำรูปแบบทุกวัน โอกาสที่จิตจะตั้งมั่นนั้นยาก คือเราต้องสู้กับกิเลสให้ได้ การทำในรูปแบบให้ได้ทุกวันต่อเนื่อง เหมือนเราชนะกิเลสได้ทุกๆวัน เราฝืนกิเลส เราสู้กับกิเลสข้างในของเรา ในวันที่ทำ เราชนะ และเราก็ต้องชนะแบบนี้ทุกวัน ถ้าเราไม่ชนะ เราก็ต้องเป็นทาสมัน ถ้าวันไหนที่เราทำงานมาเหนื่อยมากจริงๆ อย่างน้อยต้องเดินไปกลับให้ได้สามรอบแล้วค่อยขึ้…
 
"ถ้าจะให้จิตมีกำลัง ต้องมีคำบริกรรมด้วย ต้องมีกรรมฐานหนึ่งอย่าง คือแรงที่เป็นจากสมถะ มันเกิดจากการที่เราบริกรรมต่อเนื่องยาวขึ้น แต่เมื่อบริกรรมและสังเกตจิตไปด้วย มันจะไม่ติดเพ่ง มันจะได้สมถะที่ดี สมถะ แม้แต่จิตที่มีผู้รู้ ก็ถือว่าเป็นสมถะ เป็นสมถะที่ดี ที่เอามาเจริญปัญญาได้" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน 13 สิงห…
 
"ทุกสภาวะเป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ จิตที่หนีไปคิด ถ้ารู้ก็ได้แต้มหนึ่ง จิตที่เพ่ง รู้ก็ได้แต้มหนึ่ง ฉะนั้นไม่ต้องหงุดหงิด เพราะทุกอย่างคือการเรียนรู้ ไม่ต้องตั้ง(ธง)ที่ความสงบ ความสงบเกิดขึ้น ก็ไม่มุดลงไปในความสงบ เพราะมันก็เป็นสิ่งที่เรียนรู้ เหมือนเพ่งกับเผลอ จิตจะค่อยมีสติที่ถูกขึ้นมาเอง ถ้าจะเอาความสงบให้ได้ เพ่งแน่นอน เพราะทำด้วยความโลภ พอไม่…
 
"เห็นไหมว่า อาการ เคลื่อนไหว หยุดนิ่ง มันอยู่ที่ใจ อยู่ตรงรู้สึก รู้สึกมากๆ พัฒนาความรู้สึกขึ้นมา รู้สึกได้สมบูรณ์เมื่อไหร่ ก็จะเห็นจิตเมื่อนั้น เห็นรู้สึกตัวได้เมื่อไหร่ ก็ถือว่าเห็นจิต ถ้าเห็นจิตเมื่อไหร่ ภาวนาจริงๆ มันถึงจะมา นึกออกไหม เพราะฉะนั้น ต้องหาจิตให้เจอ" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน 12 สิงหาคม 2565…
 
"ถ้าวิหารธรรมอันไหนทำแล้วไม่สบาย ก็แสดงว่าไม่ใช่แล้ว เพราะมีความสบายถึงจะเกิดความสุข มีความสุขก็อยากจะอยู่กับกรรรมฐานแบบนี้ ความสุขก็ให้เกิดสมาธิ ก็ตามสเต็ป ถ้าอันไหนไม่สบายก็ไม่ใช่เครื่องพักของเราแล้ว มันจะเป็นวิหารธรรมได้อย่างไร" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน 12 สิงหาคม 2565…
 
"เวลาเราจะภาวนา ก็ให้เราเฝ้าสังเกตใจ ถ้าเราสังเกตใจของเราได้ เราก็จะภาวนาต่อไปได้ ถ้าเราคอยอ่านใจไปเรื่อยๆ จะอ่านได้เร็วขึ้น ถี่ขึ้น ต่อไปก็จะอ่านได้ตลอดเวลา" --พระอาจารย์สมชาย (อ๊า) กิตฺติญาโณ คอร์สจีนออนไลน์ ครั้งที่4 16-21 มิถุนายน 2565
 
