หมวดหมู่สาธารณะ
[subscription 11]
เพิ่มเติม
ดาวน์โหลดแอปเลย!
Loading …
 
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลคณะราษฎร ได้ฟื้นฟูการทูตสวนสัตว์โดยในปี 2478 โดยได้ส่งช้างไปสานสัมพันธ์ตามคำขอของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ชื่อ พังวันดี ซึ่งได้รับการต้อนรับจากชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น พังฮานาโกะ แต่ในเวลาไม่นานเกิดอาการป่วยและล้มในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามมหาเอเชียบูรพา) และในยุคที่ญี่ปุ่นกำลังฟื้…
  continue reading
 
ในคราวที่สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้มีการสร้างช้างสำริดขึ้นบริเวณอัฒจรรย์ทางขึ้นพระที่นั่ง โดยรัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์เป็น 2 นัยคือ 1. เพื่อทบทวนอดีตของตำแหน่งที่ตั้งของพระที่นั่ง โดยตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 เคยเป็นโรงช้างเผือก 2. เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของบ้านเมืองและพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรูปปั้นช้างไปท…
  continue reading
 
ในขณะนั้นกลุ่มประเทศตะวันตกได้จัดให้มีการตั้งสวนสัตว์ขึ้น โดยรวบรวมสัตว์จากต่างประเทศทั่วโลกไปจัดแสดง รัชกาลที่ 4 ทรงทราบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีช้างเป็นสัตว์ประจำถิ่น พระองค์มีพระราชหัตถเลขาถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่จะส่งช้างไป 1 คู่ เพื่อจัดแสดงในสวนสัตว์รวมทั้งเพาะขยายพันธุ์ โดยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ได้ตอบปฏิเสธและให้เหตุผลว่า ภูม…
  continue reading
 
การติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติผ่านเรือสินค้าไปยังต่างประเทศ สิ่งที่ยืนยันความเป็นรัฐของเรือแต่ละลำคือการประดับด้วยธง สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้นำรูปช้างเผือกสีขาวติดลงบนธงสีแดง ถือเป็นสัญลักษณ์ของสยาม นอกจากนี้ยังติดต่อค้าขายกับประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสัน ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 3 มีนโยบายติ…
  continue reading
 
ช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของชนชาวภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ที่มีความสำคัญโดยได้รับความเชื่อมาจากวัฒนธรรมอินเดีย โดยเฉพาะช้างเผือก ถือว่าเป็นสัตว์ที่ส่งเสริมพระบารมีของพระมหากษัตริย์ ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก เพราะทรงมีช้างเผือกครอบครองจำนวนมาก ความทราบถึงพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์…
  continue reading
 
การสร้างพระสยามเทวาธิราช ของรัชกาลที่ 4 มีต้นแบบของความเชื่อเกี่ยวกับการเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในราชอาณาจักรมาจาก เทพีบริทาเนีย (Britannia) แห่งราชวงศ์อังกฤษ แต่ในขณะนั้นการจะพูดถึงการเป็นศูนย์รวมจิตใจกับประชาชน คงเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจ รัชกาลที่ 4 จึงได้นำความเชื่อเกี่ยวกับการปกปักษ์รักษาเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยได้ยกสถานะพระ…
  continue reading
 
ก่อนที่ศาสนาจะเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนอุษาคเนย์ ผีที่ได้รับความเคารพนับถือยังไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือลักษณะของผีสาง เมื่อศาสนาและความเชื่่อเกี่ยวกับเทพเทวดาเข้ามามีบทบาทในพื้นที่แห่งนี้ ผีบ้านผีเมืองที่มีลักษณะ หรืออภินิหาญคล้ายคลึงกับเทพ จึงได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นเทพเทวดาปกปักษ์รักษาคุ้มครองป้องกันภัย โดยได้จำแนก 4 - 5 ประเภท…
  continue reading
 
ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไต - ไท ในดินแดนเอเชียอาคเนย์ ทางตอนใต้ของจีน และต่างตะวันออกของอินเดีย มีความเชื่อเกี่ยวกับผีบ้านผีเมืองไปในทิศทางเดียวกัน นั่นทำให้คนในกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือญาติโดย Thai PBS Podcast
  continue reading
 
ความเชื่อเกี่ยวกับผีและวิญญาณ เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้น เมื่อความตายเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดคำถามว่า “ตายแล้วไปไหน” จึงเกิดเป็นความเชื่อการมีตัวตนของโลกหน้า ส่งผลให้เกิดวิธีปฏิบัติด้วยการนำข้าวของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับใส่ลงไปในหลุมศพ ซึ่งจริง ๆ แล้ว สาเหตุนั้นเกิดจากความกลัวแล…
  continue reading
 