"เป้าหมายของการภาวนา เพื่อให้เห็นว่าความที่เป็นตัวเรา มันแยกออกมาได้หลายส่วน แต่ละส่วนล้วนเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ แต่ละส่วนล้วนบังคับไม่ได้ ไม่ใช่เรา เห็นมันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไปเรื่อยๆ เห็นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ รู้ความจริง ค่อยๆ เข้าใจว่ากายใจนี้ไม่มีอะไรที่เป็นสาระ ไม่มีอะไรที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้อย่างถาวร ทุกอย่างมาแล้วไป เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ใจจะได…
 
"เราต้องคอยปลุกใจตัวเองทุกวัน ให้มีความพากเพียร อดทนในการภาวนา แล้วก็มี จิตต เอาใจคอยสอดส่อง คอยคิดดูว่าที่เราทำอยู่นี้ ยังอยู่ในเส้นทางหรือเปล่า มีความฝักใฝ่ในการงานที่เราจะทำ ถ้าเราฝักใฝ่ในการงานที่เราทำบ่อยๆ ทำงานตัวนี้ที่ต่อเนื่องก็มีสมาธิขึ้นมา ได้สมาธิที่ถูกด้วย เพราะว่าเราคิดพิจารณาของเรา แล้วเราก็ใคร่ครวญดู ตัวสุดท้าย วิมังสา ใคร่ครวญดู ว่า…
 
"จิตหลงใหม่เรารู้ใหม่ ฝึกอย่างนี้ซ้ำๆๆ เลยนะ สติเราจะไวขึ้น แล้วขณะที่เกิดสติ มันจะมีขนิกสมาธิ ที่เกิดขึ้นทีละขณะๆ เกิดบ่อยๆ จะสะสมเป็นกำลังของจิต เป็นใจที่มีสมาธิ เป็นใจที่ตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ เกิดขึ้น ฉะนั้น ในรูปแบบ ฝึกได้ตั้งแต่ให้เกิดสติ ฝึกได้ตั้งแต่ให้ใจตั้งมั่น สติกับใจที่ตั้งมั่น จะเกิดคู่กัน ขึ้นมาเรี่อยๆ เกิดบ่อยๆ ใจก็ตั้งมั่นออกม…
 
"การทำกรรมฐานไม่ได้ง่าย ไม่ได้ใช้เวลาน้อย จริงๆ ต้องทำไปเรื่อยๆ ค่อยๆ สังเกตไป คนยุคนี้เป็นคนใจร้อน รออะไรไม่ได้ อยากอะไรก็อยากให้มันเสร็จเร็วๆ ซึ่งมันใช้ไม่ได้กับการทำกรรมฐาน การทำกรรมฐานเป็นของละเอียดปราณีต ต้องค่อยๆ สังเกต ค่อยๆ ดู ค่อยๆ คลำทางไป เดินไปอย่างมั่นคง ไปอย่างช้าๆ ทีละนิด อย่าไปรีบ" --พระอาจารย์สมชาย (อ๊า) กิตฺติญาโณ คอร์สจีนออนไลน์ …
 
"วิปัสสนา เราใช้หลักที่ว่า เห็นกายเห็นใจตามความเป็นจริง อย่างเช่น ถ้าเราพุทโธๆ ใจมันหนีไปคิด เรารู้ทัน ว่าใจมันหนีไปคิด เราไม่ได้ห้ามใจหนีไปคิด แต่การที่เรารู้ทัน ว่าจิตนี้หนีไปคิด พอรู้ทัน เราก็มีสติขึ้นมา พอหลงไปคิดอีก เรารู้ทันอีก การฝึกบ่อยๆ มันจะทำให้เรามีสติได้ไวขึ้น" --คุณแม่ชีอรนุช สันตยากร คอร์สจีนออนไลน์ ครั้งที่3 27 กุมภาพันธ์ 2565…
 
"ทำยังไงเราถึงจะเจริญในธรรม? เราต้องไปฝึก ยีน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ให้มีสติไว้ ฝึกไว้เรื่อยๆนะ ต่อไป มันจะเป็น มหาสติ มหาปัญญา คือสติอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ ตัวนี้แหละจะพาเราพ้นทุกข์ได้" --พระอาจารย์สมชาย (อ๊า) กิตฺติญาโณ คอร์สจีนออนไลน์ ครั้งที่3 26 กุมภาพันธ์ 2565
 