ปัญหาการเมืองการปกครองของสยามเกี่ยวกับการแย่งชิงราชสมบัติ ในประวัติศาสตร์พบว่า นอกจากการช่วยเหลือจากกลุ่มคนสยามด้วยกันแล้ว ยังมีชาวต่างชาติที่ร่วมกระทำการในแต่ละครั้งด้วย เช่น ชาวญี่ปุ่น แขก หรือแม้กระทั่งการได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์ของจีนโดย Thai PBS Podcast
  continue reading
 
เมื่อกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรือง ชาวต่างชาติได้ติดต่อค้าขายมากขึ้น ทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นจุดหมายหนึ่งของชาวต่างชาติที่จะแวะเวียนเข้ามาทั้งการติดต่อส่วนราชการและการค้าขายจนได้ชื่อว่า เป็นเมืองท่านานาชาติอีกแห่งหนึ่งของเอเชียอาคเนย์ในสมัยนั้นโดย Thai PBS Podcast
  continue reading
 
หลังจากการร่างสร้างเมืองของกรุงศรีอยุธยา ที่มีชัยภูมิติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การค้าขายไม่ได้ทำเพียงแค่ทางบกเท่านั้น ยังสามารถติดต่อผ่านทางน้ำได้อีกด้วย จึงทำให้เริ่มมีชาติตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายกันมากขึ้นโดย Thai PBS Podcast
  continue reading
 
ชาวต่างชาติในช่วงแรกของกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นช่วงรอยต่อจากการปกครองของกรุงสุโขทัย ในขณะนั้นมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติผ่านเส้นทางบนบก เช่น พ่อค้าจากชาวจีน และบ้านเมืองในอยู่ในบริเวณใกล้เคียงโดย Thai PBS Podcast
  continue reading
 
แม้การกัลปนา จะเป็นเรื่องการทำบุญทำทานแต่ยังแฝงไปด้วยการเมืองอีกด้วย ดังเช่นการทำนุบำรุงหรือกัลปนาวัดบริเวณทะเลสาปสงขลา ด้วยการส่งทาสจากเมืองหลวงไปยังพื้นที่ดังกล่าว ทำให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและสงขลา ต่างหวาดหวั่นจนถึงขั้นนอนไม่หลับ เนื่องจากทาสที่ได้จากการกัลปนาจากพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานมา ถือเป็นสิทธิ์ขาดของเจ้าอาวาส ผู้อื่นจะเข้ามายุ่งเกี่ย…
  continue reading
 
ในด้านเศรษฐกิจแล้ว การกัลปนาในที่วัดต่าง ๆ ถือว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากปริมาณในการเพาะปลูกที่มีอยู่จำนวนมาก นอกจากจะใช้เลี้ยงนักบวชและข้าทาสต่าง ๆ แล้ว ยังเหลือที่จะส่งเป็นส่วยเข้าไปในวังหลวง เพื่อเป็นเสบียงใช้ในยามศึกสงครามและนำไปค้าขายกับต่างเมืองได้อีก โดยทรัพย์ที่ได้จากการค้าขายจะมีส่วนหนึ่งที่ส่งกลับไปทำนุบำรุงศาสนสถานนั้น ๆ อีกด้วย…
  continue reading
 
ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ถือเป็นการเริ่มต้นของรัฐบ้านเมืองที่เป็นคนไทย ธรรมเนียมปฏิบัติที่พระมหากษัตริย์ต้องปฏิบัติคือ การสร้างวัด ไม่ว่าจะสร้างภายในเขตเมืองหรือชายขอบของเมือง จะต้องมีการกัลปนาด้วย ตามปกติแล้ววัดที่สร้าง ณ จุดใด พื้นที่โดยรอบวัด พระมหากษัตริย์จะอุทิศให้ แต่หากภายในเมืองที่สร้างวัดจนแน่น จะใช้วิธีการให้ที่ดินที่อยู่นอกตัวเมืองแท…
  continue reading
 
ในพื้นที่เอเชียอาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในยุคที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดน และยังคงเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ รัฐอาณาจักรเขมร เป็นตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดในการทำกัลปนา โดยพระมหากษัตริย์อาณาจักรเขมรในขณะนั้นนิยมสร้างเทวสถานขึ้น เมื่อสร้าแล้วจะมีการกัลปนา ทั้งที่ดินโดยรอบ สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ และทาส เพื่อปฏิบัติรับใช้ภายในเทวสถานและทำไร่นาเพื่อ…
  continue reading
 
การกัลปนา คือการทำมหาทานหรือการอุทิศที่พระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองเมือง เจ้าขุนมูลนาย หรือผู้ที่มีทรัพย์ถวายแก่วัดหรือเทวสถาน เช่น ที่ดินโดยรอบหรือพื้นที่อื่น ๆ พืชพันธุ์ธัญญาหาร สัตว์เลี้ยง หรือแม้กระทั่งทาส ซึ่งกัลปนา เกิดขึ้นมาเป็นเวลาช้านานนับย้อนไปตั้งแต่สมัยอียิปต์ หรือดินแดนเมโสโปเตเมีย ในวัฒนธรรมอินเดียก็มีการทำกัลปนา เช่นกัน…
  continue reading
 
เป็นระยะเวลา 13 ปี กรณีพิพาทการเข้าปกครองกัมพูชาของสยามและเวียดนามในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดความสูญเสียอย่างมาก จึงมีการเจรจาตกลงแบ่งพื้นที่การปกครองกัมพูชาจึงยุติการทำสงคราม ต่อมาในรัชกาลที่ 6 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 แม้เหตุการณ์นี้จะเกิดในในทวีปยุโรปแต่สยามเลือกอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร จนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบ…
  continue reading
 
ธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้าผู้ครองนครของรัฐต่าง ๆ อย่างหนึ่งคือ การแสดงแสนยานุภาพและอำนาจของผู้ครองนครนั้น ๆ ต่อเมืองอื่น ๆ โดยรอบ ซึ่งสยามกับพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการทำศึกสงครามกันบ่อยครั้ง การเสียกรุงของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 ครั้งมีความแตกต่างกัน โดยการเสียกรุงครั้งที่ 1 นั้น แนวคิดของพม่า ไม่ต้องการทำลายบ้านเมือง เพ…
  continue reading
 
กรุงสุโขทัย เกิดขึ้นได้จากอำนาจการปกครองของอาณาจักรเขมรเสื่อมลง ประกอบกับแนวคิดของการปกครองที่ผ่านไปหลายรุ่นทำให้เกิดการสร้างบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ การทำสงครามในช่วงนี้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจากบ้านเมืองที่อยู่โดยรอบ โดยเฉพาะเหตุการณ์สู้รบกับเจ้าเมืองฉอดที่ยกกองทัพล้อมเมืองตากไว้ ทำให้เจ้าเมืองตากต้องขอความช่วยเหลือจากกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงย…
  continue reading
 
การทำสงครามของมนุษย์นั้นเริ่มมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากการศึกษาค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า การทำสงครามในสมัยโบราณเป็นไปในลักษณะการแย่งชิงหรือครอบครองพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์รวมถึงกลุ่มคนในพื้นที่นั้น ๆ โดยมีปัจจัยมาจากการพัฒนาการของสังคมมนุษย์ เมื่อมีจำนวนมากขึ้น ความต้องการอาหารและพื้นที่ที่อยู่อาศัยจึงมีความต้องการมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการทำ…
  continue reading
 
หากพิจารณาสถานที่ท่องเที่ยวทะเลที่ใกล้ที่สุด คงหนีไม่พ้นจังหวัดชลบุรี นี่จึงเป็นเหตุผลที่บรรดาเจ้าขุนมูลนาย หรือผู้ที่อยู่ในระดับชนชั้นทางสังคมที่สูง มักนิยมมาท่องเที่ยวตากอากาศที่จังหวัดแห่งนี้ แต่ในสมัยนั้น กิจกรรมการท่องเที่ยวไม่เป็นที่นิยมนักสำหรับประชาชน โดยในช่วงการทำสงครามเวียดนาม ทหารจากสหรัฐอเมริกาที่กลับมาผลัดเวรพักสู้รบ มักจะมาท่องเที่ยว…
  continue reading
 
ด้วยจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางทะเล รัชกาลที่ 6 มีพระราชดำริให้สงวนพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีซึ่งปัจจุบันเป็นฐานทัพเรือสัตหีบ เนื่องจากเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในด้านการป้องกันประเทศ สืบเนื่องจากเหตุการณ์ในอดีตที่กองทัพเรือฝรั่งเศสเคยปิดอ่าวไทย รวมถึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการค้า เช่นท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรม…
  continue reading
 
หากมองย้อนกลับไป พื้นที่จังหวัดชลบุรีถือเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการติดต่อค้าขาย โดยพื้นที่แห่งนี้มีการทำอุตสาหกรรมเหมืองทอง ป่าไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าขุนมูลนายได้มีการตั้งกิจการค้าไม้เกิดขึ้นอีกด้วย เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล การค้าขายกับต่างชาติถือว่ามีความสำคัญ โดยได้ค้าขายกับจีน อินเดีย และชาติตะวันตก…
  continue reading
 
ในช่วง 1,000 ปีต้น ๆ ถึง 800 ปี หรือในยุคทวารวดี บริเวณที่ราบลูกฟูกได้เกิดชุมชนต่าง ๆ ขึ้น หลังจากที่ระดับน้ำทะเลได้ลดระดับลง โดยมีการติดต่อกันระหว่างชุมชนเขตภูเขากับทะเล โดยใช้แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำพานทองและแม่น้ำคลองหลวง ในการสัญจรติดต่อค้าขาย โดยในช่วงนี้พบว่าชุมชนแถบนี้เริ่มรับวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาใช้เช่น ระบบการปกครองที่มีกษัตริย์ หรือผู้นำชุมชน…
  continue reading
 
จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่ราบลูกฟูกและป่าเขา แต่หากย้อนกลับไปในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือยุคสมัยหินใหม่ ชายฝั่งทะเลลึกเข้าไปไกลถึงเขตภูเขา การศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า ชุมชนที่เกิดขึ้นในพื้นที่เริ่มมีการระบบการปกครองโดยมีชนชั้นทางสังคม เช่น ผู้นำชุมชน คนร่ำรวย ซึ่งชุมชนโคกพนมดี เป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ได้เป็…
  continue reading
 
ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อุษาคเนย์ ที่ไม่ใช่หมู่เกาะ ยังคงมีหลายประเทศที่มีเทศกาลสงกรานต์ ได้แก่ ประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, ภาคเหนือของเวียดนาม, มณฑลยูนนาน ประเทศจีน, กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มของเมียนมา และทางตอนเหนือของมาเลเซียที่มีชุมชนชาวไทย โดยในแต่ละพื้นที่จะมีช่วงเวลาของเทศกาลแตกต่างกันไประหว่างวันที่ 13 - 17 เมษายน ของทุกปี…
  continue reading
 
การเข้าวัดทำบุญในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนนิยมทำบุญในวันที่ 13 เมษายน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเข้าสู่วันปีใหม่ไทยคือวันที่ 15 เมษายนของทุกปี ดังนั้นพระมหากษัตริย์ไทยจะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันปีใหม่ไทยในวันดังกล่าว โดยพระราชพิธีนั้นจะมีขั้นตอนที่พระสงฆ์สวดธรรมคาถาตลอดคืนตลอดวันในช่วงปีใหม่ไทย พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินถวายภัตตาหารแด่พ…
  continue reading
 
คำว่าตรุษ หมายถึงการสิ้นสุด นั้นคือการสิ้นสุดของปี จึงเรียกว่าวันตรุษ ตรงกับเดือนมีนาคม สอดคล้องกับทางภาคเหนือของประเทศอินเดียซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูหนาว ก่อนจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิในเดือนเมษายน ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ของปี ประเทศไทยรับขนบธรรมเนียมนี้มาด้วยเช่นกัน แต่เนื่องด้วยวันตรุษและวันสงกรานต์ เป็นวันที่มีการเฉลิมฉลองที่ใกล้เคียงกัน พระมหากษัตริ…
  continue reading
 
เวลา เป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ ปัจจุบันมีเครื่องบอกเวลาในหลายรูปแบบ แต่หากย้อนกลับไปในอดีต เครื่องสำหรับการบอกเวลานั้น ต้องดูจากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์, หมู่หรือกลุ่มดาวที่เทียบเป็นราศีต่าง ๆ และ ฤดูกาลที่เกิดขึ้น ในความเชื่อทางโหราศาสตร์การเข้าสู่ราศีเมษจะดูดวงอาทิตย์เป็นสำคัญ เพราะราศีนี้ถือเป็นการขึ้นต้นปีใหม่ ในเดือนเมษายน ซึ่งวันอา…
  continue reading
 
ดอกบัว ไม่เพียงเป็นดอกไม้ที่ไว้บูชาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังสามารถเป็นอาชีพที่ทำเงินได้อีก เนื่องจากปัจจุบันความต้องการดอกบัวมีเพิ่มขึ้น ทำให้มีกลุ่มเกษตรกรหันมาทำนาบัวกันมากขึ้น เป็นการตอกย้ำถึงความต้องการและแรงศรัทธาของผู้บริโภคที่ต้องการนำดอกบัวไปทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ไหว้พระ หรือประดับตกแต่งสถานที่ ทำให้มูลค่าของดอกบัวเพิ่มสูงขึ้นตามความต้…
  continue reading
 
การใช้ดอกบัวในขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย มีหลากหลายโอกาสซึ่งเริ่มตั้งแต่การนำดอกบัวไปร่วมกับการตักบาตรในยามเช้า การนำไปวัดเพื่อบูชาสักการะพระพุทธรูป การใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานบวชนาค นอกจากนี้แล้ว ยังทำให้เกิดประเพณีที่สำคัญของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการด้วย นั้นคือ ประเพณีรับบัว ปรากฎการณ์เหล่านี้ทำให้ดอกบัวมีผลต่อการปฏิบัติและการรับประเพณ…
  continue reading
 
เมื่อกล่าวถึงงานพุทธศิลป์ หรือศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศานาแล้ว มักจะเห็นการนำสิ่งของอันเป็นมงคลหรือตามพุทธประวัติมาประดิษฐ์หรือก่อสร้างออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ดอกบัวก็เป็นหนึ่งในงานที่ช่างศิลป์ต่าง ๆ นำมาทำเป็นงานศิลปะในแนวพุทธศิลป์ ประดับตกแต่งตามคติความเชื่อ หรือเขียนเป็นเรื่องราวผ่านภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยมีดอกบัวมาเกี่ยวข้องด้วย…
  continue reading
 
ดอกบัว เป็นพืชน้ำที่เกิดขึ้นได้มากในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีหลากหลายสายพันธุ์ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสภาพอากาศ เมื่อศึกษาเพิ่มมากขึ้นพบว่า พื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำไนล์ในวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ มีการนำบัวมาประกอบในพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะพิธีกรรมศพ เพราะมีความเชื่อว่าการนำบัวไปใส่ไว้ในโลงศพที่ทำมัมมี่ จะทำให้ผู้นั้นกลับมาเกิดใหม่ในเร็ววัน ส่วนสังคมพ…
  continue reading
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยและจีนยังคงมีความสัมพันธ์กันเรื่อยมา แม้ในบางช่วงจะห่างหายกันไปบ้าง เนื่องจากเป็นช่วงที่ไทยมีค่านิยมในความรักชาติ เช่นเดียวกับจีนในขณะนั้น ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองอีกครั้งมาเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นำโดย เหมา เจ๋อตง จีนมีการปฏิวัติการพัฒนาด้วยการนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยมภายใต้พ…
  continue reading
 
รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดคนจีนอพยพ เนื่องจากขยันขันแข็ง หนักเบาเอาสู้ เมื่อคนจีนเข้ามาในสยามมากขึ้น ทำให้เกิดการก่อตั้งชุมชน โรงเรียน ศาลเจ้า และอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ร่วมกับคนไทย ในช่วงเวลานั้นจีนกำลังประสบปัญหาทางความคิดและการปกครอง ดร.ซุน ยัดเซ็น เข้ามาปราศรัยหาผู้ร่วมอุดมการณ์จากชาวจีนในสยามย่านเยาวราช เพื่อระดมทุนในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งภายหลั…
  continue reading
 
ในรัชกาลที่ 4 เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค้า โดยได้มุ่งเน้นไปที่การค้ากับชาติตะวันตกมากขึ้น เนื่องจากขณะนั้นราชวงศ์ชิงอยู่ในสถานะเสื่อมถอย ทำให้รัชกาลที่ 4 ทรงงดส่งเครื่องบรรณาการให้กับราชวงศ์ชิงของจีน โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัยกับราชทูตที่เผชิญกับโจรสลัด ซึ่งในขณะนั้นจีนกำลังประสบปัญหาทุกภิกขภัยอย่างหนัก ทำให้ผู้ชายจีนต้องอพยพหนีความอดอยากมา…
  continue reading
 
ในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงเพิ่งก่อร่างสร้างเมือง สยามประสบกับปัญหาการจัดเก็บงบประมาณที่ไม่สัมพันธ์กับค่าใช้จ่าย การค้าขายกับจีนจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในรัชกาลที่ 2 และ 3 สามารถทำการค้าผ่านเรือสำเภาได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ถึงเป็นช่วงหนึ่งที่เศรษฐกิจของสยามทุกชนชั้นมีรายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ศิลปะของจีนมีอิทธิพลอย่างมาก รัชกาลที่ 2…
  continue reading
 
กว่านับพันปีของประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ กับพื้นที่ยลอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนมีบทบาทในการแผ่ขยายอำนาจตั้งแต่ปฐมบรมราชวงค์เรื่อยมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งในตอนนี้จะเล่าถึงการค้าขายกับจีนที่เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก หลังจากพระมหากษัตริย์ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาได้ลดความสัมพันธ์การค้ากับ…
  continue reading
 
กว่านับพันปีของประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ กับพื้นที่ยลอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนมีบทบาทในการแผ่ขยายอำนาจตั้งแต่ปฐมบรมราชวงค์เรื่อยมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งในตอนนี้จะเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสยามจากสุโขทัยสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งจีนได้เข้ามามีบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ของ 2 ราช…
  continue reading
 
กว่านับพันปีของประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ กับพื้นที่ยลอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนมีบทบาทในการแผ่ขยายอำนาจตั้งแต่ปฐมบรมราชวงค์เรื่อยมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งในตอนนี้จะเล่าถึงความสัมพันธ์ของราชวงศ์หยวนกับกรุงสุโขทัยและอาณาจักรล้านนา ที่มีเรื่องการเมืองแทรกแซงเข้ามาจากจีน โดยเฉพาะปัญหาข…
  continue reading
 
กว่านับพันปีของประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ กับพื้นที่ยลอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนมีบทบาทในการแผ่ขยายอำนาจตั้งแต่ปฐมบรมราชวงค์เรื่อยมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งในตอนนี้จะเล่าถึงความสัมพันธ์ของราชวงศ์จีนที่มีอิทธิพลในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคก่อนเกิดกรุงสุโขทัย…
  continue reading
 
การได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ถือเป็นเกียรติประวัติแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล ที่สำคัญกลับมีบทบาททางการเมืองและความสัมพันธ์ในหรือระหว่างประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะความสัมพันธ์ใกล้ชิดในระดับราชวงศ์หรือรัฐบาลของประเทศหนึ่งต่ออีกประเทศหนึ่ง ซึ่งการมองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลต่าง ๆ ย่อมแสดงถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและทางการเมืองได้อีกด้วย…
  continue reading
 
พัฒนาการของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีมาอย่างยาวนาน ที่มีต้นแบบมาจากทวีปยุโรปแล้ว สิ่งหนึ่งที่สามารถพบเห็นถึงความแตกต่างของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่ละประเทศ นั้นคือ ศิลปะในการออกแบบเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะการนำค่านิยม ความเชื่อหรือสัญลักษณ์สำคัญของแต่ละประเทศมาออกแบบ ศิลปะที่ใช้ในเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีความสำคัญอย่างไร…
  continue reading
 
การจัดสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่รัชสมัย มีทั้งการสืบทอดต่อเนื่องในการจัดสร้าง และสร้างขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับธรรมเนียมหรือค่านิยมในสมัยนั้น ๆ ดังเช่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นใหม่ในรัชกาลของพระองค์เช่นกัน…
  continue reading
 
การจัดสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่รัชสมัย มีทั้งการสืบทอดต่อเนื่องในการจัดสร้าง และสร้างขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับธรรมเนียมหรือค่านิยมในสมัยนั้น ๆ ดังเช่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นใหม่ในรัชกาลของพระองค์เช่นกันโดย Thai PBS Podcast
  continue reading
 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงรับธรรมเนียมปฏิบัติการจัดสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประเภทต่าง ๆ ตามแบบต่างประเทศแล้ว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดสร้างเช่นกัน ถือเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติที่สืบทอดมาแต่รัชกาลก่อน…
  continue reading
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเข้าพระทัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวตะวันตกอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ทรงทราบว่าพระมหากษัตริย์ของชาวยุโรปมีประเพณีการประดับเครื่องหมายแสดงพระเกียรติยศที่ฉลองพระองค์ พระองค์จึงทรงมีพระราชดําริที่จะทรงสร้างเครื่องหมายแบบตะวันตกจากรูปแบบของสิ่งที่เป็นมงคลดั้งเดิมของไทย เช่น พลอย 9 ชนิด หรือนพรัตน์ และจากแบบอย…
  continue reading
 
Loading …

คู่มืออ้างอิงด่วน

ฟังรายการนี้ในขณะที่คุณสำรวจ
เล่น