"กรรมฐานที่เหมาะกับตัวเอง ไม่ว่าทำกรรมฐานอะไร จะต้องมีผิดก่อนอยู่แล้วทุกคน ถ้าผิดแล้วเราหนี เราก็จะไม่สามารถหากรรมฐานที่เหมาะกับเราสักที มันไม่มีใครหรอก ที่ทำกรรมฐานแล้วถูกเลย ก็ผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่เราก็รู้ที่ผิดไปเรื่อยๆ ก็จะผิดน้อยลงๆ ไปเอง" --คุณแม่ชีอรนุช สันตยากร คอร์สจีนออนไลน์ ครั้งที่3 25 กุมภาพันธ์ 2565…
 
"มีอะไร(เกิดขิ้น) ก็รู้อย่างที่มันเป็น รู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ต้องรู้เยอะๆ การที่เรารู้เยอะๆ มันรังแต่สร้างปัญหาให้เรา เพราะเรารู้เยอะ เราก็คิดเยอะ พอคิดเยอะ เราก็ฟุ้งซ่าน แล้วเมื่อไรจิตจะสงบ มันก็วนอยู่แบบนี้ ชีวิตทั้งชีวิตปฏิบัติมาสิบปีก็วนอยู่แบบนี้ แทนที่จะรู้ไปตรงๆ พอรู้ตรงๆ เห็นอะไร มันก็ดับไป" --คุณมาลี ปาละวงศ์ 23 พฤษภาคม 2564…
 
"หัดดูสภาวะไปก่อน ดูรูปยืน เดิน นั่ง นอน ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง ร่างกายคู้ ร่างกายเหยียด ร่างกายกระดุกกระดิก รู้สึกไป ร่างกายมีความสุข ความทุกข์ จิตใจมีความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ เราหัดดูไป หัดดูสภาวะพวกนี้ไป หรือหัดดูสภาวะที่จิตโกรธ โลภ หลง จิตใจที่ดี ไม่ดี จิตใจที่เป็นกุศล อกุศล พอเราหัดดูไป จิตมันตื่นออกมาได้ ทำแบบนี้สติก็เกิดได้ พอสต…
 
"ตั้งใจภาวนา อดทน ยิ่งภาวนามาหลายๆ ปี บางคนท้อแท้ บางคนก็สงสัย ว่าทำไมภาวนาแล้วไม่ได้ผล อย่างบางคนภาวนาแล้วไม่ได้คาดหวังอะไร ภาวนามายี่สิบปีแล้ว ถึงได้ผลก็มี จริงๆ ก็คือ ถ้าสติเกิดก็มีความสุขแล้ว แค่เรามีสติในชีวิตประจำวันของเราไปเรื่อยๆ ถ้ามันเกิดได้ถูกนะ มันก็มีความสุข กิเลสมันก็น้อย มันก็อยู่กับโลกไปด้วยทุกข์น้อยๆ ค่อยๆ เดินของเราไป เดินไปช้าๆ แ…
 
"ทำกรรมฐานสักอย่างที่เราชอบ แล้วตามคอยรู้ทันความเปลี่ยนแปลงในกาย ในใจของเรา หัดรู้ของเราไปเรี่อยๆ เราจะพ้นทุกข์ไม่ได้เลยจากการฟังธรรม การฟังธรรมเยอะๆ ช่วยให้เราเข้าใจการปฏิบัติ แต่ไม่สามารถทำให้เราพ้นทุกข์ได้ วิธีเดียวที่จะพ้นทุกข์ได้ ก็คือเรียนรู้ความจริง" --คุณแม่ชีอรนุช สันตยากร คอร์สจีนออนไลน์ ครั้งที่ 2 27 สิงหาคม 2564…
 
ถ้าใครเกิดความท้อแท้ก็อย่าเพิ่งล้มไป สู้ใหม่ มันทำอะไรไม่ได้แล้ว มันทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้แล้ว หยุดคิด ตั้งต้นใหม่ ครูบาอาจารย์สอนว่าอะไร ที่จริงท่านสอนให้นับศูนย์กับหนึ่งตลอดเวลา คือไม่มี สอง สาม สี่ ห้า เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ก็ให้จบลงที่รู้ ไม่ว่าทำในรูปแบบหรือในชีวิตประจำวัน รู้ได้เท่าไหร่ก็รู้แค่นั้น ไม่ต่อเติม ไม่วิพากษ์วิจารณ์ ไม่เสียอกเสียใจ ไม…
 
"ถ้าเราไปทำสมาธิ ส่วนใหญ่ก็จะสุดโต่งไปข้างที่บังคับ ไปเพ่งเอาไว้ จะไม่เกิดตัวรู้ขึ้นมา เวลาทำกรรมฐาน ที่ง่ายที่สุดเราก็ทำไปแล้วคอยสังเกตใจเราไป สังเกตใจเราไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวมันจะค่อยๆ พัฒนาตัวรู้ขึ้นมาเอง ก็คือฝึกสติไปนั่นแหละ ทำกรรมฐานแล้วก็คอยมีสติรู้ทัน รู้ทันกาย รู้ทันใจเราไปเรื่อยๆ ถ้าเรารู้ทันสภาวะทั้งหลายได้ จะเกิดสัมมาสติขึ้นมา ที่นี้พอเก…
 
"ณ ทุกวันนี้ ธรรมะของจริงยังมีอยู่ คนที่เดินทางแล้วไปถึงจุดหมาย ก็ยังมีอยู่ คนที่ยังสอนพวกเรา ก็ยังมีอยู่ เราต้องเปิดโอกาสของเราเอง ภาวนาให้ได้เยอะที่สุด ทำให้ได้บ่อยที่สุด แล้วเราจะได้ของดี ของเราเอง" --พระอาจารย์สมชาย กิตฺติญาโณ คอร์สจีนออนไลน์ ครั้งที่ 1 (30 เม.ย. - 6 พ.ค.) 1 พฤษภาคม 2564
 
"เวลาที่เราดูกิเลส เราต้องวัดตัวเอง ถ้าเรารู้ทันกิเลสได้ เราก็รู้ ถ้ารู้ไม่ได้ก็ถอยออกมา เป็นการแก้อาการ แต่เราต้องรู้ว่าอันนี้คือการแก้อาการ ตัวนี้เป็นสมถะ ไม่ใช่การเดินปัญญา ถ้าเราเดินปัญญาได้ เราก็เดิน ถ้าเดินไม่ได้ก็ถอยออกมา อยู่กับอารมณ์อันเดียว หรือถอยออกมาก่อนเพราะรู้ไม่ไหว แต่ว่าเราต้องหัดรู้หัดดูไป ไม่ใช่ถอยทุกครั้ง ถ้าถอยทุกครั้งเราก็จะไม…
 
"ไม่มีว่าทำยังไงให้ถูก เมื่อไหร่ที่เราทำแล้วเรารู้ว่าผิด ตรงนั้นแหละมันค่อยๆ ถูก ถูกในที่นี้คือ มันค่อยๆ เข้าใจมากขึ้น มันฉลาดมากขึ้น มันฉลาดของมันเอง จากการที่มันเห็นสิ่งที่มันแสดงอยู่ในกายในใจเรา แล้วเห็นตรงตามความเป็นจริง" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สก.ล.ต. ธรรมศาสตร์ พัทยา 7 ธันวาคม 2563
 
"ถ้าเราตั้งใจจะภาวนาแนวนี้ (ปัญญานำสมาธิ) เราต้องรักษาศีลให้ดี เพราะว่าเวลาเราภาวนา เราไม่ได้ไปเพ่งสมาธิไว้นิ่งๆ เวลาผัสสะกระทบปุ๊บ กิเลสทำงานขึ้นมา ถ้าสติเราไม่ไว กิเลสครอบงำ เราจะไปล่วงศีลผิดศีลได้ง่ายๆ เราต้องตั้งใจรักษาศีลให้ดีๆ ถ้าเราฝึกสติของเราดี สติของเราไว ศีลจะบริบูรณ์เอง ถ้าศีลเราดี เรื่องทำสมาธิจะง่ายขึ้น" --พระอาจารย์สมชาย กิตฺติญาโณ ส…
 
"ถ้าเราฝึกสติไว้ดี เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ร่างการกระดุกกระดิก ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตเป็นสุขก็รู้ทัน จิตเป็นทุกข์ก็รู้ทัน จิตเฉยๆ ก็รู้ทัน ฝึกให้มันจำสภาวะพวกนี้ได้ แล้วก็จิตมีโลภ มีโกรธ มีหลง จิตมึความดี ความชั่วอะไร เราฝึกให้สติมันจำได้ พอสติไว พอจิตจะหลงจะไหล มันจะรู้ทัน สัมมาสมาธิจะเกิดง่าย" --พระอาจารย์สมชาย กิตฺติญาโณ สวนธ…
 
"สมาธิทีใช้ไม่ได้ คือสมาธิที่ประกอบด้วยโมหะ ทำแล้วหลับ ฝัน เคลิ้ม ไม่ควรทำ ส่วนสมาธิส่วนที่ใช้ได้มีสองส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้พักผ่อน อีกส่วนหนึ่งเอาไว้ทำงาน มันแยกกันด้วยจิต ถ้าจิตไปอยู่กับอารมณ์นิ่งสงบ ใช้พักผ่อน แต่ถ้าจิตมันแยกออกมา มีสมาธิไม่ฟุ้งซ่าน จิตแยกออกมาจากขันธ์ ตัวนี้เอาไว้เดินปัญญา" --พระอาจารย์สมชาย กิตฺติญาโณ สวนธรรมประสานสุข อ.ศรีราชา …
 
"การทำกรรมฐาน มันไม่ยากเลย ฝึกเครื่องมือของเรา ฝึกสติคอยเห็นสภาวะ แล้วก็คอยรู้ทันจิตเรา ถ้าเรารู้บ่อยๆ เราจะรู้เอง ว่าเราทำกรรมฐานอะไรอยู่ ตอนนี้เราอยู่ขั้นตอนไหน" --พระอาจารย์สมชาย กิตฺติญาโณ สวนธรรมประสานสุข อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
 
"ฝึกสมาธิต้องทำบ่อยๆ ต้องทำทุกวัน สมาธิเป็นเรื่องของการสะสม ถ้าเราทำวันหนึ่งหยุดไป 5 วันอย่างนี้ สมาธิจะไม่ค่อยเกิดหรอก พื้นฐานไม่พอ พูดง่ายๆ ถ้าเราทำสมาธิแล้วจิตเริ่มมีกำลังเริ่มสงบ แล้วเราก็ไปฟุ้งอยู่กับโลกหลายๆวัน พอจะกลับมาทำสมาธิใหม่ก็ฟุ้งๆอยู่อย่างนี้ มันไม่ได้สมาธิ ทั้งสมาธิพักผ่อน ทั้งสัมมาสมาธิ" --พระอาจารย์สมชาย กิตฺติญาโณ สวนธรรมประสานสุ…
 
"ตัวที่ต้องฝึกให้ถูกก็คือฝึกสติก่อน ถ้าเราฝึกพื้นฐานตัวนี้ได้ดี จะต่อยอดได้ง่าย แต่ถ้าฝึกสติไม่ดี ต่อยอดยาก สติที่ใช้ภาวนาต้องเป็นสัมมาสติ ไม่ใช่สติสาธารณะทั่วไป ฝึกสัมมาสติตัวแรกที่แนะนำคือหัดดูร่างกาย เห็นร่างกายหายใจออก เห็นร่างกายหายใจเข้า คนละตัวกับเพ่งลมหายใจออก เพ่งลมหายใจเข้า อีกตัวคือเห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง ร่างกายคู้ เหยียด …
 
"ฝึกอย่างไรก็ได้ที่ให้มีสติอยู่กับเนื้อกับตัว อยู่กับกายกับใจเราตลอดเวลา ตัวนี้ต้องอาศัยฉันทะความพอใจที่จะทำ ปรับ ลด ละ สิ่งที่จะยั่วยุให้เราอยู่กับโลกให้ลดน้อยลง เอาเวลามาอยู่กับตัวเองมากขึ้น เจริญสติให้มากขึ้น ถ้าสติเราเกิดได้ต่อเนื่อง จะเริ่มมีสมาธิขึ้นมา สมาธิที่อยู่กับเนื้อกับตัว แล้วจิตผู้รู้จะค่อยๆชัดขึ้นมาเอง มันชัดขึ้นแบบที่เรารู้ได้เอง เอ…
 
"รู้ด้วยความรู้สึก มันรู้ด้วยความรู้สึก มันไม่ใช่รู้ด้วยตา ไม่ต้องเอาจิตเหมือนตาไปดู ใช้ความรู้สึกรับรู้ มันจะเบา ไม่หนัก ไม่เพ่ง แต่เบาใหม่ๆ จะรำคาญ รู้สึกว่ามัน ไม่แล้วใจ แต่จริงๆ แค่นี้ พอ!" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๓
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน